ปิดฉากไปแล้วสำหรับพิธีเปิดอันสุดยิ่งใหญ่ตระการตา ของ “ไอคอนสยาม” (ICONSIAM) ศูนย์การค้ามูลค่า 54,000 ล้านบาทริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กับงบประมาณการจัดงานถึง 1,000 ล้านบาท สิ่งที่สร้างความตื่นตาตื่นใจในช่วงพิธีเปิด คือ การนำเอาโดรนจำนวน 1,500 ตัว มาบินแปรขบวนเล่าเรื่องราว ประกอบการแสดงโชว์ “โรจนนิรันดร” เล่าเรื่องราวนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ บ่งบอกรากเหง้าและวิถีชีวิตของคนไทย จากการมีศิลปวัฒนธรรมเป็นของต้นเอง ที่เกิดขึ้นจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา
โดรนบินเล่าเรื่องราวว่า คนไทยให้ความเคารพและกราบไหว้พระแม่คงคา และใช้ดอกบัวเป็นเครื่องกราบไหว้ ทั้งโดรนบนฟ้าได้แปรเป็นรูปภาพดอกบัว ขณะที่นักแสดงบนเวทีก็ถือดอกบัว เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการแสดงของโดรนและนักแสดง ก่อนที่โดรนจะแปรเป็นและเล่าเรื่องราวต่างๆ ของความสำคัญของสายน้ำลุ่มเจ้าพระยา ที่ไม่เพียงแค่เรื่องวัฒนธรรมประเพณี แต่ยังเชื่อมโยงไปยังการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศไทยกับต่างชาติ ทั้งจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และชาติตะวันตก โดยประเทศไทยได้ปรับตัวเองให้เข้าเทคโนโลยีตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปด้วย ก่อนฉากสุดท้ายจะเป็นการแปรภาพแผนที่ประเทศไทย ผสานไปอยู่บนลูกโลก แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไทยที่มีต่อโลกใบนี้
โชว์สุดยิ่งใหญ่ตระการตา เป็นที่กล่าวถึงของคนทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์ คงต้องยกเครดิตให้กับผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้ คือ บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาได้น่าประทับใจ กลายเป็นกระแส Talk of the world ตามโจทย์ของ “ไอคอนสยาม” เจ้าของโปรเจ็กต์ต้องการ ซึ่งการควบคุมการบินโดยบริษัท Intel (บริษัท อินเทลเทคโนโลยี จำกัด) จากสหรัฐอเมริกามาสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยการใช้โดรนรุ่น Shooting Star และควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
18 เดือนเตรียมความพร้อม
คุณหมอก-เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน Co-CEO อินเด็กซ์ฯ เล่าให้ฟังว่า ต้องใช้ระยะเวลาการเตรียมงานนานกว่า 18 เดือน กว่าจะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้สวยงามขนาดนี้ นับตั้งแต่รับบรีฟจากผู้บริหารของไอคอนสยาม โดยเริ่มจากการรับบรีฟ และนำเสนอ First Idea แรก ตอนนั้นยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะใช้งบประมาณการจัดงานเท่าไร หลังจากนั้นได้ทำการติดต่อไปยังบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่สามารถบินโดรนได้ในจำนวน 1,500 ตัว ซึ่งหลังการพิจารณาเหลือ 2 บริษัทจากประเทศจีนแห่งหนึ่ง และ Intel จากสหรัฐอเมริกา บทสรุปมาลงตัวที่ Intel เพราะ Intel เป็นการบินโดรนในรูปแบบ Live Show ใช้โดรนขนาดน้ำหนักเพียง 300 กรัมต่อตัว หากตกลงมาใส่คนก็ไม่ได้รับอันตราย ขณะที่บริษัทจากประเทศจีนเป็นการบินแบบเชิงพาณิชย์ ไม่เหมาะกับการแสดงโชว์
หลังจากนั้นได้มีการวางแนวคิดและออกแบบโชว์ โดยทีมงานของ อินเด็กซ์ฯ ด้วยการจัดทำเป็นแอนนิเมชั่นของรูปแบบโชว์ เพื่อส่งกลับไปให้ Intel ที่สหรัฐอเมริกา ใช้ในการวางแผนการควบคุมโดรนออกมาตามไอเดียของอินเด็กซ์ฯ จากนั้นนักบินโดรนของ Intel เข้ามารวมทำงานกับอินเด็กซ์ฯ ตั้งแต่ต้นปี มีการออกไปดูสถานที่จริงและทำการซักซ้อมจนเกิดความมั่นใจ 3 อาทิตย์ก่อนวันงานจริงยังได้ซ้อมล่วงหน้าที่สถานที่จัดแสดง และวันที่ 7 พฤศจิกายน ยังทำการซ้อมจริงพร้อมกับบันทึกวิดีโอ เพื่อใช้สำหรับการถ่ายทอดสด หากวันจริงเกิดข้อผิดพลาดไม่สามารถจัดแสดงโชว์ได้ ป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดทาง และทาง Intel เตรียมแผนสำรองหากโดรนเกิดความเสียหายหรือบินไม่ได้อีก 500 ตัว บทสรุปสุดท้ายมีโดรนตกหายไปประมาณ 2-3 ตัวเท่านั้น
“เป็นโปรเจ็กต์ที่เราเตรียมการมานาน หากโดรนบินไม่ได้คงต้องยื้อเวลาออกไปก่อน ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ Benchmark ของเราคือ พิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก รูปแบบและการจัดงานสเกลเดียวกัน”
ทุบสถิติ Guinness World Records
ปกติ Intel มีบินโดรนในงานสำคัญทั่วโลก อาทิ กีฬาโอลิมปิกที่ประเทศเกาหลีใต้ 2018 (ใช้โดรนจำนวนบิน 1,218 ตัว) กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ที่กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่จะบินเฉลี่ย 150-200 ตัว จำนวนโดรนไม่มากเท่านี้ แถมหากวัดจำนวนที่ Intel เคยบินโดรนมากที่สุด คือ 2,000 ตัว ในงานฉลองครบรอบ 50 ปีของ Intel ที่สหรัฐอเมริกา ทำให้การบินโดรนนอกสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ มีจำนวนมากที่สุดในโลก และถือเป็นความตั้งใจตั้งแต่แรกของอินเด็กซ์ฯ ที่ต้องการทุบสถิติ Guinness World Records เพราะมองว่าโอกาสเช่นนี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ
ไอเดียแรกๆ ของอินเด็กซ์ฯ ยังต้องการสร้างสถิติของโลกให้เกิดขึ้นอีก 2 อย่าง คือ การจุดพลุยาว 2.7 กิโลเมตร ยาวที่สุดในโลก และการจุดพลุเป็นรูปธงชาติใหญ่ที่สุดในโลก แต่ด้วยเรื่องของความปลอดภัย และสถานทีใกล้เคียงไม่เหมาะสมทำให้ต้องพับแผนไป เหลือเพียงแต่จำนวนโดรนที่มากที่สุดในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังไม่มีบริษัทใดบินได้มากเท่านี้
Talk of The Town ที่อิงกับความเป็นไทย
“ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติ