การศึกษาโดยนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัย Pennsylvania พบว่าเมื่อจำกัดการใช้งาน Social Media ให้เหลือ 30 นาทีต่อวันนั้นสามารถนำไปสู่การพัฒนาที่มีนัยสำคัญด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยิ่งใช้เวลาในการเลื่อนไปดูรูปของเพื่อนๆและเพื่อนสมัยมัธยมให้น้อยลงจะสามารถลดอัตราภาวะซึมเศร้าและความโดดเดี่ยวได้
ผลการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสาร Social and Clinical Psychology ประจำเดือนธันวาคม เป็นผลการศึกษาชิ้นแรกที่ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลกระทบระหว่างการใช้ social media และปัญหาสุขภาพจิต โดยการศึกษาหัวข้อดังกล่าวก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นเพียงความเกี่ยวพันกันระหว่างสองสิ่งข้างต้นเท่านั้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบกับนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 143 คน ตลอดระยะเวลา 2 เทอมการศึกษา ทั้งนี้ นักศึกษาได้รับการจัดกลุ่มที่ได้รับคำสั่งให้จำกัดการใช้งาน Social Media อย่าง Facebook, Instagram และ Snapchat เป็นเวลา 30 นาทีต่อวันรวมกัน โดยให้ใช้เพียงแค่ 10 นาทีในแต่ละแพลตฟอร์ม หรืออีกกลุ่มนึงได้รับมอบหมายให้เป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้social media ได้ตามปกติ
หลังจาก3 สัปดาห์ นักศึกษาจะได้รับการประเมินสุขภาพจิตด้วยการตอบคำถามทั้งหมด 7 ด้านที่ต่างกัน เช่น การสนับสนุนสังคม (Social support) ความกลัวที่จะไม่ได้รับการใส่ใจ (FOMO) ความโดดเดี่ยว ความเป็นอิสระและการยอมรับตนเอง ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และการนับถือตนเอง
“นี่คือผลลัพธ์” Melisa Hunt หัวหน้านักวิจัยในการศึกษาครั้งนี้กล่าวกับ Science Daily “การลดเวลาใช้social media ให้น้อยลงจะช่วยลดได้ทั้งภาวะซึมเศร้าและความโดดเดี่ยวได้อย่างมีนัยสำคัญ ผลกระทบเหล่านี้จะเห็นผลได้ชัดโดยเฉพาะคนที่มีภาวะเครียดเมื่อเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาครั้งนี้”
การศึกษาไม่มีกลุ่มตัวอย่างไหนที่แสดงการพัฒนาด้านการสนับสนุนสังคม การนับถือตนเอง หรือความเป็นอิสระและการยอมรับตนเองเลย อย่างไรก็ตาม นักศึกษาทั้งสองกลุ่มตัวอย่างได้ค้นพบว่าระดับความวิตกกังวลและ FOMO ของพวกเขาลดลง ทั้งนี้ การศึกษาลักษณะนี้ไม่สามารถทดสอบปัจจัยทุกประเภทที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้
- การศึกษาโดยนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania พบว่าการจำกัดการใช้ Social Media ให้เหลือ 30 นาทีต่อวันสามารถนำไปสู่การพัฒนาที่มีนัยสำคัญด้านสุขภาพ
- โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้เวลาไปกับ Social Media น้อยลงจะสามารถลดอัตราภาวะซึมเศร้าและความโดดเดี่ยวได้
- การศึกษาชิ้นนี้เป็นผลงานวิจัยชิ้นแรกที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลกระทบระหว่างการใช้งานsocial media และปัญหาสุขภาพจิต