HomeCreativity303 ดีไซน์เนอร์หน้าใหม่ กับ งานดีไซน์ ‘สดใหม่’ จากเด็ก DEC ศิลปากร..พร้อมทำงาน !

303 ดีไซน์เนอร์หน้าใหม่ กับ งานดีไซน์ ‘สดใหม่’ จากเด็ก DEC ศิลปากร..พร้อมทำงาน !

แชร์ :

เมื่อนักศึกษาปริญญาตรีกำลังจะสำเร็จการศึกษา พร้อมสู่โลกการทำงานจริง  แต่จะทำอย่างไรให้นศ.มีงานทำทันทีหลังเรียนจบ ? คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปิ๊งไอเดียเก๋จัดงาน 303 ATTRA : DEC Graduate Exhibition 2018 (303 อัตรา :งานนิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 48) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  เพื่อโชว์ฝีไม้ลายมือของเด็ก DEC รั้วเขียวเวอร์ริเดียนให้โลกรู้ว่าเจ๋งเพียงใด องค์กรหรือบริษัทไหนก็รับเข้าไปทำงานได้เลย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หมายเลข 303 คือ จำนวนเด็กนักศึกษาฯที่กำลังจะจบ และเป็นอัตรางานที่ว่าง ภายในงานแบ่งผลงานออกเป็น 7 ตำแหน่ง คือ Fashion (นักออกแบบเครื่องแต่งกาย) , Jewelry (นักออกแบบเครื่องประดับ) , Ceramics (นักออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา) , Applied (นักออกแบบประยุกต์ศิลป์) , Products (นักออกแบบผลิตภัณฑ์) , Viscom (นักออกแบบนิเทศศิลป์) , Interior (นักออกแบบตกแต่งภายใน) อยากได้คนไหนไปทำงานก็จิ้มไปได้เลย ที่อีเมลล์ส่วนตัวแต่ละคน

 

ตัวอย่างผลงานที่น่าสนใจ

Fashion : IN/UNCOMMON การนำสิ่งของรอบตัวมาใช้ในการออกแบบอย่างผิดวิสัย 

“แนวคิดในการสร้างคอเลคชั่นนี้เกิดจากการศึกษาพฤติกรรมและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวญี่ปุ่น ที่สร้างความรู้สึกแปลกใหม่ ตลกขบขันให้แก่ผู้พบเห็น โดยได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูล และเลือกเรื่องราวที่สนใจเป็นพิเศษ แล้วค้นพบว่าความแปลกใหม่นี้เกิดจากการนำสิ่งของรอบตัวมาใช้แทนที่กันแบบผิดวิสัย เช่น การแทนที่ อ่างออนเซ็น(Onsen) กับชามบะหมี่ขนาดยักษ์ เพื่อเป็นสีสันและสร้างจุดเด่นทางการค้า หรือ การแต่งตัวในงานเลี้ยงที่นำขวดน้ำอัดลมมาประดับบนศีรษะ โดยแทนที่สีผมกับสีน้ำอัดลม เป็นต้น ข้าพเจ้าได้วิเคราะห์การแทนที่ของสิ่งเหล่านี้ว่ามีการนำมาแทนเพราะมีการใช้งาน (Function) สี (Colour) และองค์ประกอบอื่นๆ ที่คล้ายกัน จึงนำมาซึ่งแนวคิดการแทนที่สิ่งของกับเสื้อผ้า และข้าพเจ้าได้สร้างขอบเขตของงานออกแบบนี้โดยการ นำเอาของใช้รอบตัวมาแทนที่กับไอเทมเสื้อผ้า (Item) โดยที่ให้งานออกแบบคอเลคชั่นนี้เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และตลกขบขันเช่นกัน”

คลิกดูผลงานทั้งหมดในตำแหน่ง Fashion

 

Jewelry : โครงการออกแบบเครื่องประดับที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเครื่องทองเพชรบุรีผสมผสานงานประดับอาร์ตนูโวของพระรามราชนิเวศน์วังบ้านปืน 

ในปัจจุบัน การทำทองโบราณของจังหวัดเพชรบุรีน่าเป็นห่วง สืบเนื่องจากอาชีพช่างทำทองไม่นิยมในหมู่วัยรุ่น ส่วนหนึ่งเพราะ เป็นงานทำมือ การฝึกช่างคนหนึ่งต้องใช้เวลานานและอาศัยความอดทน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หาช่างทำทองยากขึ้นเรื่อยๆ อีกประการหนึ่งคือ ช่างทำทองโบราณเพชรบุรีบางส่วนยังมีปัญหาไม่ยอมปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์การทำรูปแบบทองให้ทันสมัยขึ้น บางคนอนุรักษ์นิยมมากเกินไป ทำให้งานทองเพชรบุรียังย่ำอยู่กับที่ ไม่ได้รับการต่อยอดหรือพัฒนาสู่สากลเท่าที่ควร หากปล่อยให้เกิดปัญหาเหล่านี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็อาจทำให้งานประณีตศิลป์อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี เลือนหายไปในไม่ช้า ข้าพเจ้าในฐานะนักออกแบบเครื่องประดับและเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดเพชรบุรี ข้าพเจ้าต้องการออกแบบเครื่องประดับเพื่อสืบสานไม่ให้งานประณีตศิลป์แขนงนี้เลือนหายไป โดยจะนำเอาเทคนิคและลวดลายบนเครื่องทองมาประยุกต์ผสมผสานเข้ากับรูปแบบงานประดับอาร์ตนูโวอันได้จากพระราชวังบ้านปืน ซึ่งเป็นสถานที่ในท้องถิ่นที่ข้าพเจ้าพบเห็นตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็ก โดยการจัดการด้านองค์ความรู้ทางทัศนศิลป์ การออกแบบให้มีสุนทรียะ และยังคงมีเอกลักษณ์ของเครื่องทองเพชรบุรี ที่มีความละเอียดลออของลวดลายไว้

คลิกดูผลงานทั้งหมดในตำแหน่ง Jewelry

 

Ceramics : ABOVE THE SURFACE OF THE EARTH 

ภาชนะจากบรรยากาศบนท้องฟ้า “ท้องฟ้าเป็นสีสันของธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามฤดูกาลและช่วงเวลา ไม่มีที่สิ้นสุด พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก เกิดขึ้นในทุกๆวัน แต่ละวันบรรยากาศของท้องฟ้ามีความสวยงาม และให้ความรู้สึกที่ต่างกันไป ขณะที่ท้องฟ้ากำลังเปลี่ยนสี การจ้องมองท้องฟ้าทำให้เกิดจินตนาการ และความสงบเหมือนเวลาได้หยุดนิ่ง ละทิ้งจากความวุ่นวายต่างๆ

จากความประทับใจในบรรยากาศบนท้องฟ้า และสีสันในช่วงเวลาต่างๆ ข้าพเจ้าจึงนำดินมาจัดองค์ประกอบเป็นลวดลายตามเทคนิคที่ข้าพเจ้าสนใจ ซึ่งเป็นเทคนิคตัดต่อดินสี ในรูปแบบภาชนะเครื่องเคลือบดินเผา โดยใช้ดินสีสโตนแวร์ เผาที่อุณหภูมิ 1220 °C”

คลิกดูผลงานทั้งหมดในตำแหน่ง Ceramics

 

Applied :Wonders of Forest มหัศจรรย์แห่งป่า

เมื่อเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในชีวิตประจำวัน การได้ออกไปพักผ่อน สัมผัสกับธรรมชาติจะช่วยทำให้จิตในผ่อนคลายข้าพเจ้าจึงนำความประทับใจ ความรู้สึก และจินตนาการจาก ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้มาออกแบบเป็นผลงานศิลปะสิ่งทอที่มีความสวยงามควบคู่ไปประโยชน์ใช้สอย เช่น ที่นั่ง ที่นอน หรือโคมไฟประดับ เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความสดชื่น ชุ่มชื้นภายในบ้าน เหมือนได้พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติที่เขียวชะอุ่มของป่าไม้

คลิกดูผลงานทั้งหมดในตำแหน่ง Applied

 

Product : PORTABLE BEACH PICNIC SET FROM NIPA PALM LEAFSTALK

ชุดอุปกรณ์นั่งรับประทานอาหารกลางแจ้งริมชายหาดจากก้านจาก นำวัสดุก้านจากและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดตรังมาพัฒนาเป็นชุดรับประทานอาหารกลางแจ้งริมชายหาดที่ง่ายต่อการใช้งาน

 

Viscom :  การออกแบบภาพประกอบนิตยสารแฟชั่น “Collab” 

การออกแบบภาพประกอบแฟชั่นโดยการนำลายเส้นการ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อนำมาประกอบในนิตยสารแฟชั่นแนวใหม่ซึ่งเน้นการใช้ภาพประกอบในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆทางแฟชั่น เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายผู้สนใจการ์ตูนและแฟชั่น


คลิกดูผลงานทั้งหมดในตำแหน่ง Viscom

Interior : ” Elude to Pray ” โครงการออกแบบสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ (โมเดลต้นแบบ) วัดป่าโพธิญาณ จ.อุบลราชธานี 

” หลีกเร้น เพื่อ ภาวนา ” คือ การออกแบบพื้นที่สำหรับการปฏิบัติธรรม หรือฝึกตนให้เกิดสมาธิ โดยใช้กฏ และบริบทของธรรมชาติในพื้นที่เข้ามาช่วย ทั้งป่าและน้ำ โดยใช้คติธรรมแทรก บวกกับหลักของการ หลบหลีก และ ซ่อนเร้น ในการออกแบบพื้นที่นั้นๆ ความหมายคือการปกปิด แต่ไม่กักขัง เพื่อการภาวนา เพื่อให้เกิดการปลีกตัว และให้เกิดความสงบ วิเวก จากพื้นที่ที่ออกแบบ โดยจะใช้วัสดุธรรมชาติที่เข้าใจได้ง่าย และสามารถนำโมเดลแบบไปกระจายใช้ต่อในพื้นที่วัดป่าอื่นๆได้

คลิกดูผลงานทั้งหมดในตำแหน่ง Interior

 

303 อัตรา นักออกแบบใหม่แกะกล่องจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พร้อมทำงานติดต่อเลย !! คลิกที่นี่

 

 


แชร์ :

You may also like