HomeBrand Move !!6 เหตุผลกลุ่ม IWG ยังลุยธุรกิจ Co-Working Space เปิดแบรนด์ใหม่ HQ และเตรียมเปิดเพิ่มอีกแบรนด์

6 เหตุผลกลุ่ม IWG ยังลุยธุรกิจ Co-Working Space เปิดแบรนด์ใหม่ HQ และเตรียมเปิดเพิ่มอีกแบรนด์

แชร์ :


แนวโน้มธุรกิจ Co-Working Space หรือพื้นที่สำนักงานให้เช่า ในปี 2562 ดูเหมือนจะไม่ได้หยุดความร้อนแรงลง แม้ JLL (เจแอลแอล) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะรายงานว่า ปีที่ผ่ามามีพื้นที่ของ Co-Working Space จากแบรนด์ต่างประเทศ  เปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นคิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 23,000 ตารางเมตร ส่วนในปีนี้ผู้ประกอบการแบรนด์ต่างๆ ก็ประกาศออกมาแล้วว่าจะพัฒนาพื้นที่ออกมาอีกกว่า 30,000 ตารางเมตร นี่ไม่นับรวมกับผู้ประกอบการหลายรายซุ่มพัฒนาพื้นที่เงียบๆ ไม่ได้ออกมาเป็นข่าว ซึ่งคงมีอีกมากมาย รวมถึงร้านกาแฟหรือคาเฟ่ต่างๆ ที่มักรวมเอา Co-Working Space มาเป็นส่วนหนึ่งของร้านด้วย

ล่าสุด แบรนด์ HQ ผู้ให้บริการเช่าพื้นที่สำนักงาน ในกลุ่ม IWG ซึ่งมีแบรนด์ต่างๆ ในมือ อาทิ Regus (รีจัส) และ SPACES (สเปซเซส) ได้เปิดตัว HQ (เฮชคิว) สาขาแรกในประเทศไทย ที่อาคาร เอสพีอี ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แบ่งเป็นพื้นที่สำนักงาน 910 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยห้องทำงาน 60 ห้อง พื้นที่ทำงาน 188 ที่นั่ง และห้องประชุม 2 ห้อง สามารถใช้พื้นที่ทำงานได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Co-Working ออฟฟิศส่วนตัว และห้องประชุม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เหตุผลสำคัญที่กลุ่ม IWG เข้ามาเปิดแบรนด์ใหม่ในไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาค ทั้งที่ปัจจุบันมีแบรนด์ Co-Working Space เปิดอยู่แล้ว 26 สาขาทั้งในกรุงเทพฯ​ และต่างจังหวัดภายใต้แบรนด์ Regus และ SPACES เป็นเพราะมั่นใจในศักยภาพตลาดของไทย และ 6 เหตุผลสำคัญ คือ

1.จำนวนประชากรของที่มีมาก 69 ล้านคน ยังไม่นับรวมประชากรแฝง ซึ่งเป็นชาวต่างชาติเข้ามาทำงานและธุรกิจภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานให้เช่ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2.การเป็นศูนย์กลางธุรกิจหลากหลายในภูมิภาค บริษัทต่างชาติหลายแห่งเลือกใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการธุรกิจในภูมิภาคมาโดยตลอด เพราะมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อไปยังประเทศต่างๆ การผลักดันของภาครัฐและให้สิทธิพิเศษ เป็นต้น

3.ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มสตาร์ทอัพ กลุ่มคนทำงานอิสระ

4.ความสะดวกสบายของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้การทำงานไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะแต่สำนักงาน

5.การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัยพ์ในรูปแบบมิ๊กซ์ยูส ที่ส่วนใหญ่จะต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่า เพื่อความสมบูรณ์ของโครงการ ซึ่งต้องตอบสนองความต้องการใช้พื้นที่ที่มีความหลากหลาย

6.การเจริญเติบโตของเมืองและเส้นทางระบบขนส่งมวลชน กระจายตัวออกไปนอกเมือง ทำให้ลูกค้าเข้าถึงพื้นที่สำนักงานให้เช่าได้ง่ายและราคาถูกกว่าใจกลางเมือง

คุณโนเอล โค้ก ผู้อำนวยการใหญ่ HQ ประจำประเทศไทย เล่าว่า ความสำเร็จของ Regus และ SPACES ในประเทศไทย ทำให้เข้ามาเปิดตัว HQ สาขาแรกในกรุงเทพฯ ซึ่งตอบโจทย์คนทำงาน ฟรีแลนซ์ และธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทย ใช้พื้นที่รวมประมาณ​1,000 ตารางเมตร ซึ่งแต่ละแบรนด์จะมีการจับกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกัน แบรนด์ SPACES ต้องมีขนาดพื้นที่ 2, 500 ตารางเมตร เน้นกลุ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ มิลเลนเนียม บิสิเนสเทคต่างๆ  ส่วนแบรนด์ รีจัส Regus ต้องการพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร

ไม่เพียงเปิดสาขาแรกของแบรนด์ HQ แต่กลุ่ม IWG ยังเตรียมเปิดสาขาเพิ่มในแบรนด์ต่างๆ ภายในปีนี้ไม่น้อยกว่า 5 สาขาด้วย มีทั้งทำเลพระราม 9 สำโรงและลาดพร้าว นอกจากนี้ ยังจะเปิดแบรนด์ใหม่เพิ่มเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันกลุ่ม IWG มีแบรนด์ในมือ 7 แบรนด์ นอกจาก 3 แบรนด์ซึ่งทำตลาดในประเทศไทยแล้ว ยังมีอีก 4 แบรนด์ที่ยังไม่ได้เข้ามาทำตลาดในไทยอีกด้วย ได้แก่ แบรนด์ No18, Openoffice, BASEPOINT และ Signature by Regus ซึ่ง 1 ใน 4 แบรนด์เหล่านี้กลุ่ม IWG มีแผนจะนำเข้ามาเปิดตัวภายในปีนี้

JLL ยังรายงานอีกว่า นับจากนี้ไปจนถึงปี 2566 กรุงเทพฯ จะมีอาคารสำนักงานสร้างเสร็จใหม่คิดเป็นพื้นที่เพิ่มรวมประมาณ 1.4 ล้านตารางเมตร ในจำนวนดังกล่าวมีพื้นที่ของโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่รวมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการสามย่านมิตรทาวน์ที่จะสร้างเสร็จในปีนี้ โครงการเดอะ ปาร์คของทีซีซี แอสเซ็ท โครงการวัน แบ็งคอกโดยทีซีซี แอสเซ็ท และโครงากรเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้  นับตัวเลขพื้นที่ของอาคารสร้างเสร็จเฉพาะในปี 2565 ปีเดียวมีเข้ามาเพิ่มมากกว่า 400,000 ตารางเมตรเลยทีเดียว  ถ้าตลาดพื้นที่สำนักงานไม่ดีจริงหรือไม่มีดีมานด์รองรับ โครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เม็ดเงินลงทุนมหาศาลเหล่านี้คงไม่กล้าพัฒนาออกมา

 

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้บริหารแบรนด์ HQ มองว่า หากดูผู้ประกอบการในตลาดปัจจุบัน ถือว่ามีจำนวนมากเกินกว่าปริมาณความต้องการใช้พื้นที่แล้ว หากนับรวมเอาพื้นที่ ​ Co-Working Space ที่อยู่ตามร้านกาแฟ หรือคาเฟ่ มาคำนวณอยู่ด้วย  ทำให้เชื่อว่าเริ่มมีการปิดตัวลงของพื้นที่ Co-Working Space  ซึ่งอยู่ตามร้านกาแฟหรือคาเฟ่บ้างแล้ว  จะเหลือแต่ผู้ให้บริการซึ่งเป็นแบรนด์ใหญ่ หรือในทำเลใจกลางเมืองธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งการดำเนินธุรกิจ Co-Working Space ให้อยู่ได้ในปัจจุบัน จะต้องมีเครือข่ายสาขาที่มากพอสมควร และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้ใช้ รวมถึงมีวิธีการทำตลาดอื่นๆ เสริม เช่น การจัดสัมมนา การจัดเน็ตเวิร์คสำหรับธุรกิจ เป็นต้น

 


แชร์ :

You may also like