HomeBrand Move !!Starbucks สาขาแรกที่ใช้ ‘ภาษามือ’ สำหรับผู้บกพร่องการได้ยิน ใน Washington DC

Starbucks สาขาแรกที่ใช้ ‘ภาษามือ’ สำหรับผู้บกพร่องการได้ยิน ใน Washington DC

แชร์ :

Starbucks เปิดสาขาแรกที่ใช้ภาษามือใน Washington DCโดยจุดประสงค์ของสาขานี้ก็เพื่อเฉลิมฉลองและสร้างความตระหนักต่อคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Starbucks (สตาร์บัคส์) ได้เปิดสาขาแรกที่ใช้ภาษามือใน Washington DC โดยตั้งอยู่ใกล้กับ Gallaudet University ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้บริการนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และพนักงานที่ทำงานในสาขายังมีความคล่องแคล่วในการใช้ภาษามือ American sign language อีกด้วย

Starbucks สาขานี้ได้รับการออกแบบเพื่อเฉลิมฉลองวัฒนธรรมของคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยการตกแต่งร้านด้วยภาพฝาผนังที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการใช้ภาษามือที่ประดับผนังขนาดใหญ่และด้วยสภาพแวดล้อม “DeafSpace” ที่สร้างขึ้นมาเฉพาะกับลูกค้าที่หูหนวกหรือได้ยินยาก นอกจากนี้ พนักงานในสาขายังแต่งเสื้อกันเปื้อนด้วยสีเขียวที่ต่างกันด้วยขึ้นอยู่กับว่าพวกเขามีความบกพร่องทางการได้ยินหรือไม่ โดยที่พนักงานที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะสวมใส่เสื้อกันเปื้อนสีเขียวที่รังสรรค์ขึ้นโดยซัพพลายเออร์ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและปักคำว่า “Starbucks” ด้วยรูปภาพภาษามือ American sign language แต่สำหรับพนักงานอื่นๆที่ไม่ได้มีความบกพร่องจะสวมใส่เสื้อกันเปื้อนมาตรฐานของ Starbucks โดยติดเข็มกลัดเขียนคำว่า “I Sign”

อย่างไรก็ตาม สาขาดังกล่าวไม่ได้ให้บริการเฉพาะคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเท่านั้น สำหรับบุคคลทั่วไปก็สามารถใช้บริการและเรียนรู้วิธีการใช้ภาษามือได้เช่นกัน โดยลูกค้าที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้ภาษามือก็สามารถใช้ notepad ดิจิทัลและใช้วิธีพิมพ์เพื่อสื่อสารกับพนักงาน หรือแม้แต่จะลองเรียนรู้การสั่ง go-to drink โดยการใช้ภาษามือ American sign language ทั้งนี้ Roberta J. Cordano อธิการบดีแห่ง Gallaudet University อธิบายความสำคัญของร้านที่ใช้ภาษามือและวิธีในการสร้างความตระหนักต่อคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินว่า “การตัดสินใจของ Starbucks ในการเปิดสาขาที่ใช้ภาษามือใน Washington DC ขยายคำนิยามของคำว่าความหลากหลายที่หลายๆคนคิดไว้”

เธอยังเสริมว่า “นอกจากนั้น การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่คนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้าถึงได้ง่ายนั้น เป็นการสร้างการจ้างงานและโอกาสในการเติบโตของคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในตำแหน่งต่างๆ เช่น บาริสต้า ผู้จัดการสาขา และตำแหน่งอื่นๆ เป็นต้น และยิ่งไปกว่านั้น Startbucks ที่เป็นผู้นำตลาดทั่วโลก สามารถใช้ประโยชน์ในการเป็นตัวอย่างให้กับธุรกิจอื่นๆ จากร้านกาแฟสู่ร้านอาหารและสถานบันเทิง”

ทั้งนี้ การเปิดสาขาที่เอื้ออำนวยให้กับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้รับการชื่นชมยกย่องเป็นอย่างมาก

มีคนทวีตว่า “ฉันหวังว่าจะมีธุรกิจที่สนใจโมเดลธุรกิจนี้เพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก!”

อีกคนนึงทวีตว่า “ฉันอยากให้พ่อฉันยังมีชีวิตอยู่เพื่อดูสาขานี้ และเขาคงจะภูมิใจมากเลยทีเดียว และฉันก็รอไม่ไหวแล้วที่จะบอกยายของฉัน”

อย่างไรก็ตาม Starbucks สาขานี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Starbucks ที่เปิดสาขาในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในปี ค.ศ. 2016 และ Jena Floyd ซึ่งเป็นศิลปินที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้ออกแบบแก้วที่มีรูปมือสองข้างกำลังใช้ภาษามือและวลีที่เขียนว่า “Coffee brings us together” โดย Jena Floyd กล่าวว่า “ฉันนึกไม่ถึงเลยว่าแก้วที่ฉันออกแบบจะถูกนำไปใช้และผู้คนมากมายจะเห็นมัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำไปใช้ในร้าน Starbucks”

 

source : independent


แชร์ :

You may also like