วันนี้ (27 กุมภาพันธ์) สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 รายในประเทศไทย คือ ธนาคารทหารไทย และ ธนาคารธนชาต ได้จับมือกันแถลงข่าวในเรื่อง “การลงนามในบันทึกข้อตกลงแบบไม่ผลผูกพันทางกฎหมายระหว่าง และธนาคารทหารไทย (TMB) เพื่อรวมกิจการของธนาคารทั้งสอง
Digital Banking เป้าหมายใหญ่แห่งอนาคต
สำหรับเป้าหมายใหญ่ของทั้งสองธนาคารก็คือ การนำเอาศักยภาพที่แข็งแกร่งของทั้งสองธนาคารมารวมกัน เพื่อต่อสู้ในสมรภูมิการเงินยุคดิจิทัลให้ได้
คุณปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TMB อธิบายเพิ่มเติมว่า “ทั้ง 2 แบงก์มีจุดแข็งของตัวเอง ไม่อย่างนั้นทั้งสองแบงก์คงไม่เติบโตอย่าวงก้าวกระโดดมาโดยตลอด สำหรับ TMB ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของ 3 สถาบัน มีจุดแข็งทางด้านนวัตกรรรมและโปรดักท์ รวมทั้งจำนวนลูกค้า Internet Banking 1.5 ล้านราย ส่วนธนชาต เป็นการรวมตัวของ 2 สถาบัน และเป็นเบอร์หนึ่งในสินเชื่อเช่าซื้อ ในอนาคตซึ่ง scale มีผลต่อการแข่งขัน ก็อาจจะนำเสนอสินค้าในฐานลูกค้าเดิมของทั้งสองราย อย่าง TMB ที่มีลูกค้ากว่า 3 ล้านราย ครึ่งหนึ่ง Active บนดิจิทัล ถ้าหากว่าธนชาต นำเสนอสินค้าเช่าซื้อกับคนกลุ่มนี้ได้ก็จะเกิดบริการใหม่ๆ ขณะเดียวกันลูกค้าเดิมของธนชาตก็อาจจะสนใจเรื่องประกัน หรือว่าการลงทุน ซึ่ง TMB มีความเชี่ยวชาญ”
นอกจากนี้ เรื่องของการแข่งขันในตลาด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งการควบรวมในครั้งนี้จะทำให้ทั้งสองธนาคารผสานพลังแล้วขยับเป็นอันดับ 6 ของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตามทางผู้บริหารชี้ให้เห็นว่า อันดับในการแข่งขันไม่สำคัญเท่ากับ “รายได้” หรือว่า Bottom Line ที่เพิ่มขึ้น
ในส่วนของกระทรวงการคลังที่ถือหุ้นธนาคารทหารไทย ก็มองปัจจัยในการลงทุนว่าเป็นเรื่องของความคุ้มค่าและความมั่นคงในอนาคต
พนักงานและสาขา ปรับตัวอย่างไร
ส่วนเรื่องของจำนวนสาขาและพนักงานนั้น ทั้ง 2 ธนาคารยอมรับว่าจะต้องมีการ Re-Location เพื่อปรับสาขาที่ทับซ้อนกันในมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมทั้ง Re-Skill พนักงานให้ทรานฟอร์มตัวเองไปสู่การทำงานที่พร้อมรับมือกับโลกดิจิทัลมากขึ้น
อย่างไรก็ตามทาง คุณสมเจตน์ หมู่เลิศศิริ กรรมการใหญ่ TCAP มองว่า จำนวนสาขาของทั้งสองธนาคาร ซึ่งทางTMB สาขา 400 แห่ง ส่วน ธนชาต สาขา 512 ก็นับว่ายังมีจำนวนไม่มาก ส่วนพนักงาน 8,000 รายของ TMB และ 12,000 คนของธนชาต จะมีความชัดเจนต่อไปว่าจะปรับโครงสร้างอค์กรอย่างไร ซึ่งในขณะนี้อยู่ในกระบวนการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีกหลายเดือนหรืออาจกินเวลาถึง 1 ปี
เช่นเดียวกับเรื่องของ “ชื่อ” และการสร้างแบรนด์ ที่อยู่ในระหว่างกระบวนการทำงาน จนถึงตอนนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเผยแบรนด์ใหม่ออกมาได้เมื่อไหร่