HomeDigitalถอดแนวคิดบริหารแบบ Alibaba เมื่อ Jack Ma มักไม่จ้างงานคนที่เรียนเก่งที่สุด

ถอดแนวคิดบริหารแบบ Alibaba เมื่อ Jack Ma มักไม่จ้างงานคนที่เรียนเก่งที่สุด

แชร์ :

ในช่วงที่โลกยุคดิจิทัลพัฒนาอย่างตื่นตัวต่อเนื่อง พนักงานที่มีทักษะในประเทศจีนก็กระโดดสู่เรือลำใหม่อยู่เนืองๆ ทั้งจากการย้ายไปอยู่กับคู่แข่ง หรือว่ายเข้าเกาะขอนไม้ที่ยื่นมาโดยบริษัทเงินทุนทั้งหลาย และพยายามใช้โชคทั้งหมดที่มีในการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ค่าใช้จ่ายของผู้มีความสามารถเริ่มหมุนเวียนมากขึ้น รวมไปถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักออกแบบเว็บไซต์และโปรเจคเมเนเจอร์ ที่ Alibaba จะต้องสร้างข้อเสนอพิเศษต่างๆ เพื่อให้ได้ตัวมา

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตอนนี้ Alibaba มี 2 สิ่งสำคัญที่จะทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ คือเมืองหางโจวและ Jack Ma หางโจวแตกต่างจากปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ที่ซึ่งการเปลี่ยนงานของพนักงานเก่งๆ เป็นเรื่องชวนปวดหัวของผู้ประกอบการอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามที่หางโจวก็เต็มไปด้วยเด็กจบใหม่และนายจ้างในท้องถิ่นก็มีจำนวนน้อยเช่นกัน

นอกจากนี้ Alibaba ยังได้รับประโยชน์จากการไร้ญาติขาดมิตรของหางโจว จนทำให้ไม่มีคู่แข่งเจ้าไหนที่จะมาล่อลวงพนักงานของเขาให้จากไป ที่หางโจวมีบริษัทด้านเทคโนโลยีอื่นอีกแค่ 2-3 แห่ง เช่นอย่าง UTStarcom หรือ Eastcom ที่ตั้งอยู่ในเมือง แต่ความเกลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกดิจัทัลกำลังจะทำให้บริษัทเหล่านี้กลายเป็นกิจการที่มี “เศรษฐกิจแบบเก่า” ในเร็วๆ นี้

Alibaba ยังได้รับประโยชน์จากระยะทางระหว่างหางโจวและเซี่ยงไฮ้ที่ห่างออกไปแค่สองชั่วโมง สำหรับวิศวกรหนุ่มที่มีพรสวรรค์และต้องการทำงานในกิจการอินเทอร์เน็ตที่ตอนนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว Alibaba ก็เป็นคำตอบและทำเลที่ตั้งก็ดีงาม จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้ Alibaba ลดต้นทุนการเดินทางให้พนักงานได้

สำหรับราคาค่าจ้างของวิศวกรถ้าต้องเลือกหนึ่งคนระหว่างคนที่มาจากปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้ Alibaba อาจเลือกจ้างทั้ง 2 คน ยิ่งเมื่อเอาคุณสมบัติและค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานในประเทศจีนไปเปรียบเทียบกับ Silicon Valley แล้ว ยิ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ เหมือนที่ Jack Ma เคยพูดเอาไว้ว่า

“การรักษาความสุขให้กับโปรแกรมเมอร์หนึ่งคนใน Silicon Valley อาจต้องใช้เงินประมาณ 50,000 ถึง 100,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งสำหรับเงินจำนวนมากขนาดนั้น ถ้าเอาไปใช้ในประเทศจีน ผมสามารถทำให้คนเก่งๆ อีกสิบคนมีความสุขได้ตลอดเวลา”

ในฐานะเมืองชั้นสอง อสังหาริมทรัพย์ในหางโจวก็ถูกกว่าด้วยเช่นกัน แม้ว่า Alibaba จะย้ายออฟฟิศใหม่ที่มีพื้นที่กว่า 200,000 ตารางฟุตในช่วงต้นปี 2000 แต่ค่าเช่าทั้งหมดก็แค่ 80,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งถ้าไปเช่าในปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้อาจได้แค่เสี้ยวเดียวของที่ได้ตอนนี้ รวมทั้งระยะทางจากปักกิ่งก็ถือว่าอยู่ในระยะที่เหมาะสม Jack Ma พูดถึงเรื่องนี้ว่า “แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานจะไม่ดีเท่ากับในเซี่ยงไฮ้ แต่การอยู่ไกลจากรัฐบาลกลางให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็ดีกว่า”

อย่าจ้างคนที่เก่งที่สุด

สำหรับเรื่องการสร้างทีม Jack มักเลือกจ้างคนที่อยู่อันดับหนึ่งหรือสองลงมาจากตัวท็อปของโรงเรียน Jack อธิบายว่า

พวกหัวกระทิของมหาวิทยาลัยมักทำให้เราผิดหวังเมื่อต้องเผชิญกับความยากลำบากของโลกแห่งความเป็นจริง และสำหรับบรรดาผู้ที่มาทำงานต่างประเทศ ก็บอกเลยว่าการทำงานกับ Alibaba ไม่เหมือนการมาปิกนิค

ค่าใช้จ่ายและเวลาในทำงานเป็นอีกประเด็นที่ Alibaba ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อมีข้อมูลว่าพนักงานบางคนที่เพิ่งเริ่มต้นเข้าทำงานได้รับค่าตอบแทนเพียง 50 เหรียญสหรัฐต่อเดือน อีกทั้งพวกเขาทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ซึ่งมักจะเป็นสิบหกชั่วโมงต่อวัน ยังมีเรื่องที่ว่า ซีอีโออย่าง Jack ต้องการให้พวกเขาหาที่อยู่ที่เดินทางไม่เกิน 10 นาทีจากออฟฟิศเพื่อไม่ให้เสียเวลาอันมีค่าไปกับการเดินทาง

ตั้งแต่เริ่มแรก Alibaba ได้รับแรงผลักดันจากจรรยาบรรณในการทำงานของซิลิคอนวัลเลย์ โดยพนักงานทุกคนจะได้รับสิทธิในการซื้อหุ้นของบริษัทด้วย ซึ่งนี่คือสิ่งที่หาได้ยากในประเทศจีนที่มีการบริหารแบบดั้งเดิมในบริษัทเอกชนนั้นถูกตั้งค่าให้เจ้านายเป็นเหมือนจักรพรรดิที่มองว่าพนักงานเป็นแบบใช้แล้วทิ้งและจ่ายค่าจ้างตามที่เห็นสมควร

เนื่องจากเว็บไซต์ Alibaba.com ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากการนำเสนอการให้บริการฟรี ทีมงานในหางโจวจึงต้องพยายามอย่างหนักในการติดตามปริมาณอีเมล์ขาเข้า ทีมบริการลูกค้าของ Alibaba พบว่าตัวเองกลายเป็นเหมือนผู้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคแก่ลูกค้า เช่นคอยตอบคำถามเกี่ยวกับวิธีรีบูสท์เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมาตรฐานอยู่ที่ ลูกค้าจะได้รับการตอบอีเมล์ภายใน 2 ชั่วโมง

ผู้ร่วมก่อตั้ง Simon Xie เล่าถึง Jack Ma ว่า เขา คือ “a culture, a nucleus” และอธิบายต่อว่า Jack มักจะ ทักทายพนักงานใหม่ด้วยข้อความที่เยือกเย็นและคำสัญญา จากนั้นก็มักจะเพิ่มเติมด้วยคำพูดที่เขาชื่นชอบว่า

“วันนี้เป็นวันที่โหดร้าย พรุ่งนี้โหดร้ายกว่า แต่วันมะรืนนั้นสวยงาม อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่จะตายในคืนวันพรุ่งนี้ พวกเขาจะไม่มีโอกาสได้เห็นแสงแดดของวันมะรืน แต่ Aliren(Ali- Ren คนของ Alibaba) ต้องได้เห็นแสงแดดของวันมะรืน”

Lucy Peng ผู้ร่วมก่อตั้ง และผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์คนแรกของ Alibaba และต่อมาดำรงตำแหน่ง “chief people officer” มีบทบาทสำคัญในกระบวนการจ้างงานและในการสร้างวัฒนธรรมของบริษัท ในกรณีศึกษาของ Harvard Business School ปี 2000 ที่มีต่อบริษัท เธอให้ความเห็นว่า “พนักงานของอาลีบาบาไม่ต้องการประสบการณ์ พวกเขาต้องการมีสุขภาพที่ดี มีจิตใจที่ดี และมีความคิดที่ดี “

Jack เคยถูกไล่ออกจาก business school “ไม่จำเป็นต้องเรียน MBA นักศึกษาปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นประโยชน์ … เว้นเสียแต่ว่าพวกเขากลับมาจากการศึกษา MBA และลืมสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้มาที่โรงเรียนแล้ว พวกเขาถึงจะมีประโยชน์ เนื่องจากโรงเรียนสอนแค่ความรู้ ในขณะที่การเริ่มต้นธุรกิจต้องใช้ปัญญา ปัญญาได้มาจากประสบการณ์ และความรู้ความสามารถก็ได้มาจากการทำงานอย่างหนัก” Jack Ma กล่าว 

Source

แปลและเรียบเรียงโดย Prim NM


แชร์ :

You may also like