เมื่อ Digital และ Technology เป็นตัวเร่งทำให้โลกใบนี้หมุนเร็วและเปลี่ยนแปลงไวขึ้น แล้วภาคธุรกิจต่างๆ จะต้องปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอดกับ คลื่น Disruption เหล่านี้ ? รวมไปถึงคลื่นพายุต่างๆ อีกมากมายที่กำลังเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
คำถามเหล่านี้ ล้วนกระตุกต่อมความเป็น “ผู้นำ” ขององค์กรให้มองหาทางรอดให้กับธุรกิจ เพราะทุกวันนี้เพียงแค่ หลักการ วิธีการ กลยุทธ์ทางการตลาด อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป
คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า “จากการทำงานร่วมกับ CEO หรือผู้บริหารระดับสูงของหลายองค์กร ทำให้เห็นว่า หลายองค์กรทยอยปรับตัวตามสถานการณ์ แต่อีกหลายองค์กรก็ยังคงจับจุดไม่ได้ว่า จะต้องเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงอย่างไร? และเมื่อตั้งคำถามเจาะลึกลงไปจะพบว่า เหตุที่ทำให้หลายองค์กรยังเริ่มต้นไม่ได้ หรือเดินผิดทาง เพราะยัง “ติดกับดักตัวเอง” ยึดติดความสำเร็จหรือแนวทางเดิมๆ จนไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที”
ตีแผ่ 3 ความเสี่ยงทำโลก (ธุรกิจ) วิกฤติ
อริญญายังเผยถึง 3 ปัจจัยความเสี่ยงที่น่าสนใจ ซึ่งยังมีหลายองค์กรที่ยังคงยึดติดกับความเชื่อเดิมๆ จนทำให้ธุรกิจตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างคาดไม่ถึง
- ความเสี่ยงแรก “Fast-Moving World” เราต้องยอมรับให้ได้ว่า “โลกหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง แต่โลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ วินาที” ในประเด็นนี้ ชี้ให้เห็นว่า ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงไม่ได้มีช่วงเวลาให้ตั้งหลักเหมือนโลกยุคก่อน องค์กรต้องพร้อมและตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญผู้นำและบุคลากรในองค์กรต้องไม่ชะล่าใจ ต้องเร่งแก้ไข และ Reskill เพื่อพลิกเกมธุรกิจให้ทันท่วงที
- ความเสี่ยงประการที่สอง “ย่ำอยู่กับที่ มีแต่จะพาล่มจม” ต้องเข้าใจและตระหนักรู้ให้ได้ว่า สมรภูมิธุรกิจในยุค Disruption มีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ การติดกับความคิดหรือความสำเร็จเดิมไม่ใช่เส้นทางแห่งความยั่งยืนทางธุรกิจ เพราะฉะนั้นผู้นำองค์กรจะต้องสามารถหาคำตอบได้เมื่อเจอกับความท้าทายใหม่ๆ หรือแม้แต่กระทั่งการแก้ไขปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งผู้นำที่ดีจะต้องแสดงศักยภาพในการออกแบบคำตอบใหม่ๆ ได้
- ความเสี่ยงประการที่สาม หยุดหลอกตัวเองว่าเปลี่ยนทันยุค Disruption หากการเปลี่ยนนั้นทำแค่ฉาบฉวย การเปลี่ยนทันยุค Disruption ที่แท้จริงไม่ใช่ปรับแค่ทีละ 1 องศา แต่องค์กรนั้นต้องเปลี่ยนทั้ง 360 องศา นั่นคือปรับกระบวนทัพใหม่หมด ทั้งองค์กร บุคลากร และวิธีคิด โดยต้องคิดอยู่เสมอว่า แม้องค์กรเราจะวิ่งได้เร็วหรือปรับตัวทันแล้ว แต่ก็มีองค์กรอื่นที่จะวิ่งตามได้ทันอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเราต้องเร่งสร้างความก้าวล้ำแบบ Stay ahead of the game
“ภาษาใหม่” คือทางออกที่ “ผู้นำ” องค์กรต้องรู้
ในโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ปัจจัยต่างๆ เกี่ยวเนื่องกันมากขึ้น หากอยากจะรั้งตำแหน่งผู้นำในธุรกิจ หรือการมีตัวตนอยู่รอดในโลกธุรกิจนั้น ไม่ใช่แค่รู้ว่าคู่แข่งคือใคร ส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่เท่าไหร่ เทรนด์โลกหรือเทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไปทางไหนเท่านั้น แต่ต้องตระหนักรู้อยู่เสมอว่า โลกเปลี่ยนทุกวินาที เราจะต้องหาวิธี หาแนวทางใหม่ๆ ซึ่งสิ่งสำคัญกว่าความไว คือ ต้องเข้าใจ “ภาษาใหม่” ที่พร้อมสยบคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าใส่ธุรกิจในยุค Disruption สิ่งนั้นก็คือ “THE NEW LANGUAGE OF LEADERSHIP” ที่ไม่ใช่เรื่องของเครื่องมือทางการตลาดหรือการขาย หากแต่เป็นแนวทางความคิดหรือทัศนคติของผู้นำองค์กรในรูปแบบของ How-to ที่ได้รับการพิสูจน์จากผู้นำองค์กรระดับโลกแล้วว่านำมาใช้ได้เห็นผลจริง ด้วยคีย์เวิร์ดที่สำคัญที่สุดคือ “Ability to understand” หรือ “ความเข้าใจ” แบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกอย่างถ่องแท้ และมี “Ability to speak” หรือความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการทำความเข้าใจสื่อออกไป ซึ่งทั้ง 2 คีย์เวิร์ดนี้สามารถเปลี่ยนองค์กรที่กำลังเผชิญปัญหา พลิกองค์กรสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดและความก้าวล้ำแบบ Stay ahead of the game ได้
คัมภีร์รอดของผู้นำ
หนึ่งบทพิสูจน์ของการใช้ “ภาษาใหม่” ที่เห็นเป็นรูปธรรมในระดับโลก จากผลงานของ ไมเคิล เวนทูร่า ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท ซับ โรซ่า (Sub Rosa) ที่ปรึกษาด้านการสร้างและบริหาร แบรนด์ให้กับธุรกิจและองค์กรชั้นนำของโลก จนเป็นบทพิสูจน์ที่ได้รับการยอมรับ โดยล่าสุด เขาได้รวบรวมประสบการณ์ในการสร้างและบริหารแบรนด์ให้กับองค์กรระดับโลก ที่ใช้ “ภาษาใหม่” เป็นอาวุธสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน สู่คัมภีร์ใหม่ของ “ผู้นำ” กับ หนังสือ “Applied Empathy: The New Language of Leadership” หรือ “ภาษาใหม่ของการเป็นผู้นำ” ที่จะเข้ามาทลายกำแพงเหล็กที่กั้นความคิดของผู้นำให้รู้ทันความเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและสถานการณ์โลกในยุค Disruption ด้วยคำว่า “การเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น” (Empathy) คือ การเข้าใจที่เข้าถึงความหมายที่ลูกค้าต้องการสื่อสารอย่างแท้จริง การมองโลกผ่านเลนส์ของคนอื่น เพื่อทำให้เราเข้าใจคนอื่น เข้าใจสถานการณ์และเป็นผู้นำที่ดีขึ้น และทำให้ “ปัญหาที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทีมงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดความคล่องตัว และอิสระในการเปลี่ยนแปลงองค์กรได้เร็วขึ้น” เป็นคัมภีร์ของการสร้างรากฐานการเป็นผู้นำและการตอบสนองต่อการสื่อสารกับคนในองค์กรและลูกค้า โดยเน้นเรื่องการยอมรับและเข้าใจมุมมองคนอื่น ฟังผู้อื่นมากขึ้นกว่าตัวเอง ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสาร และการปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกันทั้งองค์กร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ปลายทาง คือ ความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร
“ภาษาใหม่” ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จระดับโลก
ตัวอย่างองค์กรชั้นนำระดับโลกที่สะท้อนให้เห็นถึงบทพิสูจน์แห่งความสำเร็จของ “ภาษาใหม่” อย่าง “THE NEW LANGUAGE OF LEADERSHIP” ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ ภายใต้มุมมองอันเฉียบแหลมของ ไมเคิล เวนทูร่า อาทิ
- Delta Airlines – เดลต้า แอร์ไลน์ ที่ปรับภาพของการเป็นสปอนเซอร์ขององค์กรด้วยสะท้อนเสียงจากพนักงานภายในสู่ประชาชนภายนอก ซึ่งเดลต้าได้จัดทำรายการพิเศษในรูปแบบวิดีโอคอนเทนต์ร่วมกับ TED.com ที่สอดคล้องกับความมุ่งมั่นขององค์กรไว้ฉายบนเครื่องบิน อีกทั้งยังจัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ เพื่อให้เดลต้ามีภาพลักษณ์ของการเป็นแบรนด์ของคนฉลาดหรือคนรุ่นใหม่
- NIKE – ไนกี้ การนำเสนอรองเท้าวิ่งในตระกูล “Hyperfeel” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มนักวิ่งอาชีพเท่านั้น หากแต่สามารถนำไปใส่ออกกำลัง วิ่ง เล่นเวท ฯลฯ ไมเคิลจึงได้แนะนำให้ไนกี้จัดกิจกรรมพิเศษบนพื้นที่ ที่ออกแบบเป็นเขาวงกต โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนต้องถอดรองเท้าและสวมชุดหูฟัง เพื่อให้ระบบตรวจสอบคลื่นสมองที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันไปในภาวะต่างๆ และเก็บข้อมูลในรูปแบบเรียลไทม์ ซึ่งนอกจากไนกี้จะสามารถสร้างประสบการณ์ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของรองเท้ารุ่นนี้ที่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยี
- The White House – เดอะ ไวท์ เฮาส์ นอกจากผลงานกับภาคเอกชนแล้ว ไมเคิล เวนทูร่า ยังได้สร้างผลงานให้กับทำเนียบขาวของสหรัฐอเมริกา กับการสร้างแรงกระเพื่อมให้กับแคมเปญด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ที่ริเริ่มโดย อดีตประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า อย่าง “Every Kid in a Park” ที่เปิดโอกาสให้เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าชมและเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ป่าและแหล่งน้ำของรัฐบาล เพื่อเป็นการจุดชนวนความหลงใหลในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และเพื่ออนุรักษ์สถานที่สำคัญเหล่านี้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายโดยตรง คือ เด็ก หากแต่ไมเคิลมองเห็นว่า เรื่องราวเหล่านี้จะสร้าง impact ได้มากกว่านั้น ต้องขยายการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมไปยังกลุ่มบุคลากรด้านการศึกษา ครอบครัวของเยาวชน อีกด้วย โดยจัดทำระบบข้อมูล กลยุทธ์การรณรงค์ การทำเว็บไซต์ใหม่ รวมถึงวิดีโอในรูปแบบ VR ที่ดำเนินเรื่องโดยมีสตรีหมายเลขหนึ่ง “มิเชล โอบาม่า”
- เจเนอรัล อิเล็กทริก (GE) จากการเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิตระดับโลก (World’s biggest manufacturing company) สู่การเพิ่มบทบาทในฐานะผู้เล่นในสนามของนวัตกรรมและสร้างสรรค์กลุ่มคนที่มีศักยภาพใหม่ๆ (Innovations and Talent Recruitment) โดย GE มองเห็นพลวัตของกลุ่มเมกเกอร์ (Maker) โดยได้จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เจาะกลุ่มไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ อาทิ กิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน กิจกรรมชุมนุมทางความคิด การทำ Collaboration ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ มุมมอง ความคิด และไอเดีย ระหว่างกันแล้ว ยังเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้รู้จักและใกล้ชิดกับ GE มากยิ่งขึ้น
แล้วองค์กรไทย จะไปได้ไกลแค่ไหน?
การที่องค์กรไทยจะสามารถไปไกลได้เท่ากับ 3 แบรนด์ข้างต้นหรือไม่ อยู่ที่การเปิดใจ และรู้จักนำ “ภาษาใหม่” มาเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน
เตรียมพบกับ ปรากฏการณ์ครั้งใหม่ ที่จะติดอาวุธให้กับองค์กรของไทย ให้สามารถยืนหยัดทางธุรกิจและใช้ชีวิตให้รอดในสมรภูมิ Disruption ครั้งแรกกับการเปิดเผยเรื่องราวของ “ภาษาใหม่” และการปรากฏตัวอย่างเป็นทางการของ ไมเคิล เวนทูร่า ในประเทศไทย ในงาน “The New Language of Leadership” ซึ่งจัดโดย SEAC วันจันทร์ที่ 24 กันยายนนี้ ณ ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง (SEAC) อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center) ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.seasiacenter.com/thenewlanguageofleadership/