HomeSponsoredผลวิจัยโชว์ “จุดอ่อน” SME ไทย พร้อมวิธีการปรับตัว

ผลวิจัยโชว์ “จุดอ่อน” SME ไทย พร้อมวิธีการปรับตัว

แชร์ :

เป็นสัญญานที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทย เมื่อล่าสุด ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เผยผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 1 ของปี 2561 จากความเห็นของผู้ประกอบการ SME กว่า 1,268 รายทั่วประเทศ  พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปัจจุบันของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี คืออยู่ที่ระดับ 40.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 35.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2560 ทั้งนี้ การปรับตัวที่ดีขึ้นเป็นเพราะเกิดจากความเชื่อมั่นด้านรายได้และความเชื่อมั่นด้านต้นทุนดีขึ้น  โดยความเชื่อมั่นด้านรายได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น  49.2 สูงสุดในรอบ 5 ปี และดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก กรุงเทพและปริมณฑล เนื่องจากได้รับแรงส่งจากการค้า การส่งออก และการท่องเที่ยวที่เติบโตต่อเนื่อง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เมื่อพิจารณาเจาะลึกลงไปที่ดัชนีความเชื่อมั่นด้านรายได้ในปัจจุบันของ SME ที่ปรับตัวดีขึ้นสูงสุดในรอบ 5 ปี ผู้ประกอบการ SME  ส่วนใหญ่ตอบว่า มีสาเหตุมาจากสองปัจจัยหลักคือ

  1. เศรษฐกิจฟื้นตัว ได้แก่ ลูกค้าเก่า/ใหม่ สั่งซื้อสินค้ามากขึ้น ยอดขายเติบโตตามห่วงอุปทานของภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลบวกจากนโยบายภาครัฐ (อาทิ ธงฟ้าประชารัฐ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ)
  2. เข้าสู่ฤดูกาลขาย ได้แก่ เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวของสินค้าเกษตร และเป็นช่วง high season ของการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังเข้าสู่เทศกาลรื่นเริง เข้าหน้าแล้งทำให้การก่อสร้างง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจความเชื่อมั่นด้านรายได้ พบว่าปัจจัยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีจำนวนผู้ที่ตอบข้อนี้ มากกว่าปัจจัยการเข้าสู่ฤดูกาลขาย ชี้ว่าผู้ประกอบการเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้น

แม้ว่าจะมีสัญญานบวกดังกล่าวก็ตาม แต่สถานการณ์ในแง่ผู้บริโภคเปลี่ยนไปด้วยการใช้สื่อดิจิทัล และใช้เวลากับสื่อออนไลน์มากกว่าเดิม  ดังนั้นการทำธุรกิจจำเป็นต้องขยายไปสู่โลกดิจิทัลเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างโอกาสและขีดความสามารถใหม่ๆให้เกิดขึ้น  แต่ปัญหาปัจจุบันของผู้ประกอบการจำนวนมากยังไม่เข้าใจเรื่องดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ๆดีนัก และจะใช้อะไร หรือใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเอง ( ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว.) จุดนี้เองนับเป็น “จุดอ่อน” สำคัญของผู้ประกอบการที่ต้องเร่งปิดให้ได้เร็วที่สุด ทางออกเดียวก็คือ การหาความรู้และอัพเดทความเคลื่อนไหวด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี

ตัวอย่างสำคัญเช่น การใช้ธุรกิจหรือเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่สามารถช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจในยุคดิจิทัล 4.0 ได้ นั้นคือ  ระบบนิเวศดิจิทัลสำหรับดิจิทัล (SME Digital ecosystem) ที่แบ่งออกเป็น 4 ด้าน

 

  1. ธุรกิจที่ช่วยส่งเสริมการตลาด (Channel) จากเดิมที่ใช้ช่องทางแบบ Physical Store ก็ต้องหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Lazada, Shopee, Tarad.com, Agoda, Booking.com ฯลฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้จำนวนมาก เป็นทั้งช่องทางการขาย E-commerce และประชาสัมพันธ์
  2. ระบบชำระเงินการซื้อขายสินค้าและบริการ (Payment) รูปแบบใหม่ๆ ที่ช่วยให้ชำระเงิน และ จัดเก็บได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น ได้แก่ Internet Banking, Mobile Baking, E-Wallet, QR code ฯลฯ
  3. ธุรกิจรับ-ส่งสินค้า (Transportation หรือ Logistic service) ในแพลตฟอร์มใหม่ๆ ส่งสินค้าให้ถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ตรงเวลา และ ต้นทุนต่ำเช่น ไปรษณีย์ไทย, Kerry Express, DHL, LINE Man, GrabFood, Foodpanda ฯลฯ
  4. ระบบการวิเคราะห์และบริหารจัดการธุรกิจและการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ (Management) ด้วยระบบออนไลน์ จะเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค หรือ คาดการณ์ยอดขายได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมืออย่าง Google Analytics, Facebook Insights, Social Monitor tools และอื่นๆ

ดังนั้นการเติมเต็มความรู้และการปรับตัวให้ทันกับ Digital Ecosystem และ Digital Things ต่างๆ จะเป็นแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการยุคดิจิทัล ขณะที่ธนาคารทหารไทย (TMB) เข้ามาช่วยปลดล็อคข้อจำกัดต่างๆของ SME ไทย ให้เติบโตก้าวกระโดด  ตัวอย่างเช่น  เป็นธนาคารแรกในวงการที่เริ่มนโยบาย “ไม่มีค่าธรรมเนียม” จนปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ต่างพากันเดินเกมตาม กลายเป็นมาตรฐานการให้บริการของวงการธนาคารในปัจจุบัน ล่าสุด TMB ยังเปิดตัวแคมเปญใหม่ TMB BIZ WOW ถือเป็นการก้าวข้ามมาตรฐานการให้บริการลูกค้า SME อีกครั้งนึง ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมายกลับไป เพื่อให้ลูกค้านำไปพัฒนาธุรกิจเพื่อต่อยอดความสำเร็จมากกว่าปัจจุบัน

TMB BIZ WOW จึงเป็นโปรแกรมทางการตลาดที่จะช่วยให้ SME สามารถก้าวผ่านข้อจำกัดเดิมๆ ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจต่างๆ ด้วยสิทธิประโยชน์ที่มากกว่า ผ่านบัญชี TMB SME One Bank ที่ใช้คู่กับแอป TMB BIZ TOUCH เมื่อทำธุรกรรมต่างๆ ลูกค้าจะได้รับคะแนน TMB BIZ WOW มาสะสมโดยอัตโนมัติ และคะแนนเหล่านี้จะนำมาแลกเป็นสิทธิประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของรางวัลปกติ และรางวัลที่สามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้ โดยรางวัลที่นำมาคืนให้แก่ลูกค้าจะยึดจากอินไซต์ 4 แกนหลัก ประกอบด้วย

  1. ด้าน SME Knowledge ความรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ เช่น คอร์สพัฒนาผลิตภัณฑ์ คอร์สดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เป็นต้น
  2. ด้าน SME Service ตัวช่วยเพื่อธุรกิจราบรื่น เช่น บริการส่งของ
  3. ด้าน SME Marketing การตลาดเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด เช่น พื้นที่โฆษณาในเว็บไซต์ชั้นนำ
  4. ด้าน SME lifestyle ไลฟสไตล์เหนือระดับแบบเจ้าของธุรกิจ เช่น ร้านอาหารและโรงแรมชั้นนำ เป็นต้น

จึงเห็นได้ว่า TMB BIZ WOW ถือเป็นการสร้างความแตกต่างที่น่าสนใจ ในเกมฟรีค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ไทย ตามคอนเซ็ปต์หลัก GET MORE (ให้มากกว่า) ด้วยการเติมเต็มความต้องการของเจ้าของธุรกิจ SME ในด้านต่างๆให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  นอกเหนือจาก บริการ ฝาก ถอน โอน จ่าย ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม ประหยัดทั้งต้นทุนและเวลา ระบบความปลอดภัย ที่ทุกธนาคารก็ให้เหมือนๆ กันหมด

สำหรับลูกค้า SME ที่สนใจสิทธิประโยชน์จากแคมเปญ TMB BIZ WOW ลองสำรวจผลประโยชน์ที่ทาง TMB เลือกสรรมาพิเศษตามความเหมาะสมสำหรับธุรกิจของท่านโดยเฉพาะ โดยสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ TMB BIZ WOW หรือศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB Business Phone Banking โทร. 02-828-2828


แชร์ :

You may also like