HomeFeaturedSC Asset ขยี้ Pain point ชาวกรุงฯ ส่งโครงการ Neighbourhood บางกะดี เพราะ #ทนไหวไม่ใช่ทางออก

SC Asset ขยี้ Pain point ชาวกรุงฯ ส่งโครงการ Neighbourhood บางกะดี เพราะ #ทนไหวไม่ใช่ทางออก

แชร์ :

การเลือกซื้อที่อยู่อาศัย มักเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนต้องพบเจอ เพราะต้องใช้เงินจำนวนมาก ดังนั้นการพิจารณาโครงการที่จะซื้อให้รอบคอบจากองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก โดยเฉพาะการให้ความเชื่อมั่นกับดีเวลลอปเปอร์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์   รู้ลึกซึ้งถึงปัญหาจากการรับฟังเสียงของคนในชุมชน พร้อมนำเสนอทางออกหรือโซลูชั่นเพื่อการอยู่อาศัยที่สมบูรณ์แบบและการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เพื่อสร้างสรรค์ชุมชนแห่งอนาคตที่ทุกคนล้วนปรารถนา

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับโครงการ The Neighbourhood by SC Asset นับว่าเป็นโครงการที่มีจุดเริ่มต้นที่ดีและใส่ใจผู้บริโภคเป็นหลัก เพราะพัฒนาตามแนวคิด “Human Centric”  จากการที่แบรนด์จะรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ และได้ทำการลงพื้นที่วิจัยอย่างจริงจัง โดยร่วมกับศูนย์บริการวิจัยและออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (REDEK) เพื่อนำผลลัพธ์มาใช้ในการพัฒนาและออกแบบ ซึ่งแบ่งออกเป็นพื้นที่ในโครงการและพื้นที่สาธารณะนอกโครงการ เริ่มต้นที่พื้นที่ย่านบางกะดี จ.ปทุมธานี

เพื่อให้เห็นภาพเบื้องหลังการกลั่นกรองแนวคิดเพื่อปลุกปั่นโครงการนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น จึงถ่ายทอดเรื่องราวผ่านคลิปโฆษณาที่มีเนื้อหาเสียดสีคนกรุงเทพฯ  โดยกะเทาะเปลือก Pain point ของผู้บริโภคคนเมืองที่ต้องใช้ชีวิตในแต่ละวันด้วยความจำทนกับสารพัดเรื่องต่าง ๆ ที่ประดังประเดเข้ามาเพียงเพราะต้อง”อยู่ให้ไหว” ผ่านชีวิตของคนเมืองที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาวพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องปรับตัวและรู้สึกชินกับวินมอเตอร์ไซต์ที่วิ่งไปมาบนฟุตบาท ชายหนุ่มที่ผันตัวมาเป็นดีเจออนไลน์ เพราะบ้านอยู่ระหว่างร้านคาราโอเกะ และผับที่มักมีเสียงเพลงและเสียงดนตรีอึกทึกครึกโครมอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ครูที่ต้องสอนหนังสือในโรงเรียนที่อยู่ในเส้นทางการขึ้นลงของเครื่องบิน การเปล่งเสียงสู้กับเสียงดังจากเครื่องบินที่มาตามนัดเป็นประจำ คือปัญหาที่ต้องทนอยู่กับมันให้ได้ ชายวัยกลางคนที่ต้องเล่นฟุตบอลกลางถนนหน้าบ้านกับลูกชาย และหนุ่มวีลแชร์ที่ถือโอกาสฝึกกล้ามเนื้อแขนเวลายกวีลแชร์ขึ้นลงฟุตบาทที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อผู้บกพร่องทางร่างกาย

ตัวอย่างของชีวิตคนหลากหลายอาชีพนี้ คือ การใช้ชีวิตในสภาวะจำยอม โดยที่ปัญหาไม่ได้หายไปไหน แต่อยู่เคียงข้างเหมือนโรคประจำตัวที่ไม่มีวันรักษาหายขาด ต่อให้เลวร้ายเพียงใด ก็หน้าชื่นอกตรม ต้องกัดฟันยิ้มสู้ เพื่อผ่านชีวิตในแต่ละวันไปให้ได้อยู่ดี แน่นอนว่าสภาวะการอยู่ให้ไหวนี้ นำไปสู่การบ่อนทำลายสุขภาพกายและใจ ตลอดจนลดทอนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สโลแกนสวยหรูที่ว่า “กรุงเทพฯ…ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว” จึงเป็นเรื่องเพ้อฝัน ฟังแล้วรู้สึกคาใจ เป็นเรื่องที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนเมือง และเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความเป็นจริงที่เจ็บปวดออกไปทุกที

จริงอยู่ตามที่ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาวิน ที่ว่า “สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงหรือปัจจัยต่างๆ ได้มากกว่าก็มีโอกาสที่จะอยู่รอด” แต่คำถามคือ เรามีทางเลือกมากกว่าที่จะจมจ่อมอยู่กับการใช้ชีวิตแบบนี้ไปตราบจนลมหายใจสุดท้ายไหม เรามีทางเลือกมากกว่าการอยู่รอดไปวัน ๆ หรือไม่ คำตอบคือ เพียงเพราะเราปรับตัวให้อยู่กับปัญหาได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหานั้นไม่สมควรจะได้รับการแก้ไข ทุกปัญหาย่อมมีทางออก  ปัญหาเหล่านี้ก็เช่นกัน สามารถแก้ไขได้  ไม่มีอะไรที่เกินกำลัง และเรามีทางเลือกที่ดีกว่าการปล่อยมันไปตามเรื่องตามราวแน่นอน

Neighbourhood Bangkadi (เนเบอร์ฮูด บางกะดี)  

คือโมเดลที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ ที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของคนเมืองในอนาคต ซึ่งเริ่มต้นบนโครงการที่ดินใหญ่แห่งแรกขนาดกว่า 240 ไร่ ในย่าน บางกะดี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีศักยภาพ และมีความเป็น community และมีโครงสร้างที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต เช่น สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ บวกกับความเป็นสวนอุตสาหกรรมที่มีโรงงานอุตสาหกรรมชั้นนำในเขตเทศบาล กว่า 60 แห่ง ซึ่งเป็นต้นทางของการขนส่งสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี (EEC) ประกอบกับความเข้มแข็งของอีก 17 ชุมชนที่หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น ทำให้เกิดทำเลที่มีศักยภาพโดดเด่นขึ้น และพร้อมที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต

ความตั้งใจในการพัฒนา Neighbourhood บางกะดี นอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยที่ตอบรับการเติบโตของครอบครัวและความต้องการของการอยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆในอนาคตบนพื้นที่กว่า 200 ไร่ในโครงการแล้ว ยังทำให้เกิดพื้นที่สาธารณะ หรืองานออกแบบ ขนาด 6 ไร่ ด้านหน้าสุดของโครงการ ให้เป็นประโยชน์ต่อคนในพื้นที่ ทั้งผู้อยู่อาศัยในโครงการ และชุมชนในย่าน โดยดึงหลักการ Human-Centric เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของการอยู่อาศัยในเมืองมาปรับใช้อย่างจริงจัง สำหรับขั้นตอนการทำวิจัย SC Asset และ Redek นั้นเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้รับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชนหรือคนในพื้นที่อย่างเอาใจใส่ และเก็บทุกรายละเอียดมาออกแบบพื้นที่เพื่อช่วยลด pain point ให้ได้มากที่สุด

สิ่งที่ Neighbourhood บางกะดี ได้รับฟังเสียงจากคนในชุมชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยความใส่ใจจริง ๆ เห็นได้จากเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์โฆษณา ที่เผยให้เห็นกล่องขนาดประมาณ 4×4 ม. ข้างในมีไมค์และกล้องติดไว้ให้ผู้คนในชุมชนได้บอกกล่าวเล่าความในใจถึงปัญหาที่พวกเขาประสบพบเจอ  และอะไรคือสิ่งที่พวกเขาอยากให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในชุมชน ซึ่งเมื่อพวกเขาพูดเสร็จ จะมีการถ่ายภาพของแต่ละคนเอาไว้ โดยใส่หมวกนิรภัยและปริ้นท์ลงบนในรั้วที่กั้นรอบตึกชั่วคราวเมื่อมีการก่อสร้างหรือซ่อมแซมตึก (hoarding) ขนาดยาวประมาณ 52 ม. เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของคนในชุมชนออกมาอย่างเป็นรูปธรรม และแสดงให้เห็นว่าเสียง และความคิดของพวกเขามีความหมายและเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบชุมชนแห่งอนาคต เป็นการร่วมกันออกความคิดเห็น ร่วมกันออกแบบ เพื่อใช้ประโยชน์และดูแลพื้นที่ร่วมกันอย่างยั่งยืน สร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ (Sense of belonging) และนำไปสู่ความหวงแหนและความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นไป

โดยกรอบการวิจัย (Methodology) ในครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1. การศึกษาแนวโน้มการอยู่อาศัยในอนาคต (Future Living Trends) เช่น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ แนวโน้มด้านการดูแลสุขภาพ แนวโน้มด้านเทคโนโลยี แนวโน้มด้านการทำงานที่เทคโนโลยียุคใหม่เอื้อให้คนทำงานอยู่บ้านมากขึ้น ไม่ต้องเดินทางฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปทำงานทุกวัน ตลอดจนแนวโน้มด้านสังคม (Homelife Neighbourhood)
2. การศึกษาพื้นที่และคนที่อยู่ในพื้นที่ย่านนั้นๆ (Site & Program Analysis) เพื่อทราบถึงตัวตนและพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยทำแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก
3. การศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภค (User Behaviour Analysis) โดยใช้หลักการของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายที่จะเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแบบบ้านเดี่ยวหรือทาวน์โฮมในอนาคต

โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์และกลั่นกรองอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการออกแบบผังของชุมชน รูปแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงการบริการต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง

สำหรับบางส่วนของงานวิจัยได้เริ่มมีเป็นไอเดียเป็นรูปเป็นร่างบ้างแล้วในพื้นที่ในโครงการ เช่น ความต้องการในการเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง จึงเป็นที่มาของ Sport Complex ที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่กว่า 5 ไร่ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการทำกิจกรรมต่างๆ

ภาพ Draft จำลองของ Sport Complex

โดยคำนึงถึงกิจกรรมหลากหลายประเภทตามไลฟ์สไตล์และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนที่แตกต่างกัน  ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีโลกส่วนตัวสูง (Introvert) อยากจะออกกำลังกายด้วยการวิ่งคนเดียว หรือคนที่ชอบสังสรรค์และอยากจะเรียกเหงื่อด้วยการเรียนโยคะพร้อมกันกับเพื่อนบ้านตามสไตล์สาวสังคม (Extrovert) หรือแม้แต่การนัดเพื่อนมาปั้นโปรเจคท์ Start Up ด้วยกัน ด้วยการออกแบบที่เรียบง่ายแต่สวยงาม ทำให้ตัวอาคารกลายเป็นแลนด์มาร์ค สำคัญของพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีเลนจักรยานสำหรับนักปั่นอีกด้วย

ปัจจุบันโครงการ Neighbourhood  บางกะดี ได้แบ่งพื้นที่ที่จะถูกพัฒนาออกเป็น 7 ส่วน ซึ่งในปัจจุบันได้เปิดขายแล้ว  2 โครงการคุณภาพ ได้แก่ โครงการทาวน์โฮม เวิร์ฟ ติวานนท์-รังสิต และโครงการบ้านเดี่ยว เวนิว ติวานนท์-รังสิต

ทำความรู้จักกับ Neighbourhood บางกะดี มากขึ้นได้ที่: www.scasset.com/TheNeighbourhood

 


แชร์ :

You may also like