HomePR NewsWGI Sky Track Monorail โครงการรถไฟลอยฟ้า…ครั้งแรกในไทย บุกเมือง “หาดใหญ่” ขานรับนโยบายรัฐ [PR]

WGI Sky Track Monorail โครงการรถไฟลอยฟ้า…ครั้งแรกในไทย บุกเมือง “หาดใหญ่” ขานรับนโยบายรัฐ [PR]

แชร์ :

จากซ้ายไปขวา – คนที่ 1นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานในพิธี คนที่ 2 รศ. เอนก ศิริพานิชกร ผู้อำนวยการ สวท. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนจังหวัดสงขลา คนที่ 3 มร. ฌอน โกว์ (Mr. Sean Goh) กรรมการบริหาร บริษัท เวิลด์ กรีน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และคนที่ 4 นายนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

บริษัท เวิล์ด กรีน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (WGI) ผู้ดำเนินธุรกิจและที่ปรึกษาการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Green Financing & Technology) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อศึกษาวิจัยแนวทางการพัฒนาระบบ WGI Sky Track Monorail ในอำเภอหาดใหญ่ มีเส้นทางตั้งแต่ สนามบินหาดใหญ่ถึงสถานีรถตู้

โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานในพิธี และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายนิพนธ์ บุญญามณี  ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน ในการลงนามระหว่าง รศ. เอนก ศิริพานิชกร ผู้อำนวยการ สวท. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯและ มร. ฌอน โกว์ (Mr. Sean Goh) กรรมการบริหาร บริษัท เวิลด์ กรีน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อดำเนินการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ WGI Sky Track Monorail รถไฟลอยฟ้า นวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัยและใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยการขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ลิเธียม ในการนำมาพัฒนาระบบคมนาคมภายในจังหวัดให้มีความสะดวกและทันสมัย ขานรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐ และนโยบายการพัฒนา 90 เมือง ใน 10 ประเทศของ ASEAN Smart City

นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า “จังหวัดสงขลา มีความยินดีอย่างยิ่งในการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย มาขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับจังหวัด ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการดำเนินงานเพื่อนำมาพัฒนาระบบคมนาคมภายในจังหวัดให้มีความสะดวกทันสมัย และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและนักท่องเที่ยวผู้ใช้งาน รวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดสงขลา ที่มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นายดลเดช พัฒนรัฐ กล่าวทิ้งท้าย

มร. ฌอน โกว์ (Mr. Sean Goh) กรรมการบริหาร  บริษัท เวิลด์ กรีน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า “เรามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่จะนำระบบรถไฟลอยฟ้านวัตกรรมใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาพัฒนาในประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยในการให้ทุนศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ ข้อดี และข้อเสียต่างๆ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบคมนาคมขนส่งเดิมที่มี และยังสามารถขจัดข้อเสียบางประการของระบบขนส่งที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่มักมาพร้อมกับการทำลายสิ่งแวดล้อมได้  เนื่องจาก WGI Sky Track เป็นรถไฟลอยฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมจึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน นอกจากนี้ตัวรถแต่ละขบวนจะมีแบตเตอรี่ลิเธียมบรรจุอยู่ภายใน นั่นหมายความว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนตู้ขบวนได้ในช่วงที่ต้องใช้รองรับผู้โดยสารจำนวนมาก หรือในช่วงเวลาเร่งด่วน และสามารถถอดตู้ขบวนออกได้ในเวลาที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานและช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย” มร. ฌอน โกว์ (Mr. Sean Goh) กล่าวทิ้งท้าย

นายนิพนธ์ บุญญามณี  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กล่าวว่า “ในฐานะเจ้าบ้านต้องขอขอบคุณที่ภาคเอกชนมีความสนใจในการลงทุนและนำเทคโนโลยีระบบการขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยและยังรักษาสภาพแวดล้อม เข้ามาพัฒนาในจังหวัดของเรา โดยเฉพาะในอำเภอหาดใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด สืบเนื่องจากการเติบโตของนักท่องเที่ยวทำให้เราต้องขยายสนามบินเพื่อรองรับผู้โดยสารจำนวนมาก นั่นหมายความว่า ระบบการขนส่งมวลชนที่สะดวกและทันสมัยจึงมึความสำคัญไม่แพ้กัน นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนนโยบายการพัฒนาเมืองของทางอำเภอและจังหวัด โดยการศึกษาครั้งนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนว่าระบบรถไฟลอยฟ้าจะสามารถแก้ปัญหาการจราจร และสร้างความสะดวกสบายให้แก่พี่น้องประชาชนในจังหวัดได้ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งเดิมที่มี” นายนิพนธ์ บุญญามณี  กล่าวทิ้งท้าย

รศ. เอนก ศิริพานิชกร ผู้อำนวยการ สวท. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า “จะเห็นได้ว่ารถไฟลอยฟ้า WGI Sky Track เป็นระบบที่ตัวรถห้อยอยู่ในราง มีแบตเตอรี่เป็นตัวขับเคลื่อนรถ และสามารถวิ่งขนานไปในเส้นทางสัญจรปกติได้ โดยขนาดของเสาและลักษณะของรางที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ทำให้รบกวนเส้นทางการจราจรน้อย จึงน่าจะตอบโจทย์ในการใช้งานและช่วยพัฒนาระบบคมนาคมภายในจังหวัดให้มีความสะดวกและทันสมัยได้เป็นอย่างดี” รศ. เอนก ศิริพานิชกร กล่าวทิ้งท้าย


แชร์ :