HomeBrand Move !!7 เรื่องที่คนไทยต้องรู้! เมื่อ AIS คว้าคลื่น 1800 MHz เพิ่ม

7 เรื่องที่คนไทยต้องรู้! เมื่อ AIS คว้าคลื่น 1800 MHz เพิ่ม

แชร์ :

หลังเอไอเอสประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ด้วยสนนราคารวม 12,511 ล้านบาท เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา นับเป็นอีกครั้งสำคัญที่ธุรกิจสื่อสารตื่นตัวอย่างมาก เพราะการเปลี่ยนมือผู้ถือครองคลื่นครั้งนี้ จะทำให้สถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจโทรคมนาคมเปลี่ยนไปทันที โดยคลื่นที่เอไอเอสได้เพิ่มมาจำนวน 10 MHz (5 MHz x 2) จะมาเสริมความแข็งแกร่งให้กับเครือข่าย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของตนเองได้อย่างไรบ้าง วันนี้ Brand Buffet จะไขความกระจ่าง และบอกเล่าถึง 7 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของเอไอเอส ดังนี้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1. การันตีคุณภาพ 4G ของ AIS คลื่นมากสุด ก็ดีสุด

สิ่งที่เราทราบกันดีคือวันนี้ 4G เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลพื้นฐานที่คนไทยทั่วประเทศใช้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า เครือข่าย 4G ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ค่ายมือถือในไทยให้บริการบนคลื่น 1800 MHz เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อเอไอเอสได้คลื่น 1800 MHz เพิ่มขึ้นมาอีก 10 MHz (5 MHz x 2) ทำให้ขึ้นแท่นเป็นค่ายมือถือที่มีคลื่น 1800 MHz จำนวน 40 MHz (20 MHz x 2) มากที่สุดในอุตสาหกรรมทันที และการันตีได้ว่าสามารถให้บริการ 4G ที่ดีที่สุด ด้วยแบนด์วิธที่กว้างที่สุด สามารถรองรับลูกค้าได้มากที่สุดนั่นเอง

2. พิเศษ และแตกต่าง ด้วยคลื่น 1800 MHz ที่ติดกัน 

ถ้าถามว่าทำไมเอไอเอส จึงประมูลคลื่นเพิ่ม เพราะเดิมก็ให้บริการ 4G ได้ครอบคลุม และเข้าถึงลูกค้าทั่วทั้งประเทศอยู่แล้ว งานนี้เอไอเอสเผยว่า ปกติแล้วเทคโนโลยี LTE (4G) ถ้าจะมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น 1 บล็อก จะมีความยาวคลื่น 40 MHz (20 MHz x 2)  เดิมเอไอเอสมีอยู่ 30 MHz (15 MHz x 2) และประมูลครั้งนี้ก็ได้ช่วงคลื่นที่ติดกับของเดิมเพิ่มมาอีก 10 MHz (5 MHz x 2) จึงเกิดเป็นมิติใหม่ของการให้บริการเครือข่ายในประเทศไทย ดังนั้นเอไอเอส จึงเป็นเพียงรายเดียวที่มีคลื่น 1800MHz ยาวต่อเนื่องกันเต็มบล็อก ที่เรียกว่า Super Block

3. ช่วงคลื่น Super Blockติดสปีด 4G ทั่วไทย

คำถามที่ว่าแล้วเราในฐานะผู้บริโภคจะได้อะไรจาก Super Block? บอกได้เลยว่าลูกค้ามีแต่ได้ กับได้ เพราะการลงทุนของเอไอเอสครั้งนี้ จะทำให้ลูกค้าที่ใช้ 4G ทั่วประเทศ ได้ความเร็วเพิ่มขึ้น 15-30% โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่ม ที่สำคัญคืออัปสปีดเน็ตให้เลยบนมือถือเครื่องเดิม ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไฮเอนด์ รุ่นท็อป ไปจนถึงหลักราคาพันต้นๆ เรียกว่าถ้าใช้ 4G ได้ ก็เตรียมสัมผัสความเร็วใหม่พร้อมกันทั่วประเทศ เร็วๆ นี้

4. แรงต่อไม่รอแล้วนะ ได้คลื่นปุ๊บ ก็พร้อมให้บริการ 77 จังหวัดปั๊บ

ข้อดีของการประมูลคลื่น 1800 MHz ของเอไอเอสครั้งนี้ คือ เมื่อคลื่นใหม่เป็นย่านความถี่ชนิดเดียวกับที่มีอยู่แล้ว ทำให้เอไอเอสสามารถให้บริการได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้งสถานีฐาน หรืออุปกรณ์เพิ่ม ปัจจุบันเอไอเอสมีสถานีฐาน 4G มากที่สุดในประเทศ กว่า 75,000 แห่ง ด้วยสัญญาณที่ครอบคลุมทั่วไทยกว่า 98 %โดยหลังจากที่ค่ายเก่าหมดอายุสัมปทาน เอไอเอสก็พร้อมให้บริการทันที

5. ลงทุนคลื่นใหม่ มัดใจลูกค้าเดิม พร้อมอ้าแขนรับลูกค้าใหม่

งานนี้ลูกค้าเอไอเอสทั่วประเทศ ยืดอกได้เลยว่า คุณกำลังใช้เครือข่าย 4G ที่ดีที่สุดอยู่ จากการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ใหม่ เมื่อมาผนวกกับคลื่นความถี่เดิม จะสร้างประสบการณ์การใช้งาน 4G ของผู้บริโภคให้ลื่นไหล และรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น และยังพร้อมรองรับพฤติกรรมการใช้งานดาต้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ถือว่าเป็นการให้ความสำคัญกับ “คุณภาพการให้บริการลูกค้า” มาเป็นอันดับ 1  ทำให้สามารถสร้างความเชื่อมั่น และรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้ได้

ในขณะเดียวกัน เมื่อคลื่นที่เพิ่มมาทำให้ความสามารถในการรองรับการใช้งาน (Capacity)เพิ่มขึ้นอีก 33% เท่ากับว่าเร็วขึ้น แรงขึ้น คล่องขึ้น เป็นโอกาสอันดีที่จะเชิญชวนให้ลูกค้าหน้าใหม่เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเอไอเอสได้แบบ Effective สุดๆ

6.นับรวมแล้ว เอไอเอสมีคลื่นมากที่สุดในอุตสาหกรรม! ถึง 120 MHz

การประมูลคลื่นครั้งนี้ยังทำให้สถานการณ์การถือครองคลื่นความถี่โดยรวมเปลี่ยนไป โดยเอไอเอส ขึ้นมาเป็นผู้ที่มีคลื่นในการให้บริการลูกค้ามากที่สุด ถึง 120 MHz (60MHz x 2) ตามมาด้วยทรู 110 MHz(55 MHz x 2) และดีแทค 100 MHz (50 MHz x 2) ซึ่งการให้บริการเครือข่าย สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคลื่นความถี่จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่าเครือข่ายพร้อมรองรับผู้ใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าใครมีคลื่นในมือมากกว่า ก็เท่ากับว่าชนะตั้งแต่เริ่ม

7. ไม่เคยหยุดลงทุน สร้างเครือข่ายดิจิทัลเพื่อคนไทย

ตั้งแต่ธุรกิจโทรคมนาคมบ้านเรา เปลี่ยนการให้บริการคลื่นความถี่จากเดิมในระบบสัมปทาน มาเป็นการประมูลใบอนุญาต งานนี้ทำให้เห็นกันแบบชัดๆ เลยว่า ถ้าจะต้องลงทุนควักเงิน ใครพร้อมที่จะให้ประเทศ และลูกค้าได้มากน้อยขนาดไหน ซึ่งเอไอเอสถือเป็นค่ายเดียวที่ไม่เคยหยุดพัฒนาเครือข่ายต่อเนื่อง นับเฉพาะเม็ดเงินลงทุนประมูลคลื่นความถี่จาก กสทช.  ในระหว่างปี 2012-2018 เอไอเอสได้ประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่คิดเป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 144,000 ล้านบาท และได้ลงทุนในโครงข่ายเพื่อให้บริการลูกค้าทั้ง 4G/3G ไปแล้วกว่า 200,000 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกัน

  • ปี 2012 ประมูลคลื่น 2100 MHz จำนวน 30MHz (15 MHz x2) มูลค่า 14,625 ล้านบาท
  • ปี 2015 ประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 30MHz (15 MHz x2) มูลค่า 40,987 ล้านบาท
  • ปี 2016 ประมูลคลื่น 900 MHz   จำนวน 20MHz (10 MHz x2) มูลค่า 75,654 ล้านบาท
  • ปี 2018 ลงนามสัญญากกับ TOT เป็นพันธมิตรใช้คลื่นความถี่ 2100 MHz จำนวน 30MHz (15 MHz x2) ซึ่งมีการชำระค่าโรมมิ่งคลื่นตามสัญญาข้อตกลง
  • ปี 2018 ประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 10 MHz (5 MHz x2) มูลค่า 12,511 ล้านบาท

แชร์ :

You may also like