HomeSponsoredถอดแนวคิดทำธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้าง “ความสุข” ด้วยการ “แบ่งปัน”

ถอดแนวคิดทำธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้าง “ความสุข” ด้วยการ “แบ่งปัน”

แชร์ :

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าในระดับโลกรวมถึงประเทศไทยคือ การส่งเสริมพัฒนาการและสวัสดิการของประเทศควบคู่ไปกับการสร้างความเจริญเติบโตให้กับชุมชนในประเทศที่โตโยต้าเข้าไปดำเนินธุรกิจ และสำหรับประเทศไทย แนวคิดนี้ได้รับการตอกย้ำให้เข้มแข็งมากขึ้นในโอกาสครบรอบ 50 ปี (พ.ศ.2555) ของบริษัทโตโยต้า ภายใต้สโลแกนติดปากว่า “โตโยต้า ขับเคลื่อนความสุข” ที่เราคุ้นเคย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เผยว่า โตโยต้า ต้องการช่วยขับเคลื่อนความสุขให้สังคมไทย ผ่านการส่งต่อคุณค่าขององค์กรใน 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ, การพัฒนาธุรกิจและบุคลากร และการส่งเสริมกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

“ความสุขนั้นเกิดได้จากหลายรูปแบบ แต่รูปแบบความสุขที่โตโยต้าเล็งเห็นนั้น คือ ความสุขที่ยั่งยืน อันเกิดจากการที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือ หรือสร้างความสุขให้ผู้อื่น และคนเหล่านั้นสามารถส่งต่อความสุขให้กับคนอื่นๆ ต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นความสุขที่เกิดจาก การแบ่งปัน

“โตโยต้าเห็นคุณค่าของการแบ่งปัน แต่เราเชื่อว่าการแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุดคือการ แบ่งปัญญ์ หรือการแบ่งปันภูมิปัญญา เราจึงดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยยึดมั่นแนวทางดังกล่าวมาตลอด เพราะเชื่อว่าจะนำไปสู่ ความสุขของสังคมไทยอย่างยั่งยืน”

ด้วยเหตุนี้ แนวทางการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของโตโยต้าจึงมุ่งขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่ ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการดำเนินงาน ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่

*ด้านสังคม: โดยการแบ่งปันโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาส ภายใต้โครงการ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ตลอดจนการแบ่งปันความรู้เรื่องการใช้รถใช้ถนนและการขับขี่อย่างปลอดภัย ปลูกฝังวินัยจราจรและน้ำใจของการขับขี่รถที่ดีให้กับสังคมไทย ภายใต้โครงการ โตโยต้า ถนนสีขาว

*ด้านสิ่งแวดล้อม: เน้นไปที่การแบ่งปันองค์ความรู้และสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ผ่านกิจกรรมของโครงการ โตโยต้าเมืองสีเขียว เพื่อธรรมชาติ เพื่อทุกชีวิต

*ด้านเศรษฐกิจ: เป็นการการแบ่งปันประสบการณ์และองค์ความรู้ในการทำธุรกิจขององค์กร ให้แก่ธุรกิจชุมชนของไทย เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถดำเนินงานอย่างมืออาชีพได้ด้วยตัวเอง ผ่านโครงการ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์

“เราเชื่อว่าผู้ที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา  ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม  และประสบการณ์ในการทำธุรกิจ จะนำภูมิปัญญาไปส่งต่อเพื่อสร้างคุณประโยชน์และความสุขแก่ผู้อื่นต่อไป อันจะนำไปสู่
 “การแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุด” คุณวุฒิกรกล่าว

 

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย เติมสุขภาคสังคม

ทั้งนี้ อีกหนึ่งองค์กรที่เป็นผู้ขับเคลื่อนความสุขภายใต้แนวคิดโตโยต้า ก็คือมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย (ก่อตั้งขึ้นในปี 2535) ซึ่งที่ผ่านมา ได้ดำเนินงานสร้างความมั่นคงด้านคุณภาพชีวิตและการศึกษาให้กับชุมชนใน 3 ด้าน ได้แก่

  1. พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และคนพิการ
  2. ส่งเสริมการดำเนินการขององค์กรสาธารณกุศลต่างๆ
  3. ส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน

คุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยเล่าว่า ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้มอบทุนสนับสนุนเพื่อส่งเสริมสังคมไทย แบ่งออกเป็นโครงการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต 9 โครงการ  และส่งเสริมการดำเนินการขององค์กรสาธารณกุศล ที่มีทิศทางการดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ อีก 57 โครงการ

นอกจากนั้น มูลนิธิยังส่งเสริมด้านการศึกษา โดยมีการมอบทุนการศึกษาให้กับเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ไปแล้วทั้งสิ้น 13,641 ทุน ซึ่งเราก็หวังว่านักเรียนทุนเหล่านี้จะนำภูมิปัญญาและโอกาสที่ได้รับ ไปถ่ายทอด ต่อยอด เพื่อสร้างประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไป

คุณประมนต์ได้เล่าถึงการเข้าไปช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยว่า “ทางมูลนิธิพบว่าในช่วงปี 2547 มีนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไม่สามารถเข้าศึกษาต่อได้ในระดับอุดมศึกษาเนื่องจากขาดทุนทรัพย เราจึงร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มอบทุนการศึกษาให้นักเรียนที่มาจากพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยมีเงื่อนไขว่า หลังจากคุณเรียนจบ คุณต้องนำองค์ความรู้กลับไปพัฒนาพื้นที่ของคุณ ซึ่งเราเชื่อว่านอกจากจะส่งเสริมด้านการศึกษาแล้ว ยังช่วยลดปัญหาด้านสุขอนามัยในพื้นที่ดังกล่าวได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ดี สิ่งที่มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยมองเห็นเพิ่มขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศไทย และทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งนำไปสู่การขาดแคลนบุคลากรด้านการดูแล รวมถึงปัญหาเยาวชนที่ถูกละเลยจากพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยความจำเป็นทางเศรษฐกิจ

ทางมูลนิธิจึงได้ร่วมมือกับสภาการพยาบาล สนับสนุนทุนการศึกษาพยาบาลสาขาผู้สูงวัย  และสนับสนุนทุนวิจัยโครงการศูนย์พยาบาลต้นแบบในชุมชน เพื่อลดปัญหาขาดแคลนบุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนั้นยังร่วมกับมูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว จัดค่ายเยาวชน ให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ช่วยลดปัญหาความรุนแรงในสังคมได้อีกทางหนึ่ง

 

โตโยต้าเมืองสีเขียว สร้างสุขให้สิ่งแวดล้อม

การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับโตโยต้า โดยทางบริษัทมีพันธสัญญาในการลดผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์ และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมให้มีความยั่งยืน หรือ
 Toyota Environmental Challenge 2050

สำหรับ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย คุณวุฒิกรเผยว่า บริษัทมีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ  นั่นคือตั้งแต่ขั้นตอนการจัดซื้อ การขนส่ง การผลิตในโรงงาน ไปจนถึงการนำผลิตภัณฑ์มารีไซเคิลหรือการกำจัดซากอย่างถูกวิธี

นอกจากนั้น โตโยต้ายังมีโครงการโตโยต้าเมืองสีเขียว เพื่อแบ่งปันความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ *เช่น กิจกรรมปลูกป่าชายเลน เพื่ออนุรักษ์ผืนป่าชายเลนบริเวณสถานตากอากาศบางปู  หรือกิจกรรมปลูกป่านิเวศ  โดยใช้หลักการปลูกป่านิเวศอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดของ ศ.ดร. อากิระ มิยาวากิ ที่ทำให้ป่าเติบโตเร็วขึ้น 10 เท่าตามวิวัฒนาการธรรมชาติ  นอกจากนั้นยังมี กิจกรรมลดเมืองร้อนด้วยมือเรา โดยร่วมกับชุมชนและโรงเรียนทั่วประเทศในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ด้วย

ส่วนในรูปแบบศูนย์เรียนรู้ โตโยต้าได้มีการขยายผลป่านิเวศในโรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์ สู่ ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน ชีวพนาเวศ เมื่อปี พ.ศ. 2559 เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ในเรื่องความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศในรูปแบบต่างๆ แก่นักเรียนและผู้สนใจด้วยเช่นกัน

สำหรับโครงการขับเคลื่อนความสุขด้านสิ่งแวดล้อมชิ้นล่าสุดคือการเปิดตัว “โตโยต้าเมืองสีเขียว อยุธยา” ศูนย์การเรียนรู้แห่งแรกนอกโรงงาน  เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้าแก่คนในชุมชน นักท่องเที่ยว ในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยคุณวุฒิกรเล่าว่า

 “จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีความเหมาะสมแก่การเป็นต้นแบบการใช้ชีวิตในเมืองอย่างมีคุณภาพร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โตโยต้า จึงร่วมมือกับจังหวัดอยุธยา ในการบูรณะ เรือนจำเก่า จุดสกัดหัวรอ จังหวัดอยุธยาให้กลายเป็น
ศูนย์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม  ผ่านการนำเสนอองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า
 ใน 5 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์น้ำ การใช้พลังงานทดแทน การเดินทางอย่างยั่งยืน และการจัดการขยะ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะสร้าง จิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่คนในชุมชน และนักท่องเที่ยว ซึ่งจะนำไปสู่การลงมือปฏิบัติด้วยตนเองต่อไป”

นอกจากจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมแล้ว  จะมีการนำรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (HA:MO) มาให้บริการเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของอยุธยาหรือ Eco Tourism ด้วยนั่นเอง

วิถีโตโยต้า สู่ธุรกิจชุมชน เพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

สำหรับการขับเคลื่อนความสุขด้านของเศรษฐกิจ ความท้าทายที่โตโยต้าพบก็คือ มีธุรกิจชุมชนของไทยเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน เนื่องจากประสบปัญหาในการบริหารจัดการธุรกิจ

ในจุดนี้ คุณวุฒิกรเผยว่า โตโยต้าได้นำประสบการณ์ในการทำธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อันได้แก่ ระบบการผลิตแบบโตโยต้า วิถีโตโยต้า และปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่ง มาถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs ของไทยเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น รวมถึงสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับสุภาษิตจีนที่ว่า  ถ้าท่านให้ปลาแก่คนจน เขาจะมีปลากินเพียงแค่วันเดียว แต่ถ้าท่านสอนวิธีจับปลาให้เขา เขาจะมีกินตลอดชีวิต

“ขั้นต้น เราดึงพนักงานเกษียณอายุที่มีความเชี่ยวชาญในระบบการผลิตแบบโตโยต้ามาร่วมศึกษาปัญหา และช่วยชุมชนปรับปรุงธุรกิจ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนและเพิ่มกำไรได้ การดำเนินงานส่วนนี้ช่วยให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”

 

จากนั้น เมื่อธุรกิจชุมชนสามารถเติบโตได้ด้วยตัวเอง โตโยต้าจะร่วมกับผู้ประกอบการยกระดับชุมชนให้กลายเป็น ศูนย์การเรียนรู้ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์”  เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์สู่ธุรกิจชุมชนอื่นๆ ต่อไป

ปัจจุบัน โตโยต้าได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ธุรกิจชุมชนแล้วทั้งหมด 12 แห่ง ใน 12 จังหวัด และเกิดการยกระดับธุรกิจขึ้นเป็นศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์แล้ว 2 แห่งได้แก่ ธุรกิจตัดเย็บเสื้อโปโล ฮาร์ทโอทอป จ.กาญจนบุรี และวิสาหกิจชุมชนข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์
 จ. ขอนแก่น

นอกจากนี้ คุณวุฒิกรเผยว่า ภายในปี 2561 โตโยต้ามีแผนจะขยายโครงการ สู่ธุรกิจชุมชนเพิ่มเติมในอีก 10 จังหวัด ควบคู่ไปกับการนำองค์ความรู้และประสบการณ์จากการดำเนินโครงการฯ มาร่วมแบ่งปันเพื่อพัฒนาศักยภาพธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการประชารัฐ โดยความร่วมมือกับหอการค้าไทย และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งจะต่อขยายไปสู่โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และขยายศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ด้วยความร่วมมือกับภาครัฐ ชุมชน และผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศด้วย

จะเห็นได้ว่า แนวคิดในการส่งต่อความสุขของโตโยต้านั้น เป็นการส่งต่อองค์ความรู้ได้อย่างครบครันทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา และประสบการณ์การทำธุรกิจสู่ธุรกิจชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเชื่อว่าองค์ความรู้เหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่าง “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” รวมถึงเป็นการขับเคลื่อนความสุขสู่สังคมไทย ผ่าน “การแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุด” ได้อย่างแท้จริง

 

[Advertorial]


แชร์ :

You may also like