Homeไม่มีหมวดหมู่มาสเตอร์การ์ดเผยรายงาน “โอกาสของอาเซียน” การท่องเที่ยวขาเข้าสามารถสร้างอนาคตให้กับเมืองทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มาสเตอร์การ์ดเผยรายงาน “โอกาสของอาเซียน” การท่องเที่ยวขาเข้าสามารถสร้างอนาคตให้กับเมืองทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แชร์ :


มาสเตอร์การ์ด ผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงิน เปิดเผยรายงานซึ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงของการท่องเที่ยว ที่สามารถช่วยผลักดันการพัฒนาเมืองให้มีความทันสมัยและเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

รายงาน “โอกาสของอาเซียน: นักวางแผนเมืองและภาครัฐสามารถสร้างเมืองให้มีความทันสมัยจากการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเสริมการเติบโตของการท่องเที่ยวขาเข้าได้อย่างไร”[1] ได้ทำการสำรวจว่าเมืองต่างๆ จะสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนประกอบกับข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวขาเข้าอย่างเหมาะสมได้อย่างไร นอกจากนี้รายงานดังกล่าวยังชี้ด้วยว่า เมืองต่างๆ สามารถนำข้อมูลเชิงลึกแบบไม่ระบุชื่อจากการทำธุรกรรมผ่านมาสเตอร์การ์ดมาใช้ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการเข้าถึงและดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายได้อย่างดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน การลงทุนเชิงกลยุทธ์ของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวขาเข้า จะส่งผลให้ประชาชนมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูงขึ้น ทั้งยังเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน และส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

 

สีสันและพลังของเมืองสร้างทั้งโอกาสและความท้าทาย

ปัจจุบัน การขยายตัวของเมืองเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยทางสหประชาชาติ หรือ UN ได้คาดการณ์ไว้ว่า ร้อยละ 70 ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองภายในปี พ.ศ. 2593 โดยร้อยละ 90 ของประชากรในพื้นที่เมืองที่เพิ่มขึ้นนี้จะเกิดขึ้นในทวีปเอเชียและแอฟริกา

 

การขยายตัวของเมืองมาพร้อมกับหลากหลายคุณประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนแรงงานที่มากขึ้น ความต้องการสินค้าและบริการที่สูงขึ้น รวมไปถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากภาคธุรกิจการท่องเที่ยวขาเข้า ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP พุ่งสูงขึ้นตาม จากที่จะเห็นได้ในประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเมืองก็นำพามาซึ่งความท้าทายใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการงานและทรัพยากรก็สูงขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข การศึกษา และการขนส่ง ที่ต้องรองรับการขยายตัวของจำนวนประชากรนี้

 

“ไม่มีใครสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เพียงลำพัง มาสเตอร์การ์ดเชื่อว่าความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน จะสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น นำมาซึ่งประสบการณ์การใช้ชีวิตในแต่ละวันที่มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายยิ่งกว่า ทั้งยังสร้างความแตกต่างให้กับภาคธุรกิจที่เป็นที่จับตามองและมีการเติบโตสูงอย่างภาคการท่องเที่ยวอีกด้วย” มร. รูเพิร์ท เนย์เลอร์ รองประธานอาวุโส มาสเตอร์การ์ด แอดไวเซอร์ เอเชียแปซิฟิก กล่าว

วางกรอบให้กับโอกาสทางธุรกิจการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจัยสำคัญที่เสริมให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงขึ้นอย่างน่าประทับใจในระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา คือเม็ดเงินจำนวนมากในภาคธุรกิจท่องเที่ยวขาเข้า ที่ถูกใช้จ่ายไปกับทั้งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมและพื้นที่ท้องถิ่นที่อาจยังไม่เป็นที่รู้จักนัก

 

ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่ กรุงเทพฯ สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์ ยังคงครองอันดับต้นๆ ของเมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามามากที่สุด เมืองอื่นๆ ในประเทศเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็น ฮานอย หรือ โฮจิมินห์ ก็ค่อยๆ ไต่อันดับความนิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งขึ้นมาเป็นหนึ่งในสิบเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมได้ในปีนี้ นอกจากนี้ ภูเก็ต พัทยา และเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศไทย ก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชี้ให้เห็นว่านักท่องเที่ยวกล้าที่จะลองสัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่าง และพร้อมที่จะเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางใหม่ๆ มากขึ้น

 

จำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงขึ้นซึ่งเดินทางไปเยี่ยมเยือนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมไม่มากนัก ชี้ให้เห็นว่าภาครัฐสามารถลงทุนต่อยอดไปกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและอาจมีชื่อเสียงในอนาคต เพื่อกระจายรายได้ (และผลกระทบเชิงลบ) จากการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทั่วประเทศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากกลยุทธ์ดังกล่าว การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในแหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในแง่ของการสร้างการเชื่อมต่อสู่แหล่งท่องเที่ยว และการเสริมเครือข่ายภายในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ การเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ง่ายขึ้น การขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่า และการเข้าถึงบริการทางการเงินของบรรดาผู้ค้าในเมืองที่ครอบคลุมขึ้น

 

ตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนนักคือประเทศฟิลิปปินส์ โดยเกาะโบราไกย์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชายหาดชื่อดัง ถูกปิดลงเป็นการชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากไม่สามารถจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ ส่งผลให้ประเทศเสียรายได้มหาศาลจากการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวต่างชาติไป

 

ในขณะที่แหล่งท่องเที่ยวชั้นนำหลายแห่งเริ่มลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวไปบ้างแล้ว นวัตกรรมใหม่ๆ ในด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการฝูงชน การสร้างประสบการณ์เพื่อนักท่องเที่ยว ก็เป็นโอกาสที่มองข้ามไม่ได้ในการดึงนักท่องเที่ยวใหม่และนักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมให้กลับมาเยือนซ้ำ เหล่านี้คือสิ่งที่จะช่วยสร้างงาน เสริมสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ให้กับคนในพื้นที่ และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในที่สุด

 

การท่องเที่ยวขาเข้า ยังช่วยเสริมศักยภาพเพื่อกระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศที่มี GDP ไม่สูงมากนัก โดยสามารถสร้างรายได้และเพิ่มการจ้างงานได้อย่างดีเยี่ยม โดยประเทศที่สามารถสร้างกำไรจากการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับการเติบโตของ GDP ในประเทศ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

 

การเดินทางกับโอกาสที่มากขึ้น

การเดินทางเพื่อธุรกิจกำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังสร้างผลงานโดดเด่นเกินตลาดท่องเที่ยวโดยรวมของภูมิภาคในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา โดย 10 อันดับเมืองที่ได้รับความนิยมสูงสุดของนักเดินทางเพื่อธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างพบว่า มูลค่าการใช้จ่ายขององค์กรในแต่ละเมืองพุ่งสูงขึ้นถึงสองหลัก โดยมีเมืองดานัง ฮานอย และโฮจิมินห์ ของประเทศเวียดนาม รั้งสามในสิบอันดับเมืองยอดนิยมดังกล่าว

 

อีกหนึ่งเซกเมนต์นักท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคนี้คือกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสิงคโปร์ยังคงเป็นศูนย์กลางการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมียอดการใช้จ่ายสูงกว่าเมืองอื่นๆ ถึงสามเท่า แต่ในขณะเดียวกัน เมืองต่างๆ ในเวียดนามอย่าง ฮานอย คั้ญฮหว่า และโฮจิมินห์ กลับมีการเติบโตด้านค่าใช้จ่ายของนักเรียนนักศึกษาต่างชาติสูงที่สุดในภูมิภาคในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระแสการศึกษาออนไลน์ของประเทศเวียดนามซึ่งได้เพิ่งได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมานี้

 

การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยเหตุผลทางธุรกิจและการศึกษา นำมาซึ่งโอกาสสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างความหลากหลายให้กับการท่องเที่ยวได้มากกว่าการพักผ่อนหย่อนใจ

 

ข้อมูลจากมาสเตอร์การ์ดยังแสดงให้เห็นอีกว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีเหตุผลที่ชัดเจนอื่นๆ นอกจากเหตุผลทางธุรกิจและการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น พบว่าประเทศไทยมียอดการใช้จ่ายด้านสุขภาพจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นพิเศษ ในขณะที่เวียดนามมีรายได้ที่สูงขึ้นจากการใช้จ่ายไปกับร้านอาหารระดับภัตตาคาร ด้านเมียนมาร์และลาว ก็มียอดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่สูงขึ้นจากการการขายโปรแกรมทัวร์

 

อำนาจแห่งข้อมูลช่วยต่อยอดโอกาส

โจทย์สำคัญที่ภาครัฐและนักวางแผนเมืองต้องหาคำตอบ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบันและสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต คือจะสามารถตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ๆ เข้ามาในประเทศ และส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายมากขึ้นได้อย่างไร

 

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับรายละเอียดอื่นๆ เช่น นักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ มาจากประเทศไหนบ้าง พวกเขาเลือกไปเที่ยวที่ไหน พื้นเพของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร และพวกเขามีพฤติกรรมอย่างไรเมื่อไปพักผ่อนในแต่ละสถานที่ เป็นต้น รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้สามารถช่วยให้ภาครัฐและนักวางแผนเมืองรับมือและต่อยอดจากการจับจ่ายใช้สอยของภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

ตัวอย่างเช่น เมืองท่องเที่ยวต่างๆ สามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมต่างๆ จากมาสเตอร์การ์ด มาวิเคราะห์เพื่อบ่งชี้หมวดหมู่สินค้าและบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อใช้ในการริเริ่มแคมเปญท่องเที่ยวที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การทำความเข้าใจ “ความเชื่อมโยง” ของการท่องเที่ยวก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เช่น จะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวชาวรัสเซียนิยมมาพักผ่อนที่ชายหาดของประเทศไทย ส่วนบาหลีก็มีกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักมาจากประเทศออสเตรเลียและอินเดีย ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้การวางผังเมืองและการวางระบบต่างๆ เหมาะสมและตอบโจทย์ต่อแนวโน้มความต้องการของแต่ละกลุ่มนักท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเช่น ความพร้อมที่จะให้ข้อมูลและการสนับสนุนแก่นักท่องเที่ยวด้วยภาษาของพวกเขาเอง

 

“การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวสร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญยิ่งให้กับระบบเศรษฐกิจ ทั้งยังช่วยสร้างงานและโอกาสให้กับธุรกิจและร้านค้าในชุมชน มาสเตอร์การ์ดได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลและนักวางแผนเมืองจากประเทศต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการวางแผนและการลงทุนที่ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเข้าถึงบริการทางการเงิน ด้วยข้อมูลเชิงลึกและผลการวิเคราะห์ของเรา นอกจากนี้ เรายังดำเนินโครงการที่ช่วยพัฒนาการเข้าถึงและเสริมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้น่าประทับใจยิ่งกว่า ในขณะเดียวกัน เรายังมีส่วนร่วมพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ ที่จะช่วยตอบโจทย์ปัญหาการท่องเที่ยวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหานักท่องเที่ยวทะลักหรือปัญหาความแออัดในบางพื้นที่อีกด้วย” มร. เนย์เลอร์ สรุป

[1] The ASEAN Opportunity: How City Planners and Governments Can Make Cities Even Smarter by Increasing Investments in Inbound Tourism Growth


แชร์ :

You may also like