HomePR Newsโตโยต้า สอนแนวคิด Kaizen ให้ OTOP และ SME ไทย เพื่อธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

โตโยต้า สอนแนวคิด Kaizen ให้ OTOP และ SME ไทย เพื่อธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

แชร์ :

หากพูดถึงการทำ CSR (Corporate Social Responsibility) หลายองค์กรคงรู้จักกันดี และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต การจัดการภายในองค์กรตามหลักจริยธรรม และแบ่งปันมาสู่สังคมภายนอก อาทิเช่น การบริจาคสิ่งของ การสร้างโรงเรียน การปลูกป่า ฯ อันนำไปสู่การพัฒนาของสังคมที่ดีขึ้น และจากการมองเห็นปัญหาของธุรกิจ SMEs ที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่สามารถอยู่รอดในสังคมได้อย่างยั่งยืน

โตโยต้าจึงนำความรู้มาแบ่งปันผ่านนวัตกรรมทางสังคม (Kaizen) ซึ่งเป็นวิถีการทำงานของโตโยต้าที่มีประสิทธิภาพ ให้ธุรกิจได้นำความรู้ไปพัฒนากิจการให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนผ่านโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” สอดคล้องกับทิศทางการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้นโยบายประชารัฐ ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มีความมั่นคง 

นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น, นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า บริษัท โตโยต้าขอนแก่น ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด หน่วยงานราชการในจังหวัดขอนแก่น และนางสายทิพย์ ลามา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกสว่าง ข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ ร่วมเปิด “ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 2” 

ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ เป็นหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อต่อยอด โครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” นวัตกรรมสังคมรูปแบบใหม่ที่บริษัทฯ มุ่งมั่นจะยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางสังคม ให้เข้าสู่ยุคของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผ่านการเป็น “พี่เลี้ยงธุรกิจชุมชนไทย” ที่นำองค์ความรู้ในการทำธุรกิจของโตโยต้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อันได้แก่ วิถีโตโยต้า (Toyota Way) ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System) และปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่ง (Customer First) ถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs เพื่อพัฒนาศักยภาพ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกสว่าง ผู้ผลิต ข้าวแตน สมุนไพรสายทิพย์ ได้เข้าร่วมโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ในปี 2558 โดยโตโยต้าและผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าขอนแก่น ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตแบบโตโยต้า ไปดำเนินงานถ่ายทอด “จิตวิญญานแห่งการไคเซ็น” โดยการเข้าศึกษาและแก้ปัญหาทางธุรกิจในลักษณะการเป็น “พี่เลี้ยงทางธุรกิจ” ภายใต้หลักการ “รู้-เห็น-เป็น-ใจ” คือ รู้ ปัญหาในทุกกระบวนการ เห็น แนวทางแก้ไข ทำเป็น ด้วยตนเอง และ เข้าใจ ใส่ใจในการดำเนินงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างมืออาชีพ สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้ส่งมอบโครงการเมื่อเดือนกันยายน 2560 และได้ติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มฯ อย่างต่อเนื่อง พบว่ากลุ่มฯ ยังคงรักษาผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน และทำการไคเซ็นได้ด้วยตนเองตามแนวทางของโตโยต้า ส่งผลให้กำลังการผลิตของโรงงานเพิ่มขึ้นกว่า 33% สร้างรายได้ให้พนักงาน 350-500 บาทต่อวัน และได้ยกระดับธุรกิจให้กลายเป็น “ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 2” ต่อจาก กลุ่มตัดเย็บเสื้อโปโล ฮาร์ท โอทอป จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ แก่ผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภายในศูนย์ฯ มีองค์ความรู้ในการปรับปรุงธุรกิจหลักๆ ได้แก่

  • การวางแผนธุรกิจตลอดทั้งกระบวนการ โดยบอร์ดแห่งการมองเห็น (Visualization Board)
  • การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ (ไคเซ็น) เช่น การควบคุมคุณภาพ การลดของเสีย และเพิ่มผลิตภาพ
  • การบริหารสินค้าคงคลังด้วยระบบทันเวลาพอดี ส่งผลต่อการบริหารต้นทุนและคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

   การ KAIZEN โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกสว่าง (พฤศจิกายน2560 – มีนาคม2561)

นางสายทิพย์ ลามา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกสว่าง ข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ กล่าวว่า ปัจจุบันรายได้หลักมาจากการผลิตข้าวแตนเป็นหลักซึ่งจากเดิมเป็นเพียงแค่รายได้เสริม มีพนักงานประมาณ 30-40คน จากเดิมตั้งต้นมีแค่ 7 คน ในปี2541 และตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพนักงานเป็น 200คนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต หวังส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นภายใน 3 ปีข้างหน้านี้ ช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นลูกค้า ทำหน้าที่เป็น Distributor ช่วยกระจายสินค้าไปยังแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้อีกที มีการออกบูท จัดกระเช้าตามวาระโอกาสต่างๆที่ทางภาครัฐสนับสนุน และเป็นของว่างสำหรับผู้มาใช้บริการศูนย์โตโยต้า

โตโยต้าได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ ธุรกิจชุมชนทั้งหมด 12 แห่ง ใน 12 จังหวัดทั่วประเทศไทย ในปีนี้ โตโยต้าจะเดินหน้าขยายโครงการ “ธุรกิจชุมชนพัฒน์” เพิ่มในอีก 10 ธุรกิจชุมชน ใน 10 จังหวัด โดยมีเป้าหมายในการขยายโครงการฯ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2565 ภายใต้นโยบายประชารัฐ โดยความร่วมมือกับ Thailand Smart Center หอการค้าไทย และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

นอกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกสว่างคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการคิด และช่วยกันพัฒนากระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านใกล้เคียงในการเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบ รวมถึงความภาคภูมิใจที่มีแหล่งทำกินในถิ่นที่อยู่อาศัย ไม่ต้องไปทำงานต่างถิ่น ทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัว ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดปัญหาทางสังคมได้ และจากศูนย์การเรียนรู้ฯ นี้ทำให้เห็นว่า การดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่สามารถทำได้โดยลำพัง การทำงานเป็นทีมและเป็นระบบ รวมถึงการส่งเสริมจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน การมีนวัตกรรมที่ดี ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงพลักดันให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน


แชร์ :

You may also like