HomePR NewsMicrosoft สนับสนุนโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หนึ่งในโครงการเสริมศักยภาพเยาวชนไทยในยุค AI [PR]

Microsoft สนับสนุนโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หนึ่งในโครงการเสริมศักยภาพเยาวชนไทยในยุค AI [PR]

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด มุ่งเป็นกำลังสำคัญให้เยาวชนและคนไทยทุกคนพัฒนาองค์ความรู้ดิจิทัล
ประกาศสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Library) ครั้งแรกในประเทศไทยกับการพัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง และสำนักงานหอสมุดแห่งชาติ ตอกย้ำพันธกิจสำคัญมุ่งสร้างความร่วมมือเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างคนไทยคุณภาพด้วยทักษะด้านดิจิทัล ตั้งเป้าส่งเสริมเยาวชนทุกคนให้ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ ตั้งแต่การมอบพื้นฐานองค์ความรู้การเรียนเขียนโค้ดสำหรับเยาวชนและครูทั่วประเทศ ไปจนถึงการเขียนซอฟต์แวร์เพื่อต่อยอดไปสู่การเป็นนวตกรในอนาคต เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้สำเร็จ

ทั้งนี้โครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ คือ โครงการที่รวบรวมคลังหนังสือเข้ามาไว้บนแพลตฟอร์มออนไลน์บนเว็บไซต์ www.nel.go.th ด้วยความตั้งใจในการพัฒนาคลังองค์ความรู้ดิจิทัลและบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่ออำนวยความสะดวกทุกคนในการเข้าใช้งานและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่อีบุ๊ค อีแมกกาซีน วีดีโอคลิป เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และ ฐานข้อมูลออนไลน์ ที่สามารถค้นหาผ่านระบบสืบค้น ISBN ที่ได้มาตรฐานของสำนักงานหอสมุดแห่งชาติ
พร้อมทั้งมีแผนงานที่จะขยายสู่รูปแบบแอปพลิเคชันภายใน 3 เดือนข้างหน้า เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาเพื่อทุกคน
โดยตั้งเป้าเริ่มต้นจากกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของประเทศชาติ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย สนับสนุนโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Library) 3 ฟีเจอร์หลัก ได้แก่

  1. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ – วางระบบ พัฒนาแอปพลิเคชัน และดูแลระบบการทำงานหลังบ้านทั้งหมด ที่รวมถึงการประมวลผลสรุปรายงานการใช้งาน
  2. แชทบ็อท – ระบบการค้นหาหนังสือด้วย AI เพียงใส่ชื่อหนังสือ พร้อมทั้งถามตอบในเรื่องที่ต้องการ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาค้นหาหนังสือในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
  3. ระบบการเรียนออนไลน์ (E-Learning) – การแนะนำหลักสูตรการเรียนที่น่าสนใจ สร้างบทเรียน จัดตารางการเรียน การอบรมแบบวิดีโอออนไลน์ เพื่อช่วยให้เยาวชนสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมศักยภาพการเรียนรู้ผ่านโลกดิจิทัล

นายปวิช ใจชื่น ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์เห็นความสำคัญของการศึกษาที่ต้องปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล เราจึงทำงานร่วมกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยความเชื่อว่าแพลตฟอร์มที่ทันสมัยจะช่วยส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนไทยได้ดียิ่งขึ้น และทำให้ประเทศไทยก้าวข้ามขีดจำกัดในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้สำเร็จ และเราจะยังคงสานต่อความมุ่งมั่นเพื่อช่วยต่อยอดในการส่งเสริมการเรียนรู้ต่อไป โดยเฉพาะในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นนี้”

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมการจัดหางานเผยว่า 1 ช่วงอายุที่มีผู้ว่างงานมากที่สุด คือ 20-24 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ว่างงานคือแรงงานกลุ่มที่เพิ่งจบการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา สะท้อนให้เห็นว่าผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ยังขาดคุณสมบัติตามที่ตลาดแรงงานต้องการ ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าเยาวชนไทยจะมีทักษะที่พร้อมเสริมประสิทธิภาพในการทำงานยุคดิจิทัลได้ นอกจากโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรไม่แสวงผลกำไรในการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมพร้อมเยาวชนไทยด้วยการฝึกอบรมให้มีทักษะด้านดิจิทัล โดยมุ่งเน้นไปที่ทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ ซึ่งช่วยเสริมสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี ดังต่อไปนี้

กิจกรรม Hour of Code เป็นหนึ่งในหลากหลายโครงการของไมโครซอฟท์ประเทศไทย ที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักของบริษัทฯในการนำประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุค ‘ประเทศไทย 4.0’ อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการพัฒนาและส่งเสริมทักษะและความรู้ด้านดิจิทัลเป็นแคมเปญที่ไมโครซอฟท์จัดขึ้นทุกปี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายเยาวชนให้หันมาสนใจเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และเตรียมตัวให้พร้อมกับโลกยุคดิจิทัล สำหรับประเทศไทย กิจกรรม Hour of Code Thailand เมื่อเดือนธันวาคม 2561 นับเป็นการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 5,000 คน ทั้งนักเรียน คุณครู ผู้ฝึกอบรมในโรงเรียน และผู้พิการจากองค์กรไม่แสวงผลกำไรต่างๆ ที่มีความสนใจเรียนรู้ทักษะการเขียนโค้ด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาบุคลากรคุณภาพอันแข็งแกร่งของประเทศในอนาคต


แชร์ :

You may also like