HomeFinancialเรียนรู้วิธี ‘ใช้เงินทำงาน’ สไตล์ ฟลุค-เกริกพล จากเส้นทางดาราสู่นักลงทุนตัวพ่อ เมื่อความมั่งคั่งไม่มีคำว่าฟลุค แต่ต้องวางแผน

เรียนรู้วิธี ‘ใช้เงินทำงาน’ สไตล์ ฟลุค-เกริกพล จากเส้นทางดาราสู่นักลงทุนตัวพ่อ เมื่อความมั่งคั่งไม่มีคำว่าฟลุค แต่ต้องวางแผน

แชร์ :

 

เปิดทริกการลงทุนสไตล์ ฟลุคเกริกพล มัสยวาณิช เซเลบริตี้สุดหล่อ ที่หลายๆ คนอาจจะอิจฉา เพราะทั้งรวย ทั้งเก่ง โดยเฉพาะการพลิกบทบาทจากดาราขวัญใจวัยรุ่นยุค 90 มาสู่การเป็นนักลงทุนตัวพ่อในปัจจุบัน จนทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยและเริ่มตั้งคำถามว่า เขาเริ่มเรียนรู้การลงทุนตั้งแต่เมื่อไร

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่เกิดขึ้นได้เพราะความฟลุค แต่ต้องมีที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตัวจริงทางด้านการเงินและการลงทุนมาคอยดูแลซึ่งเป็นมุมมองหรืออาจจะเป็นเคล็ดลับในการทำให้เงินลงทุนงอกเงยออกดอกอออกผลให้เป็นที่น่าพอใจของฟลุค ซึ่งเจ้าตัวได้มาเปิดเผย​ให้ฟังภายในงาน “UOB My Bank My Branch” ​ที่ฉายภาพใหม่ในธุรกิจธนาคาร ด้วยการฉีกกฎสาขารูปแบบเดิมๆ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าได้ครบ 3 ไลฟ์สไตล์หลัก ทั้งกลุ่มครอบครัว กลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทำงาน/สตาร์ทอัพ และกลุ่มเจ้าของกิจการหรือกลุ่มผู้ที่มีความมั่งคั่งสูง​

โดยฟลุคได้มาเปิดเผยเคล็ดลับที่ทำให้เงินลงทุนงอกเงย พร้อมทั้งเล่าย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นที่หันมาสนใจเรื่องของการลงทุนมาตั้งแต่ตอนอายุประมาณ 19 ปี หลังจากมีโอกาสก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง และสามารถหารายได้ก้อนโต ซึ่งเป็นค่าตอบแทนจากการเป็นนักแสดง ทำให้มีรายได้เข้ามาตั้งแต่วัยรุ่น โดยในช่วงแรกๆ คุณพ่อของฟลุคเข้ามาช่วยบริหารจัดการเรื่องการเงิน ด้วยการเปิดพอร์ตนำเงินไปลงทุนในหุ้น และในทุกวันก็จะส่งพอร์ตการลงทุนมาให้ดู

ทำให้ฟลุคได้เห็นว่า หุ้นมีขึ้นมีลงไปตามภาวะต่างๆ และทำให้รู้จักการลงทุนผ่านหุ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเมื่อโตขึ้นก็ได้เรียนรู้เรื่องของการบริหารความเสี่ยงในรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติม

โดยปัจจุบันฟลุคยังได้ขยายการทำธุรกิจไปในหลากหลายประเภท จึงทำให้ไม่ค่อยมีเวลาในการเข้ามาบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนต่างๆ ด้วยตัวเอง ดังนั้น จึงใช้วิธีมองหาแบงก์หรือธนาคารผู้ช่วยที่เป็นมืออาชีพเข้ามาดูแลด้านการเงิน และการลงทุนให้ ทำให้สามารถดูแลและบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องของการวางแผนทางการเงิน และการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  ​​

เมื่อมาธนาคาร ควรถามอะไรบ้าง?

ฟลุคแนะนำว่า “เราต้องมีเป้าหมายในใจก่อน ว่าต้องการอะไรจากเงินก้อนนี้ สมมุติว่าคุณเอาเงิน 5 ล้านบาท มาไว้ที่ธนาคาร ในหัวของคุณต้องรู้แล้วว่าคุณไม่ต้องการให้เงินก้อนนี้ลดลงเลย ค่อยๆ ขึ้น ก็จะสามารถตอบได้ระดับนึงแล้ว ว่าคุณเป็นคนที่ต้องการความเสี่ยงน้อย แต่ถ้าคุณต้องการให้เงินมันเติบโตได้มากๆ และไม่คิดจะถอนเงินลงทุนก้อนนี้ออกไปเหมือนผม ก็แปลว่าคุณเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้สูง ซึ่งสิ่งสำคัญอันดับแรกเลย คือ คุณต้องมาพร้อมกับความคิดที่ตกผลึกก่อนแล้วว่า คุณต้องการอะไรจากเงินก้อนนี้และคุณมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้เมื่อไหร่

เพราะหากต้องใช้เงินในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  รูปแบบการลงทุนก็จะเป็นแบบหนึ่ง แต่ถ้าคุณต้องการให้มีเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ ก็จะเป็นการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น ในหัวคุณจะต้องมีคำตอบมาพร้อมแล้วว่า​ จะสู้แค่ไหน สู้ยาวแค่ไหน  ซึ่งหากจะเปรียบเทียบก็คือ คุณต้องรู้ว่าต้องการการจะวิ่ง 4 X 100 หรือจะแข่งมาราธอน เราต้องรู้เป้าหมายตัวเองก่อน ก่อนที่เราจะใช้ให้เงินทำงาน โดยเราจำเป็นต้องรู้ว่า เราจะใช้เค้าไปในทิศทางใด 

ที่สำคัญเลยคือ การมีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีความเชี่ยวชาญ ด้วยการบอกเป้าหมายหรือสิ่งที่เราฝัน เพื่อดูว่าความฝันนั้นจะเป็นไปได้หรือเปล่า คุณไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด เพียงแต่ว่าคุณต้องหาคนที่เก่งที่สุด มาทำงานให้คุณ

วิธีการออมเงินสไตล์ ฟลุค เกริกพล 

หลายๆ คนคงจะสังเกตุได้ว่า ฟลุคนั้นเป็นคนจัดเต็มเรื่องไลฟ์สไตล์ทั้งกิน ช้อป เที่ยวแบบเต็มที่ ทำให้หลายๆ คนอยากรู้ถึงวิธีในการออมของหนุ่มคนนี้ว่ามีวิธีการออมเงินอย่างไร

เคล็ดง่ายๆ ในการเก็บเงินของฟลุคคือ ต้องมีการวางแผน จัดสรร และหาภาระ หากจะขยายความให้เข้าใจกันได้ง่ายมากขึ้น วางแผนการเงิน ก็คือ การจัดสรร แบ่งสัดส่วนการเงินเป็นสำหรับการลงทุน 

“ผมจะจัดสรรเงิน มาลงทุนในคอนโดมิเนียม บ้าน รวมทั้งซื้อของที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น นาฬิกา การลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์ หากมีคนแนะนำให้ลงทุนจะฟังๆ ไว้ก่อน จากนั้นก็ค่อยๆ ลองทำดู แต่ไม่ต้องเยอะมาก และต้องศึกษาก่อนการลงทุนถึงจะดี​ โดยวิธีการลงทุนของผมคือซื้อหุ้นอะไรก็ได้ที่เพื่อนแนะนำ แต่อาจจะไม่ต้องลงทุนมาก โดยผมจะใช้วิธีคิดว่า ถ้าเสีย 10% ก็จะถือว่าเลี้ยงข้าวเพื่อนมื้อหนึ่ง แต่ถ้าลงต่ำมากกว่า 10% ก็จะต้อง cut loss ทันที”

ขณะที่วิธีการอีกด้านหนึ่งคือ หาภาระ ซึ่งในที่นี้คือ การหาวิธีที่จะบังคับให้ตัวเองเก็บเงินแบบมีวินัย​ เช่น การซื้อประกันแบบออมทรัพย์ การลงทุนในกองทุนเพื่อผลประโยชน์ด้านภาษี การเปิดบัญชีการออมแยกออกมาต่างหาก (เช่น บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง บัญชีฝากประจำ บัญชีกองทุนรวม) โดยเปิดใช้บริการธนาคารออนไลน์ ตั้งคำสั่งซื้ออัตโนมัติโดยโอนเงินจากบัญชีเงินเดือน เข้าบัญชีการออมทุกสิ้นเดือน ก็จะจำกัดตนเองให้ใช้เงินตามจำนวนที่เหลืออยู่ในบัญชีเงินเดือนเท่านั้น ทำให้เป็นการบังคับตัวเองไปในตัว และยังสร้างวินัยการออมเงินได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยป้องกันการลืมออมเงินได้อีกด้วย

จากจุดเริ่มต้นที่คุณพ่อป็นผู้เข้ามาช่วยวางแผนการลงทุนให้กับฟลุคในวันนั้น จนมาถึงวันนี้ เมื่อฟลุคมีลูก ก็ได้มีการส่งไม้ต่อ โดยการใช้วิธีการเช่นเดียวกันเพื่อวางแผนทางการเงินให้กับลูก โดยฟลุคได้เปิดพอร์ตเก็บเงินให้ลูกชายพร้อมแนะนำเรื่องการลงทุนเพื่อให้ได้เรียนรู้ในการเลือก และรู้จักความเสี่ยงในการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท

ผมว่าเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะให้ลูกเรียนรู้ แต่เราต้องเรียนรู้ด้วย เพราะหลายอย่างที่ลูกถามเราตอบไม่ได้ เราต้องไปหาความรู้ ได้เรียนรู้เพิ่ม บางอย่างลูกมีศักยภาพด้านเทคโนโลยีสูงกว่าผมด้วยซ้ำ ผมว่าเราต้องเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เสมอ ซึ่งบางครั้งเราก็ต้องยอมจ่ายไปกับการเรียนรู้ แม้เราไม่รู้ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่


แชร์ :

You may also like