ไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน ที่ใช้ชีวิตนอกบ้านมากกว่าอยู่ในบ้าน ประกอบอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์มากขึ้น การทำงานจึงไม่ได้มีข้อจำกัดเฉพาะช่วงเวลา ตามชั่วโมงการทำงานปกติ ตั้งแต่ 9.00-17.00 น. และยังมีไลฟ์สไตล์ของการใช้ชีวิต ที่ไม่ได้มีเวลามาเป็นข้อจำกัด
ไลฟ์สไตล์ดังกล่าวทำให้เกิดเทรนด์การเปิดให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง ของสถานบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ฟิตเนสเซ็นเตอร์ หรือ Co-working Space ที่มีให้เห็นมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่จะใช้ชีวิตหลังจากห้างสรรพสินค้าปิดบริการลงในช่วง 22.00 น.แล้ว ซึ่งชีวิตกลางคืนไม่ใช่มีแค่การเที่ยบผับหรือบาร์เท่านั้น
“เราเชื่อว่าการทำงานคนรุ่นใหม่ไม่ใช่ เวลา 9-5 โมง แต่กว่าจะเสร็จงานก็ 6 โมง ทุ่มนึง หรือสองทุ่ม หรือดึกกว่านั้น และระหว่างช่วงวันเสาร์อาทิตย์ เทรนด์ที่เห็น คือ การใช้เวลานอกบ้านมากกว่าในบ้าน อาจจะเพราะอาศัยอยู่ในคอนโดฯ ที่มีห้องขนาดเล็ก เห็นเทรนด์ Co-working Space เทรนด์ที่เห็นคือ คนทำงานเป็นฟรีแลนซ์ มากขึ้น ทำงานตามร้านกาแฟ ซึ่งเวลาที่พีคจริงๆ อาจจะตี 3 โครงการสามย่านมิตรทาวน์ เราเซิฟกลุ่มคนเหล่านี้ ด้วยทำเลตั้งอยู่กลางเมืองด้วย ที่จะตอบสองไลฟ์สไตล์คนปัจจุบัน” คุณธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเดนท์แลนด์ เล่าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน
โครงการสามย่านมิตรทาวน์ที่กำลังจะเปิดตัวในเดือนตุลาคม 2562 จึงมีพื้นที่รีเทลภายในโซน Urban Life Library โดยจะมีพื้นให้บริการแบบ 24 ชั่วโมงรวมอยู่ด้วย ประมาณ 15 ร้านค้า ในจำนวน 4 ชั้น ภายในอาคารรีเทลขนาดความสูง 6 ชั้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 18% ของพื้นที่รีเทล 36,000 ตารางเมตร โดยจะประกอบไปด้วยการบริการหลักๆ ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต 24 ชั่วโมง ภายใต้แบรนด์ “บิ๊กซี ฟู้ด เพลส”
Big C FoodPlace จะอยู่ในอาคารเดียวกับ ฟิตเนส 24 ชั่วโมง Co-learning Space ที่ไม่ใช่แค่พื้นที่สำหรับการทำงานหรืออ่านหนังสือเท่านั้น แต่จะมีห้องประชุม ศูนย์การเรียนรู้ การให้บริการด้านความรู้อื่นๆ ด้วย บริการจัดส่งสินค้าและบริการต่างๆ รองรับกลุ่มอาชีพแม่ค้าออนไลน์ การชำระค่าบริการต่างๆ ซึ่งจะมีความชัดเจนของแบรนด์ผู้ให้บริการในเดือนกันยายนนี้ และยังมีบริการอื่นๆ เพื่อออกมารองรับชีวิต 24 ชั่วโมงของกลุ่มเป้าหมาย
Big C FoodPlace ถือเป็นโมเดลใหม่ล่าสุด ของกลุ่มบิ๊กซี ที่ใช้งบลงทุน 40 ล้านบาท จะเข้ามาเปิดบริการแบบ 24 ชั่วโมง ภายในโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ซึ่งเป็นการพัฒนาสอดคล้องกับโครงการ จากการมองเห็นว่าเป็นทำเลที่ตั้งในย่านใจกลางเมือง และมี 5 กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มนักเรียน นิสิต อาจารย์ เนื่องจากสามย่านเป็นศูนย์กลางของสถานศึกษา 2.กลุ่มพนักงานออฟฟิศ ที่ทำงานบริเวณสามย่าน หรือต้องเดินทางกลับด้วยรถไฟใต้ดิน 3.กลุ่มผู้พักอาศัยในสามย่านและใกล้เคียง 4.กลุ่มนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและพักผ่อน และ5.กลุ่มฟรีแลนซ์ ที่ต้องเดินทางไปนอกสถานที่ และทำงานไม่เป็นเวลา และมีวิถีชีวิตที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะช่วงเวลาทำงานปกติ 9โมงเช้าถึง 5 โมงเย็นเท่านั้น
เราจะพบกับอะไรบ้างใน Big C FoodPlace รูปแบบใหม่นี้
1.บริการอาหารหลากหลายรูปแบบ
-Traceability สินค้าอาหารสด อาทิ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และ อาหารทะเล
-Healthy food concept รูปแบบสินค้าเพื่อสุขภาพ นอกจากเน้นความหลากหลายของสินค้ารักษาสุขภาพ ที่ให้ข้อมูล Nutrition facts คุณค่าทางโภชนาการกับสินค้ากลุ่มอาหารพร้อมทาน Ready to eat
-You select we cook concept with Customer sitting ลูกค้าสามารถเลือกวัตุดิบอาหารสดและให้เราปรุงสดใหม่ด้วยเชฟที่มีความชำนาญหรือจะเลือกตามเมนูอาหารที่เราได้จัดเตรียมไว้ให้
-Meal solution เราพร้อมเป็นครัวให้ลูกค้าในทุกมื้อด้วยความหลากหลายและอร่อยของอาหารพร้อมทาน อาทิเมนูอาหารไทยจานด่วน เมนูอาหารนานาชาติ เช่น สเต็ค สปาเก็ตตี้ อาหารญี่ปุ่น
-Daily fresh bake Bakery พบกับเบเกอรี่ที่หลากหลาย อบ สดใหม่ ด้วยสูตรดั้งเดิมจากเชฟชาวฝรั่งเศสและสินค้าใหม่ทุกเดือน
-Click and Collect ลูกค้าสามารถสั่งออนไลน์และมารับสินค้าที่สาขา รวมถึงสินค้าอาหารพร้อมทานด้วย
-Personalilty service การบริการจากพนักงานที่เชี่ยวชาญและเป็นกันเองพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
2.บริการแบบครบวงจร “Big C Big Service” บริการรับชำระบิล เติมเงิน จองและจ่ายตั๋วเครื่องบิน รถบัส รวมถึงบริการเช่ารถ ให้กับลูกค้า การได้รับคะแนนเพิ่มสำหรับชำระค่าบริการต่างๆ เพื่อนำคะแนน มาแลกรับส่วนลดแทนเงินสด หรือ ใช้คะแนนแลกรับสิทธิพิเศษจากร้านค้ามากมาย อีกทั้งยังสามารถแลกคะแนนเพื่อรับสินค้าพรีเมี่ยม
3.Smart Marketplace การนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาเสริมการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น การชำระค่าสินค้าด้วยตนเอง Self-Check Out และ Cashless Payment เนื่องจากคนรุ่นใหม่ต้องการทำอะไรด้วยตนเอง การใช้ป้ายแสดงป้ายราคาดิจิตอล (Electronic price tag) ทำให้สามารถควบคุมราคาได้จากสำนักงานใหญ่ ลดปัญหาความผิดพลาดในการแสดงราคา รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนราคาโปรโมชั่นได้ทันที และการใช้ระบบ Big C E-Wallet
4.ข้อมูลแหล่งที่มาของสินค้า นอกจากการคัดเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อความมั่นในของผู้บริโภค และสอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มักจะค้นหาข้อมูลต่างๆผ่านโลกออนไลน์ สินค้าต่างๆ จะมีระบบ QR Code แสดงแหล่งที่มาของสินค้า จากการสำรวจพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่พบว่า มักจะเลือกซื้อสินค้าที่มีเรื่องราวและรู้ที่มาที่ไป มากกว่าสินค้าทั่วไป
5.Digital Media สื่อโฆษณาต่างๆ ภายใน Big C Food Place จะใช้เป็นป้ายดิจิทัลและแอลอีดีทั้งหมด นอกจากสอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว ยังเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษที่นำมาใช้ทำสื่อโฆษณาด้วย รวมถึงจะมีแนวทางการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน
6.ร้านขายยาเพียว ในรูปโฉมใหม่ที่แตกต่างจากสาขาอื่นๆ
ด้านคุณวิภาดา ดวงรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ห้างค้าปลีกในกลุ่มบีเจซี กล่าวว่า Big C Food Place จับกลุ่มเป้าหมายหลัก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ผู้ที่ต้องการความสะดวก อาศัยอยู่คอนโดฯ ไม่ต้องการทำอาหารเอง กลุ่มสอง คือ กลุ่มต้องการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ และกลุ่มสุดท้าย เป็นกลุ่มคนมีเงิน ต้องการซื้อสินค้าคุณภาพเป็นหลัก โดยคาดว่าบิ๊กซี ฟู้ดเพลสจะทำยอดขายได้ 300-400 ล้านบาท ซึ่งโมเดลในรูปแบบนี้จะมีการพิจารณานำไปใช้ในพื้นที่ต่างๆ ที่มีศักยภาพและมีกลุ่มเป้าหมายสอดคล้องกับคอนเซ็ปต์นี้ด้วย