HomeCSR4 เคสตัวอย่าง Zero Waste เมื่อมนุษย์เป็นผู้สร้างขยะ จึงต้องรู้จักวิธีกำจัดให้เหลือ “ศูนย์”

4 เคสตัวอย่าง Zero Waste เมื่อมนุษย์เป็นผู้สร้างขยะ จึงต้องรู้จักวิธีกำจัดให้เหลือ “ศูนย์”

แชร์ :

ปัจจุบัน เรียกได้ว่าปัญหาขยะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนไทยและคนทั่วโลกอีกต่อไป เนื่องจากมีการรณรงค์จากหน่วยงานต่างๆ มาเป็นเวลายาวนานเพื่อปลูกฝั่งจิตสำนึกการอนุรักษ์การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด สู่การปฏิบัติจริง ผ่านแนวคิด “3R” (Reduce Reuse Recycle) “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่” แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ยังคงมีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนในประเทศไทยปี 2559 โดยกรมควบคุมมลพิษ พบว่า มีขยะรวมทั้งประเทศกว่า 27.06 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 74,130 ตันต่อวัน เฉลี่ย 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยแบ่งประเภทขยะเป็น ขยะอินทรีย์ 64% ขยะรีไซเคิล 30% ขยะอันตราย 3% และขยะทั่วไป 3%

Zero Waste ขยะเหลือศูนย์

เมื่อเราเป็นผู้สร้างขยะ เราต้องเป็นผู้กำจัดขยะ! Zero Waste จึงกลายเป็นแนวคิดที่หลายๆ ประเทศกำลังให้ความสนใจ รวมถึงในประเทศไทย ซึ่งหลากหลายบริษัทได้หันมาให้ความสำคัญโดยใส่แนวคิด Zero Waste เข้าไปในแผนกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อาทิ เอสซีจี อารียา พรอพเพอร์ตี้ และบีเอ็มดับเบิ้ลยู

ทั้งนี้ แนวคิด Zero Waste คือการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ขยะเหลือศูนย์หรือไม่มีขยะนั้นเอง หลักการของ Zero Waste อาจไม่มีอะไรแปลกใหม่มากนัก โดยยังคงยึดหลักการ 3R ข้างต้น แต่จะเพิ่ม 1A เข้ามา กลายเป็น “1A3R” ซึ่งประกอบด้วย Avoid หลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดขยะ Reduce ใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะให้น้อยลง Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ และ Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่ทำจริงๆ ไม่ง่ายเลย

ปัจจุบัน มีประเทศเพื่อนบ้านที่ใช้แนวคิด Zero Waste มาจัดการเรื่องขยะในระดับประเทศ และประสบความสำเร็จ กลายเป็นต้นแบบของการกำจัดขยะและการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ดังนี้

“สวีเดน” ขยะหมดประเทศจนต้องนำเข้ากว่า 8 แสนตันต่อปี

ในปี 1940 ขณะที่หลายๆ ประเทศยังไม่ตระหนักถึงปัญหาการจัดการขยะ แต่ “สวีเดน” กลับริเริ่มโครงการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ แซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านไปหลายขุม ผ่านความร่วมมือของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลสวีเดนในการบรรลุเป้าหมาย Zero Waste ภายในปี 2020 ดูจะเป็นเรื่องไม่ไกลเกินฝัน เนื่องจากความชัดเจนในการออกระเบียบข้อบังคับในเรื่องการกำจัดขยะโดยห้ามเผา จำกัดการปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตราย การนำกลับมาใช้ใหม่แทนการฝั่งกลบ การรีไซเคิล และการนำเอาขยะมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงใช้ในประเทศ รวมไปถึงการลงทุนกับการวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะ จนสามารถสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2.2 ล้านตันต่อปี

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุดในการเดินหน้าสู่เมืองปลอดขยะนั่นก็คือ จิตสำนึกของประชาชนชาวสวีเดนกว่า 9.5 ล้านคน ที่พร้อมใจกันแยกขยะ จัดการขยะภายในครัวเรือนของตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้อย่างพร้อมเพียง สู่ความสำเร็จในการจัดการขยะได้ในที่สุด โดยในแต่ละปี สวีเดนต้องใช้ขยะมากถึง 2 ล้านตันในการผลิตกระแสไฟฟ้า และแน่นอนว่าจากขยะที่เหลือน้อยนิด ทำให้สวีเดนต้องนำเข้าขยะจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างนอร์เวย์ และหลายๆ ประเทศในแถบยุโรปกว่า 8 แสนตันต่อปี เพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยทุกวันนี้ มีปริมาณขยะเหลือใช้และนำไปถมที่ได้เพียง 4% เท่านั้น เมื่อเทียบกับอเมริกาที่มีขยะเหลือใช้กว่า 63%

“คามิคัทสึ” ต้นแบบเมืองบ้านปลอดขยะ 

ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในเรื่องความสะอาด แต่ใครจะรู้ว่า ญี่ปุ่นในอดีตเมื่อปี 1964 เคยเป็นเมืองที่ไร้ระเบียบมาก่อน ท้องฟ้าถูกปกคลุมด้วยควันสีดำจากโรงงาน และพื้นถนนที่เต็มไปด้วยขยะ ก่อนการแข่งขันโอลิมปิกเพียง 1 เดือน มีแคมเปญแจกจ่ายถังขยะไปทั่วเมืองและนั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นเมืองที่น่าอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับเมืองต้นแบบ “คามิคัทสึ” เมืองเล็กๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น แนวคิด Zero Waste ถูกริเริ่มนำมาใช้ในปี 2003 จากความไม่เป็นระบบระเบียบในการจัดการขยะภายในชุมชน จึงได้มีการรณรงค์คัดแยกขยะภายในครัวเรือน ซึ่งในช่วงแรก สิ่งที่ยากที่สุด คือ การปรับทัศนคติของประชาชนกว่า 1,500 คน ให้มีการตระหนักรู้ และเกิดการปฏิบัติ เพราะที่นี่เขามีการแยกขยะกว่า 45 ชนิดเลยทีเดียว พร้อมกับมีการจัดตั้งสถานีแยกขยะไว้ในชุมชนอีกด้วย โดยมีการตั้งเป้าให้เมืองเล็กๆ แห่งนี้ เดินหน้าสู่เมืองปลอดขยะ หรือ Zero Waste ภายในปี 2020 ที่จะถึงนี้

แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะล่าสุด คามิมัทสึ สามารถจัดการกับขยะได้กว่า 80% ด้วยการรีไซเคิล ทำปุ๋ย และนำกลับมาใช้ซ้ำ โดยที่เหลืออีก 20% ถูกนำไปฝังกลบ สามารถลดต้นทุนในการจัดการขยะลงมาเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น นอกจากนี้ เมืองคามิมัทสึ ยังได้เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อนำไปพัฒนาชุมชนของตนเองต่อไป

“ฝรั่งเศส” ห้ามซูเปอร์มาร์เก็ตทิ้งเศษอาหาร

ด้านฝรั่งเศสนับเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเรื่องของ Food Waste และถือเป็นประเทศแรกของโลกที่มีวิธีจัดการกับอาหารเหลือๆ ได้อย่างมีประสิทธิและได้ประโยชน์มากที่สุด โดยทางรัฐบาลได้ออกกฎหมายห้ามซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ทิ้งเศษอาหารโดยเด็ดขาด เพราะหากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงถึง 4,500 เหรียญ

แล้วจะทำอย่างไร กับอาหารที่เหลือๆ กันล่ะ! เมื่อมีกฎหมายห้ามทิ้งเศษอาหาร บรรดาห้างใหญ่ๆ กว่า 9,000 แห่งทั่วประเทศ จึงจับมือเป็นพันธมิตรกับมูลนิธิต่างๆ กว่า 5,000 แห่ง เพื่อบริจาคอาหารก่อนวันหมดอายุ อาทิ โยเกิร์ต พิซซ่า ผลไม้ นม และชีส นำไปแจกจ่ายแก่คนยากไร้ โดยจะมีอาสาสมัคร 12,500 คน ทำหน้าที่นำอาหารดังกล่าวไปส่งมอบ นอกจากนี้ ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับ Food Sustainability แก่นักเรียนนักศึกษา และบรรดาบริษัทห้างร้านต่างๆ ต้องรายงานการทิ้งเศษอาหารในรายงานสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงผู้ประกอบการร้านอาหารต้องเตรียมถุงให้ลูกค้าห่ออาหารเหลือๆ กลับบ้านไปด้วย

ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ปัจจุบัน ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศที่สามารถจัดการกับเศษอาหาร หรือ Food Waste ได้อย่างมีประสิทธิภาพแห่งหนึ่งของโลกเลยทีเดียว

นอกจากนี้ แบรนด์กาแฟชื่อดังอย่างสตาร์บัคส์ ก็เดินหน้าสู่การจัดการขยะอีกราย โดยออกมาตรการยกเลิกการใช้หลอดพลาสติก ตั้งเป้าใช้มาตรการดังกล่าวให้ครบทั้ง 28,000 สาขาทั่วโลก ในปี 2020 คาดจะสามารถลดการใช้หลอดได้ถึง 1,000 ล้านหลอดต่อปี พร้อมออกแบบฝาปิดแก้วแบบใหม่ ให้สามารถดื่มได้ถนัดขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งหลอดอีกด้วย

ดูท่าในปี 2020 เราจะได้เห็นความสำเร็จของการเดินหน้าสู่สังคมปลอดขยะ Zero Waste ในหลายๆ ประเทศ รวมถึงแบรนด์ใหญ่ๆ ที่ตั้งเป้าผลักดันนโยบายนี้เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจ รวมไปถึงยกระดับสังคม เดินหน้าสู่สังคมคุณภาพต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไร ก็สามารถช่วยสร้างสรรค์โลกที่ยั่งยืนในอนาคตได้  หากยังไม่จุใจมาพบกับกรณีศึกษาองค์ความรู้ต่างๆ ทั้ง Zero Waste , Circular Economy และอื่นๆ   รวมไปถึงนวัตกรรมเทคโนโลยี ด้าน Sustainable Development  จากองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ  ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายในงาน Global Business Dialogue 2018 : Innovating for Sustainable Future ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 2-3 ตุลาคม 2561 ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ

ไฮไลท์  :

-สัมมนา Technologies that Harness Local Wisdom โดยผู้บริหารจาก LINE Thailand, Coca-Cola Thailand & Laos

-“Innovating for a Sustainable World” : โดย Professor Jeffrey D. Sachs Director of the Center for Sustainable Development, Columbia University and Director of the UN Sustainable Development Solutions Network

– A Life-Changing Experience : กรณีศึกษาจากการใช้พลังงานทดแทนจาก จังหวัดเชียงราย โดยคุณบัญญัติ จอมใจและ คุณสมศักดิ์ ดอนชัย และกรณีศึกษาจาก ทวีปแอฟริกา  Ms. Irena Bakic, Project Lead, CodeBus Africa,Project Researcher, Aalto University

-“Circular Economy : Turning Waste into Value” : เกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการเปลี่ยนสิ่งของเหลือใช้เป็นสินค้ามูลค่าสูง โดย Mr. Aloke Lohia เจ้าของ Indorama Venture PLC.

Global Business Dialogue 2018 : Innovating for Sustainable Future  วันที่ 2-3 ตุลาคม 2561 ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2nKvZX7 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม (เกี่ยวกับงาน) ได้ที่ คุณภควดี ตุ้ยกำเหนิด Email:  pakkawadee@tma.or.th  Tel. 02-319-7677 #273


แชร์ :

You may also like