ธนาคารกรุงไทยเปิดตัวแอป “กรุงไทย NEXT” ภายใต้แนวคิด “ชีวิตครบ แอปเดียวอยู่” ที่ต่อยอดจาก KTB netbank ดิจิทัลโมบายแบงกิ้งที่เปิดให้บริการมาก่อนหน้า และมีฐานผู้ใช้งานเดิมกว่า 5 ล้านคน โดยเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้นจากความครอบคลุมและการมีเครือข่ายการทำธุรกรรมทางเงินที่ครอบคลุมมากที่สุด จากจุดแข็งในฐานะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่เป็นหนี่งกลไกในการขับเคลื่อนโยบายและช่วยผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0 เพื่อนำพาประเทศเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัลและรับมือกับ Global Digital Disruption
คุณผยง ศรีวินิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ให้ข้อมูลว่า “กรุงไทย NEXT” พัฒนาขึ้นอย่างสอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยเฉพาะแนวโน้มการเติบโตของโลกดิจิทัลที่ตอนนี้คนไทยมากกว่า 57 ล้านคนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ขณะที่มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วประเทศกว่า 56 ล้านคน หรือกว่า 80% ของคนทั้งประเทศ รวมทั้งการเรียนรู้การใช้งาน Mobile Banking ของคนไทยที่ตอนนี้เติบโตขึ้นถึง 37.6 ล้านบัญชี หรือหากพิจารณาเป็นจำนวนผู้ใช้งานจะมีราวๆ 31 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นราวๆ 56%
“แม้จะเห็นการเติบโตโมบายแบงก์กิ้งทั้งจำนวนผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้งที่มากขึ้น รวมทั้งการเข้ามามีบทบาทต่อพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตของผู้คนมากขึ้น แต่ยังมีประชากรไทยอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking โดยเฉพาะคนในต่างจังหวัด ซึ่งเหตุผลหนึ่งคือ ไม่เข้าใจเทคโนโลยี มองว่าใช้ยาก ไม่เข้าใจวิธีการสมัคร จึงทำให้ไม่กล้าใช้งาน และอีกเหตุผลสำคัญคือการทำธุรกรรมการจ่ายเงินบน Mobile Banking ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมในทุกช่องทาง ทั้งการชำระค่าบริการไปยังองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ ยังคงใช้บริการ โอน – เติม – จ่าย ผ่านสาขาธนาคาร และตู้เอทีเอ็มเป็นจำนวนมากอยู่”
ธนาคารกรุงไทยในฐานะที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนของประเทศไทย จึงมุ่งมั่นในการยกระดับความเป็นอยู่และพฤติกรรมการทำธุรกรรมของผู้บริโภคทั่วทุกภูมิภาคให้สะดวกสบาย ผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐที่ต้องการวางโครงสร้างพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และขับเคลื่อนสังคมไทยทุกภาคส่วนสู่สังคมไร้เงินสด จึงได้ประกาศยุทธศาสตร์ดิจิทัลสู่การเป็นธนาคารแรกในประเทศไทยที่จะก้าวสู่ Invisible Banking ด้วยการเสนอบริการและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการใน 5 Ecosystem อันเป็นเป้าหมายหลักของธนาคาร ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ (Government) กลุ่มการชำระเงิน (Payment) กลุ่มด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล (Health and Medical) กลุ่มมหาวิทยาลัย โรงเรียน นักศึกษาและนักเรียน (University and Education) และระบบขนส่ง (Mass Transit) รวมทั้งการมีเครือข่ายบริการที่มากที่สุดของธุรกิจธนาคาร ทั้งจากจำนวนบัญชีที่มีมากว่า 30 ล้านบัญชี การเป็นผู้ให้บริการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน11.4 ล้านบัตร เจ้าของเครื่องรับชำระ EDC 3 หมื่นเครื่อง รวมทั้งควาสามารถในการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศได้มากกว่า 800 อำเภอ มากกว่า 7 พันตำบลทั่วทั้งประเทศ
จ่ายได้มากสุด ทั้งของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน
การพัฒนาของแอปพลิเคชั่น “กรุงไทย NEXT” จะช่วยตอบโจทย์ความกังวลของ User ผ่าน 3 ปัจจัยต่อไปนี้ คือ 1. Platform ใหม่ เป็นแบบ Micro Service ส่งผลให้การทำงานของแอปรวดเร็วขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น ไม่ซับซ้อน 2. Product มีความปลอดภัยและเสถียรมากขึ้น 3. Process ในการจ่ายค่าบริการที่ครอบคลุมที่สุด โดยกรุงไทย NEXT โฉมใหม่นี้มีศักยภาพดีกว่าเดิมในทุกมิติ เพราะมีการปรับเปลี่ยนระบบใหม่ทั้งหมด ทั้ง Backend และ Frontend เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการทำธุรกรรมยิ่งกว่าเคย พร้อมปรับโฉม User Interface ให้ใช้งานง่าย ลดขั้นตอนการใช้งาน โดยดึงฟังก์ชั่นโอน เติม จ่าย ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ผู้บริโภคนิยมใช้มาไว้ที่หน้าแรก ให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
ฟีเจอร์หลักบนแบงก์กิ้งยังคังเป็นเรื่องของการโอน – เติม- จ่าน โดยในส่วนของ โอนเงิน จะเน้นความง่าย สะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าธรรมเนียม ไม่ว่าจะโอนข้ามเขตหรือโอนต่างธนาคาร พร้อมยกระดับความปลอดภัยมั่นใจทุกครั้งที่โอน ส่วน เติมเงิน ผู้ใช้สามารถเติมเงินค่าโทรศัพท์เอไอเอส, ทรู, ดีแทค, My By CAT, Easy Pass และ M-PASS
ที่สำคัญแอปพลิเคชั่นนี้นับว่ามีฟีเจอร์ จ่ายเงิน ที่มีเน็ตเวิร์คครอบคลุมมากที่สุดในประเทศมากกว่า 1 พันราย ทั้งที่เป็นช่องทางของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน อาทิ ค่าไฟ ทั้งของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าภูมิภาค ค่าน้ำ ทั้งการประปานครหลวงและการประปาภูมิภาค (การไฟฟ้าภูมิภาคและการประปาภูมิภาคจ่ายได้ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้) ค่าบริการโทรศัพท์มือถือทุกค่าย การชำระหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) รวมทั้งสมารถชำระค่าใช้จ่าย หรือค่าปรับต่างๆ ที่ต้องจ่ายให้หน่วยงานรัฐ เช่น จราจร กรมขนส่ง กรมธนารักษ์ กรมสรรพสามิต กสท โทรคมนาคม และบริการอื่นๆ อีกมากมาย
“การที่ผู้ใช้สามารถจ่ายค่าปรับต่างๆ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐผ่านแอปกรุงไทย NEXT ได้ นอกจากจะเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้ที่ไม่ต้องเดินทางไปเสียค่าปรับตาสถานที่ราชการ ไม่ว่าจะเป็นสถานีตำรวจ หรือที่อื่นๆ ในอีกทางหนึ่งยังช่วยไม่ให้รายได้ของรัฐรั่วไหล และลดความกังวลว่าค่าปรับต่างๆ จะไม่เข้าระบบจริงอีกด้วย”
สำหรับสายบุญหรือคนชอบบริจาค กรุงไทย NEXT ยังมีฟีเจอร์เด่นอย่าง e-Donation “กรุงไทย เติมบุญ” ที่ผู้ใช้งานสามารถบริจาคเงินได้สะดวกและปลอดภัย ให้กับหน่วยงานรับบริจาคมากที่สุด ครอบคลุมวัด โรงพยาบาล มูลนิธิ สถานศึกษา มัสยิด และองค์กรสาธารณกุศล กว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม พร้อมรับใบอนุโมทนาบุญอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที พร้อมส่งข้อมูลการบริจาคให้กรมสรรพากรสำหรับการลดหย่อนภาษีอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์พิเศษที่รับซื้อ-จองสลากกินแบ่งรัฐบาลล่วงหน้า สำหรับผู้มีสิทธิซื้อ-จองสลาก ประหยัดเวลาไม่ต้องไปต่อคิวที่ตู้เอทีเอ็มอีกต่อไป รวมทั้งฟีเจอร์ Money Connect by Krungthai บริการรับจองซื้อหลักทรัพย์ออนไลน์ เพิ่มโอกาสในการลงทุน ด้วยตัวเองง่ายๆ รวมทั้งสามารถซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด พร้อมรับใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท โดยข้อมูลจะถูกส่งไปที่กรมสรรพกรอัตโนมัติทันที
รวมทั้งยังมี Krungthai Travel Card ฟีเจอร์แรกและฟีเจอร์เดียวที่ลูกค้าสามารถแลกเงินตราต่างประเทศเพื่อเก็บไว้ก่อนการเดินทางในอัตราที่พิเศษกว่าในท้องตลาดได้ถึง 10 สกุลเงิน ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ปอนด์ เงินเยน ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และฟรังก์สวิส ให้นักท่องเที่ยวสะดวกสบาย ไม่ต้องพกเงินสดเป็นจำนวนมากขณะเดินทางไปต่างประเทศ ลดความเสี่ยงในการถูกโจรกรรม พร้อมดูอัตราแลกเปลี่ยนและแลกเงินเพิ่มเติมได้ง่ายๆ ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อกลับประเทศไทย สามารถแลกเป็นเงินไทยกลับมาในอัตราที่ดี ไม่มีทั้งค่าธรรมเนียมแลกเงินและค่าธรรมเนียมรูดบัตรอีกด้วย
“กรุงไทย NEXT ใช้งบในการพัฒนาราว 3 พันล้านบาท ทั้งการพัฒนาฟีเจอร์ และการออกแบบแอปให้ตอบโจทย์การใช้งานของ Users รวมทั้งการยกระดับความสามารถในการรองรับการเข้ามาใช้งานภายในแอป (Capacity) ได้มากกว่าเดิมถึง 5 เท่า หรือรองรับได้มากกว่า 25,000 Transactionต่อวินาที และการเข้ามาใช้งานของ Users ประมาณ 1 แสนคนต่อนาที พร้อมทั้งเพิ่มการรับรู้และกระตุ้นให้คนเข้ามาใช้งานเพิ่มมากขึ้นด้วยการเปิดตัว พรีเซ็นเตอร์คนใหม่อย่าง ณดชน์ คูกิมิยะ ที่สามารถสื่อสารกับคนไทยได้ในวงกว้าง โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้งานแอปใหม่นี้ราว 3 ล้านคน ทั้งจากการที่ผู้ใช้งาน KTB Netbank บางส่วนที่ย้ายเข้ามาใช้งานในแอปนี้ เพื่อต้องการบริการที่ยกระดับมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการหาลูกค้าใหม่เพิ่มเติม รวมทั้งจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานแตะ 10 ล้านคนได้ภายในสิ้นปีหน้า”