เป็นประจำทุกปี Kantar Millward Brown บริษัทวิจัยด้านการตลาดในเครือ WPP ได้เปิดผลวิจัย “BrandZ 100 Most Valuable Global Brands” หรือ “100 อันดับแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดในโลก” ซึ่งผลการวิจัยล่าสุดในปี 2018 ที่ผ่านมา ยังพบว่า 4 อันดับแรกของแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุด ยังคงเป็นแบรนด์ในกลุ่มเทคโนโลยีที่มีเจ้าของเป็นชาติตะวันตก ได้แก่ Google – Apple – Amazon– Microsoft แต่มีประเด็นที่น่าสนใจและจับตามอง คือ การเข้ามาของแบรนด์ที่มาจากผู้ประกอบการจากเอเชียในลำดับที่ 5 คือ Tencent ที่นับเป็นแบรนด์ติดอันดับ Top 10 เป็นปีที่ 2 แล้ว ไม่เพียงเท่านี้ยังมีแบรนด์ Alibaba ติดอันดับ 9 ด้วย แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและการเติบโตของแบรนด์ในเอเชีย ที่ไม่ได้น้อยไปกว่าบรรดาชาติตะวันตกเลย และสามารถก้าวข้ามจากแบรนด์ระดับ Local และ Regional ไปสู่ระดับ Global Brand ได้อย่างสวยงาม
ไม่เพียงแต่แบรนด์ที่ติดอยู่ในทำเนียบ 100 แบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกเท่านั้นที่น่าจับตามอง แต่ยังมีแบรนด์เอเชียอีกมากมายที่เป็นดาวรุ่งและกำลังเติบโต สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์อย่างต่อเนื่อง จากความชื่นชอบและเป็นที่นิยมจากผู้บริโภคทั้งในภูมิภาคและระดับโลก
ตัวอย่างแบรนด์น่าสนใจของแต่ละประเทศในเอเชีย
ผู้นำเกมออนไลน์-เหล้าพรีเมียมจากจีน
แบรนด์จากแดนมังกรแห่งนี้ ติดทำเนียบแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกหลายแบรนด์ แต่ที่เด่นชัดคือแบรนด์ด้านเทคโนโลยีที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความก้าวหน้าของการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยี ของเอเชียไม่ได้ด้อยกว่าชาติตะวันตกเลย อาทิ แบรนด์ “Tencent” ที่ติดอันดับ 5 มีมูลค่าแบรนด์ 179,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 65% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา Tencent คือ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีอย่าง WeChat ที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า 1,000 ล้านคน และเป็นเจ้าของเกม RoV ที่คอเกมเมอร์รู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันเติบโตเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่เพียงแต่จะมุ่งเน้นการทำตลาดเกมออนไลน์เท่านั้น แต่ยังขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องด้วย อาทิ การลงทุนเพิ่มมากขึ้นทั้งกลุ่ม วิดีโอ ระบบจ่ายเงิน คลาวด์ AI และร้านค้าปลีกอัจฉริยะ ที่จะเสริมสร้างการเติบโตในระยะยาวให้กับบริษัท ปัจจุบันมูลค่ากิจการ Tencent อยู่ราว 5.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2017 มีรายได้รวม 10,161 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 51% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 3,309 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 105%
นอกจากนี้ยังมีประเทศจีนยังมีแบรนด์ “Moutai” แบรนด์เหล้าพรีเมียมของจีน ที่มีมูลค่าแบรนด์อันดับ 1 ของโลก สูงถึง 16,983 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในเครือ Kweichow Moutai ยังมีเหล้าแบรนด์ Xi ที่น่าจับตามองเช่นเดียวกัน รวมไปถึง บริษัทผลิตสินค้าทางการเกษตร ที่มีแผนผลักดันเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
แบรนด์แฟชั่นญี่ปุ่นที่อยู่ในตู้เสื้อผ้าคนทั่วโลก
Uniqlo แบรนด์สินค้าแฟชั่นสัญชาติญี่ปุ่น อายุเพียง 20 ปีแต่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคทั้งชาวไทยและทั่วโลกด้วย จากจำนวนสาขากว่า 958 สาขา เฉพาะในยุโรปมีจำนวนกว่า 36 สาขา และในสหรัฐอเมริกาอีกกว่า 45 สาขา ส่วนในญี่ปุ่นมีจำนวนสาขามากกว่า 837 แห่ง ที่น่าสนใจคือยอดขายไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2561 (ก.ย.-พ.ย. 2560) จากต่างประเทศสูงกว่า 74,100 ล้านบาท เติบโตขึ้นถึง 31% แสดงถึงความนิยมที่เพิ่มต่อเนื่องทั่วโลก ความสำเร็จของ Uniqlo ที่ผ่านมา หลักๆคือ คุณภาพความหลากหลายสินค้า ในระดับราคาที่เอื้อมถึงได้ และที่สำคัญคือ “นวัตกรรม” เครื่องสวมใส่ต่างๆที่ออกมาตอบโจทย์ผู้คนอย่างต่อเนื่อง เช่น ชุด Heat Tech และ Ultra Light Down นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์ทางออนไลน์เป็นตัวเร่งยอดขายให้เพิ่มมากขึ้นอีกมหาศาล
อีกหนึ่งแบรนด์ธุรกิจค้าปลีกที่น่าสนใจในญี่ปุ่นคือ Family Mart
ร้านสะดวกซื้อที่ขยายธุรกิจออกไปในอีกหลายประเทศ อาทิ ประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย จีน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม รวมกว่าสาขาทั้งหมดกว่า 15,000 สาขา ในญี่ปุ่นก็มีขนาดความใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเติบโต เป็นเพราะมีการปรับตัวเองให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน Family Mart ไม่เพียงดำเนินธุรกิจรีเทลเท่านั้น แต่ยังเสริมสินค้าและบริการที่ถือว่าเป็น “ไลฟ์สไตล์” ของคนยุคใหม่ด้วย อาทิ การรับส่งพัสดุ 24 ชั่วโมง ที่ร่วมมือกับ Kerry Express ในประเทศญี่ปุ่นมีการเพิ่มบริการซัก-อบ-รีด รวมถึงการเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นสถานที่นั่งทำงาน บริการ Wi-fi เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่จะเติบโตไปกับวิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
แบรนด์อินเดีย เบอร์ 3 เจ้าพ่อเครือข่ายมือถือ
อินเดียถือเป็นหนึ่งประเทศในเอเชียที่อยู่ในช่วงยุคทองของการเติบโต จากความได้เปรียบของโครงสร้างประชากรที่อยู่ในวัยทำงานจำนวนมาก มาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก
อินเดีย มีผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ภายใต้แบรนด์ “Airtel” ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก ภายใต้การบริหารงานของ Bharti Airtel Ltd. ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ใน 20 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียใต้และแอฟริกา ปัจจุบันธุรกิจให้บริการเครือข่ายมือถือนับวันมีแต่จะเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง จากรายได้ครัวเรือนและจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อและความต้องการใช้โทรศัพท์มือถือและบริการต่างๆ บนมือถือเพื่อความสะดวกสบายในชีวิตมีมากขึ้นต่อเนื่อง จึงทำให้ทั้งผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ และผู้ให้บริการเครือข่าย ต่างมีผลประกอบการที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
นอกจากนี้ในอินเดียยังมีธุรกิจที่น่าสนใจอีกหนึ่งธุรกิจ คือ การผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าคอนซูเมอร์ (Consumer Product ) เพราะจำนวนประชากรที่มีอยู่กว่า 1,334 ล้านคน (มากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศจีน) ซึ่งเป็นตลาดใหญ่และโอกาสทางการตลาดมหาศาลของธุรกิจ Consumer Product ตัวอย่างเช่น Godrej Consumer Products Ltd. คือผู้ผลิต Consumer Product รายใหญ่สุดของอินเดีย มีสินค้าครอบคลุมตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ทั้งผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์ใช้ในบ้าน และเครื่องสำอาง ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นผู้นำตลาดในแต่ละกลุ่มสินค้า เป็นเพราะการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบครบวงจร และการจัดทำแคมเปญอย่างต่อเนื่อง นอกจากทำตลาดในอินเดียแล้ว Godrej Consumer Products Ltd. ยังเข้าไปทำตลาดและจัดจำหน่ายอยู่ในอีกหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย ชิลี อาร์เจนติน่า อาฟริกา ศรีลังกา ยุโรป อเมริกา และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เป็นต้น โดยมีรายได้รวมกว่า 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นม – เบียร์ เครื่องดื่มกำลังโตในเวียดนาม
สำหรับประเทศเวียดนาม ถือเป็นตลาดที่กำลังมีเศรษฐกิจเติบโต จากการเข้าไปลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในหลากหลายธุรกิจ เพราะมีจุดแข็งในเรื่องของแรงงานที่มีจำนวนมาก ที่ยังมีต้นทุนค่าแรงไม่สูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย ทำให้กลายเป็นฐานการผลิตสินค้าของแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก รวมถึงการผลักดันโครงสร้างเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หนึ่งในสินค้าที่โตไปพร้อมกับเศรษฐกิจคือผลิตภัณฑ์จากนม อย่างแบรนด์ Vinamilk แบรนด์ผลิตภัณฑ์จากนมรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ของ Vietnam Dairy Products JSC บริษัทที่มี market cap ใหญ่ที่สุดในตลาดเวียดนาม ด้วยขนาดกว่า 3.3 แสนล้านบาท และมีการส่งออกผลิตภัณฑ์นมไปทำตลาดใน 43 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะในอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย กลยุทธ์ของ Vinamilk ที่ช่วยทำให้มียอดขายและตลาดอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เกิดจากการใช้นวัตกรรมมาพัฒนาสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค การมีสินค้าผลิตจากนมหลากหลายชนิด และมีฟาร์มผลิตโคนมเป็นของตนเอง ประกอบกับกระแสความนิยมของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่หันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้บริษัทมีโอกาสสร้างการเติบโตตามพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกในยุคปัจจุบัน
ไม่เพียงแต่เครื่องดื่มประเภทนมเท่านั้นที่มีอัตราการเติบโตที่ดี แต่ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เติบโตจากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่นิยมการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงและคนรู้ใจ ทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เติบโตลดลงเลย และเวียดนามก็มีแบรนด์ Saigon Beer ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวเวียดนามอย่างสูง ภายใต้การผลิตและจัดจำหน่าย Saigon Beer Alcohol Beverage Crop. หรือ SABECO ซึ่งเป็นของรัฐบาลเวียดนาม ล่าสุดในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้เปิดประมูลขายหุ้นของโรงเบียร์รัฐบาลแห่งนี้ โดยผู้ชนะการประมูลไม่ใช่ใครที่ไหน คือ บริษัทในตระกูล “สิริวัฒภักดี” ของเจ้าพ่อเบียร์ช้าง “เจริญ สิริวัฒนภักดี” นั่นเอง ด้วยมูลค่าการลงทุนถึง 160,000 ล้านบาท ความน่าสนใจของตลาดเบียร์เวียดนาม เป็นเพราะฐานประชากรจำนวนมาก และเป็นตลาดเบียร์ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2016 เวียดนามมีการบริโภคเบียร์ในระดับ 6,500 ล้านลิตรเลยทีเดียว นอกจากนี้ SABECO ยังมีแบรนด์เบียร์ 333 ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 40% ในเวียดนามอีกหนึ่งแบรนด์ด้วย จึงนับเป็นบริษัทที่มีโอกาสเติบโตจากการเป็นผู้นำตลาดและเป็นแบรนด์ยอดนิยมของผู้บริโภค
จะเห็นได้ว่าทั้งไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ ธุรกิจ และ ตลาดในเอเชียยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมหาศาล ขณะที่ภูมิภาคอื่นๆยังคงทรงตัว ดังนั้นเอเชียจึงเป็นที่หมายปองของนักลงทุนจากทั่วโลก สำหรับนักลงทุนชาวไทยที่ต้องการมีส่วนร่วมไปกับการเติบโตของเอเชีย สามารถเลือกลงทุนกับกองทุนของ บลจ.กรุงศรี ที่มีกองทุนที่ลงทุนในเอเชียหลากหลายให้เลือก
ตัวอย่างกองทุนที่น่าสนใจของบลจ.กรุงศรี ที่ลงทุนในกองทุนรวมตลาดเอเชีย
กองทุนเปิดกรุงศรีเอเชียอินคัมเฮดจ์ (KFAINCOM)
เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ Schroder Asian Income Fund ที่มีกลยุทธ์เน้นไปที่การสร้างผลตอบแทนในรูปแบบรายได้ประจำ หรือให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ โดยจะลงทุนในตราสารหนี้ หุ้น หรือ REITs ในภูมิภาคเอเชีย ที่มีศักยภาพการเติบโตที่แข็งแกร่ง การจัดสรรพอร์ตการลงทุนที่ยืดหยุ่น กระจายการลงทุนไปในหลายรูปแบบนี้ ทำให้ลดความเสียงและมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนในระยะยาว
กองทุนเปิดกรุงศรีเกรทเทอร์ไชน่าอิควิตี้เฮดจ์ปันผล (KF-HCHINAD)
ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ First State Greater China Growth Fund เป็นโอกาสให้เข้าถึงการเติบโตของ 3 ตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน ซึ่งมีแบรนด์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก และ ฮ่องกง เขตการปกครองที่มีความเจริญก้าวหน้าและความมั่งคั่งสูง และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของโลกด้วย
กองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนอิควิตี้อินเด็กซ์เฮดจ์เอฟเอ็กซ์ (KF-HJPINDX)
ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ Nikkei 225 Exchange Traded Fund ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในกองทุนดัชนีที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น บริหารโดย Nomura AM ที่เน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี Nikkei 225 ซึ่งเป็นดัชนีชั้นนำของตลาดหุ้นญี่ปุ่น ทำให้สมารถเข้าถึงการลงทุนใน 225 บริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีก อาทิ แฟลมิลี่ มาร์ท, Fast Retailing กลุ่ม IT อาทิ Softbank, KDDI Corp กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ Fanuc Corp, Kyocera และกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ Daikin เป็นต้น
กองทุนเปิดกรุงศรีอินเดียอิควิตี้ (KF-INDIA)
ลงทุนในกองทุน First State Indian Subcontinent Fund (Class III USD) ซึ่งจะเน้นคัดเลือกหุ้นบริษัทที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน โปร่งใส โดยเฉพาะหุ้นที่มีแบรนด์แข็งแกร่ง เช่น บริษัทเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ธนาคารเอกชนชั้นนำ บริษัทส่งออก และที่กำลังฟื้นตัวมีกำไร จึงเหมาะกับการลงทุนระยะยาวไปกับการเติบโตของอินเดีย
นอกจากตัวอย่างกองทุนเหล่านี้แล้ว ยังมีกองทุนอื่นๆ ที่เปิดโอกาสให้เราได้เข้าไปลงทุนในแบรนด์ชั้นนำของเอเชียที่มียอดขายและกำไรแข็งแกร่ง ทำให้โอกาสรับผลตอบแทนดีๆ จากเงินลงทุนของเรากว้างขี้น ไม่จำกัดอยู่แต่ตลาดหุ้นไทยบริษัทไทยเท่านั้น สามารถสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 0-2657-5757 หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/BB_AsiaEQ
คำเตือน:
ผลการดำเนินการในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน กองทุนมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ/หรือการเมืองในประเทศซึ่งกองทุนหลักได้ลงทุน
หมายเหตุ:
KF-HCHINAD: ลงทุนในกองทุนหลัก First State Greater China Growth Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 – สูง ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
KF-HJPINDX: ลงทุนในกองทุนหลัก Nikkei 225 Exchange Traded Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 – สูง ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
KF-INDIA ลงทุนในกองทุนหลัก First State Indian Subcontinent Fund (Class III USD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 – สูง ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
KFAINCOM-A / KFAINCOM-R ลงทุนในกองทุนหลัก Schroder Asian Income Fund (Class X (SGD)) โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 5 – ปานกลางค่อนข้างสูง ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (KFAINCOM-R การจ่ายผลตอบแทนของกองทุนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งอาจมีโอกาสที่นักลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนในบางช่วงเวลา)
[Advertorial]
อ้างอิงจาก
http://www.millwardbrown.com/
http://www.godrejcp.com/Resources/uploads/reports/2017-18/GCPL_Annual_Report_201718.pdf
http://uniqloshistory.blogspot.com/2013/09/uniqlo.html
https://www.fastretailing.com/employment/th/uniqlo/th/graduate/business.html
https://www.brandbuffet.in.th/2017/09/familymart-kerryexpress-collaboration-service/
https://en.wikipedia.org/wiki/Bharti_Airtel
https://www.bbc.com/thai/international-42324533
https://www.vinamilk.com.vn/en/