HomeDesignDesign Thinking เรื่อง “กล้วยๆ” เมื่อซูเปอร์มาร์เก็ตเกาหลี แบ่งขายกล้วยตามเวลาสุก

Design Thinking เรื่อง “กล้วยๆ” เมื่อซูเปอร์มาร์เก็ตเกาหลี แบ่งขายกล้วยตามเวลาสุก

แชร์ :


ความเข้าใจ Consumer Insight เป็นพื้นฐานที่สำคัญสุดๆ ของนักการตลาด แต่การจะมองหาความต้องการและลงมือทำออกมาให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่เรามีเรื่อง “กล้วยๆ” ที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้โซลูชั่นและ Design Thinking มานำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์คนเมือง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เมื่อซูเปอร์มาร์เก็ตของชำในเกาหลีใต้ วางจำหน่ายกล้วย โดยวิธีการแพ็กสินค้า แบ่งตามเวลา “สุก” ของผลไม้ นั่นทำให้ผู้บริโภคคนเมืองที่อยู่แบบ “ครอบครัวเดี่ยว” ภายในบ้าน, ที่พักอาศัยกันอยู่แค่ คนเดียว, 2 คน จะซื้อกล้วยทั้งหวีมารับประทาน ก็อาจจะกินไม่ทัน ดังนั้น E-Mart จึงจัดการแบ่งกล้วย 6 ลูก เรียงตามเวลาสุกให้ผู้บริโภคได้ทานวันละ 1-2 ใบ

ความพยายามเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในร้านสะดวกซื้อที่เมืองไทย เมื่อเรามี “กล้วย” หรือ “แอปเปิ้ล” แบ่งขายใบเดียว หรือ ไม่กี่ซี่ ปริมาณเหมาะกับการทานคนเดียว แถมไม่ต้องปอกเอง แต่ก็แลกกับการที่เราต้องเข้าไปซื้อในร้านสะดวกซื้อทุกวัน ขณะที่การแบ่งขายของ E-Mart ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าไปซื้อทีเดียวแล้วมีกล้วยกินทั้งอาทิตย์ ซึ่งก็มีความเหมาะสมตามสภาพภูมิอาาศและความสะดวกในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน วิธีการใช้ Design Thinking เข้ามาช่วย นอกจากจะตอบโจทย์เรื่องผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยประหยัดทรัพยกรของโลก เมื่อไม่ต้องสูญเสียผลไม้ที่ไม่ได้รับประทาน (Food Waste) ไป ถ้าหากว่าต้องซื้อกล้วยทั้งหวี อย่างไรก็ตามงานนี้จะดีงามมากขึ้นถ้าไม่ได้ห่อด้วยพลาสติก

เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมีภาพจุดวางตระกร้าสินค้าในร้าน Specialty Store อย่าง Sephora ที่ใช้ “สี” มาแยกความต้องการของลูกค้าอย่างง่ายๆ โดยระบุว่า ถ้าหากต้องการผู้ช่วยเลือกสินค้าก็ให้หยิบตระกร้าสีแดง เพื่อที่พนักงานของร้านจะได้เข้าไปแนะนำสินค้า แต่สำหรับลูกค้าที่มีข้อมูล หรือว่าเลือกสินค้าที่ตัวเองคุ้นเคยอยู่แล้ว ก็ให้ใช้ตระกร้าสีดำ

งานนี้ถือว่าใช้ไอเดียที่ง่ายๆ แสนจะง่าย ทั้งในแง่ของความเข้าใจจากลูกค้า แถมยังสร้างประสบการณ์ที่ดีในการช็อปปิ้ง ลูกค้าบางคนก็อยากจะเลือกของเองไม่อยากให้พนักงานมาวุ่ยวายด้วย และยังส่งผลดีกับการบริหารจัดการร้าน เพราะพนักงานจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปถามหรือป้วนเปี้ยนบริเวณที่ลูกค้าตระกร้าดำเดินอยู่ แต่สามารถโฟกัสไปที่ลูกค้าตระกร้าแดงได้เลย

ทั้งสองเคสนี้เป็นตัวอย่างความเข้าใจผู้บริโภคของตัวเองอย่างแท้จริง แล้วเอาไอเดียใส่เข้าได้อย่างน่ารัก เพื่อช่วยแก้ปัญหาของผู้บริโภค ที่สำคัญคือไม่ได้ใช้งบประมาณมหาศาลอะไรเลย หวังว่าเรื่องเล็กๆ น้อยนิดแต่มหาศาลแบบนี้ จะช่วยจุดประกายความคิดให้นักการตลาดทั้งหลาย ได้กลับมานั่งคิดถึงเรื่องที่ตัวเองมองข้ามไป เพราะมันอาจจะช่วยสร้างประสบการณ์ให้การซื้อสินค้าหรือมาใช้บริการของคุณสนุกกว่าคู่แข่งได้มากเชียวละ


แชร์ :

You may also like