HomeDigitalทำไม 11.11 ถึงกลายเป็น “Shopping’s Day” วันธรรมดาๆ ที่ถูกนักการตลาดจับมือกันสร้าง “ความหมาย”

ทำไม 11.11 ถึงกลายเป็น “Shopping’s Day” วันธรรมดาๆ ที่ถูกนักการตลาดจับมือกันสร้าง “ความหมาย”

แชร์ :


วันที่ 11 พฤศจิกายน หรือ 11.11 กลายเป็นวันที่ปีนี้ E-Market Place เว็บไซต์ดังทั้งหลายในประเทศไทย ระดมสรรพกำลัง ลดราคากันกระหน่ำ แล้วตะโกนก้อง ว่านี่เป็นวันที่ผู้บริโภคคนไทยต้องออกมาชอปปิงออนไลน์ เกิดอะไรขึ้น….จู่ๆ ทำไมวันนี้จึงกลายเป็นวันสำคัญของวงการ E-Commerce

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จาก Singles’ Day สู่ Shopping’s Day “โสด” แล้วทำไมต้องช้อป?

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มนุษย์เซ็ทอัพวันสำคัญขึ้นมา โดยเล่นกับสัญลักษณ์หรือตัวเลข ก่อนหน้านี้วันที่ 11.11 เคยถูกให้ความหมาย โดยขนม Pocky ว่าเป็น Pocky’s Day อันเนื่องมาจากเลข 11.11 มีรูปร่างคล้ายแท่งกูลิโกะ ป็อกกี้ และที่ญี่ปุ่นก็จะมีกิจกรรม หรือสินค้าคอลเลกชันพิเศษออกมาให้เห็นอยู่ทุกปี ที่โด่งดังที่สุดก็เห็นจะเป็นการจับมือกับ Star Wars ออกคอลเกลชันพิเศษ ซึ่งตรงกับอินไซต์เด็กๆ ที่ทุกคนน่าจะเคยเอากูลิโกะมาถือเป็นดาบเล่นกันอยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้ 11.11 เป็นวันคนโสด เนื่องจากเลข 1 เป็นเลขที่ดูเหมือนคนยืนคนเดียว แล้วพอเบิ้ล 11.11 เข้าไป โอโห…ความโสดสนิทมาเรียงตัวกัน 4 ตัวรวด จึงเป็นที่มาของคำว่า “วันคนโสด” Single’s Day ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน

จากวันคนโสด กลับกลายเป็นวันที่ Alibaba หยิบมาให้เซ็ทอัพ ให้เป็นวันที่เกิดการช้อปปิง ลดราคา หรือว่าทำโปรโมชั่นครั้งใหญ่ ด้วยหลากหลาย เหตุผล

– วันที่ 11 เดือน 11 เป็นช่วงเวลาที่ใกล้ถึงช่วงสิ้นปีปฏิทินตามแบบสากล ดังนั้นการจะโละสินค้าในสต็อคที่ค้างอยู่ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม

– ท่าทางความโสด จะทำให้ “เครียดจัด” ช้อปปปิงคงช่วยได้ (เหรอ?)

– ในวัฒนธรรมตะวันตก มีวัน “Black Friday” (วันหลังจากวันขอบคุณพระเจ้า ซึ่งก็คือ พฤหัสที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมมาอย่างยาวนานว่าห้างร้านต่างๆ จะลดราคาเป็นพิเศษ โดยส่วนมากผู้บริโภคก็จะเตรียมตัวซื้อสินค้าเพื่อเตรียมเอาไว้มอบกันเป็นของขวัญในเทศกาลคริสมาสต์ และการลดราคานั้น ลดจริงจัง ดังนั้น เราจึงเห็นภาพข่าวต่างประเทศที่คนไปแย่งซื้อสินค้ากันประหนึ่งซอมบี้บุกเมือง อีกทั้งช่วงใกล้ๆ นี้โฆษณาฝรั่งจึงเริ่มมีโฆษณาคริสมาสต์จากแบรนด์ดังมาให้เราเห็นกันแล้ว

– ต่อมาเมื่อถึงยุคของการค้าขายอี คอมมิร์ซ แค่ Black Friday อย่างเดียวดูจะไม่พอ ปี ค.ศ. 2005 นักการตลาดออนไลน์ในซีกตะวันตก จึงรวมตัวกันสร้างวัน “Cyber Monday” วันจันทร์ต่อมาอีกวัน ซึ่งเป็นวันจันทร์แรกต่อมานั่นแหละ เรียกได้ว่าถ้าหากว่า วันศุกร์ที่ผ่านมาชอปไม่ทันคนอื่นเขา ยังไม่ได้ของที่ถูกใจ หรือมีภารกิจไม่สามารถไปซื้อของที่ร้านค้าแบบดั้งเดิมได้ ก็มีชอปปิงออนไลน์เป็นทางเลือกอีกหนึ่ง ในมุมผู้ค้า ถ้าหากว่าสินค้าที่กระหน่ำเซลล์ในวันศุกร์ยังไม่หมด ก็เอามาจัดโปรโมชันอีกยกในวันจันทร์ได้อีก

ว่ากันว่าบางร้านค้า หรือพ่อค้า แม่ค้าบางคน ขายสินค้าในช่วงเทศกาล Black Friday กับ Cyber Monday มียอดขายถึง 70-80% ของยอดขายทั้งปี ขายเสร็จหมดแรง และร้านเยิน จนปิดร้านเที่ยว ให้พนักงานได้พักกันไปเลยก็มี

– เมื่อนักการตลาดฝรั่งเซ็ทวันขึ้นมาแบบนี้ได้ แล้วทำไมฝั่งเอเชียจะไม่ทำขึ้นมาบ้างเล่า? หัวหอกของการจัดตั้งวันนี้ขึ้นมาก็คือ Alibaba เบอร์หนึ่งทางฝั่งเอเชียจึงเริ่มต้นขึ้น ร้านค้าต่างๆ ลดราคา จัดโปรโมชันจนคนกระหน่ำช้อปปิง และปี 2009 ที่ผ่านมา Alibaba สร้างยอดขายได้จากวันนี้วันเดียว 17.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ความสำเร็จของการเซ็ทอัพให้วันที่ 11/11 กลายเป็นวันที่เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซในเอเชียทำตาม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ “แดเนียล จาง” ผู้คิดค้น ถูกวางตัวให้เป็นผู้ทอดบัลลังค์ของ แจ็ค หม่า เลยทีเดียว


แชร์ :

You may also like