Canon Australia เปิดตัว Kyōyū ชุมชนการแบ่งปันกล้องครั้งแรกของ Canon วิธีการใหม่ที่ถือเป็นนวัตกรรมสำหรับเจ้าของอุปกรณ์ Canon เพื่อสร้างรายได้จากอุปกรณ์ของพวกเขาและเพื่อให้ผู้คนเข้าถึงอุปกรณ์ที่ดีขึ้นเมื่อพวกเขาต้องการ
Canon Australia ทำงานร่วมกับ The Diner ที่ปรึกษาด้านการออกแบบธุรกิจของ Leo Burnett พัฒนารูปแบบธุรกิจที่ disrupt อะไรเดิมๆ ซึ่งรวมถึงแนวคิดในเรื่องของการออกแบบและประสบการณ์ผู้ใช้ ในแบบ user-centred design ซึ่งหมายถึงแพลตฟอร์มที่ช่วยให้สามารถอัปเดตและปรับปรุงประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอแนะของผู้ใช้
Melinda Geertz ซีอีโอของ Leo Burnett Australia กล่าวว่า “เราได้ทำงานกับ Canon มาหลายปีและพวกเขามีความต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ เสมอ มันอยู่ใน DNA ของพวกเขา การทำงานกับเจสันและทีมของเขาเพื่อสร้างและนำเสนอไอเดียใหม่ๆ อย่าง Kyōyū สู่ตลาดนั้นน่าตื่นเต้นมาก มันเป็นวิธีใหม่และแตกต่าง ทำให้ผู้คนได้สัมผัสกับแบรนด์ Canon และเป็นตัวอย่างที่ดีของแบรนด์ที่คิดและทำอะไรที่แตกต่าง”
Kyōyū เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “แบ่งปัน”
Kyōyū จึงเป็นชุมชนแบ่งปันกล้องที่สร้างขึ้นโดย Canon Australia เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับประโยชน์มากขึ้นจากผลิตภัณฑ์ Canon ของพวกเขาและเพื่อมอบวิธีที่ประหยัดและง่ายสำหรับทุกคนในการเข้าถึงอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกในบรรดาผู้ผลิตกล้อง Kyōyū มีกระบวนการตรวจสอบ ID แบบ built-in และ Canon ได้จัดทำประกันคุ้มครองสำหรับเจ้าของที่ให้เช่าอุปกรณ์ Canon ของพวกเขาบนแพลตฟอร์ม และด้วยความที่มันถูกออกแบบมาเพื่อประสบการณ์การใช้งานที่สมบูรณ์แบบ แพลตฟอร์มดังกล่าวจึงมีการใช้เทคโนโลยี Progressive Web App ล่าสุดเพื่อลดอุปสรรคในการเข้าถึงและทำให้สามารถใช้งานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
Jason McLean ผู้อำนวยการฝ่าย consumer imaging Canon Australia กล่าวว่า “ที่ Canon เราเชื่อมั่นในการคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นคือรากฐานของเรา และที่ Canon Australia เราได้สร้างสิ่งนี้ด้วยโปรแกรมและบริการใหม่ๆ อย่าง Kyōyū เพื่อช่วยให้ทุกคนทำสิ่งเหล่านี้ได้มากขึ้น ด้วย Kyōyū เรากำลังสร้างชุมชนที่ขับเคลื่อนโดยความต้องการในการแบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นความรู้, ประสบการณ์ หรือชุดอุปกรณ์ การแบ่งปันในชุมชนช่วยให้ทุกคนสามารถทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันได้มากขึ้น”
สำหรับผู้เช่า Kyōyū อนุญาตให้ผู้คนเช่ากล้องและเลนส์ในพื้นที่ใกล้เคียงของพวกเขาได้ตามต้องการ ผ่านทางเว็บไซต์ Kyōyū ผู้เช่าเพียงสมัครสมาชิก ระบุโลเคชั่นของตน ส่งคำจอง ไปรับอุปรณ์รและเริ่มถ่ายได้เลย สำหรับผู้ให้เช่า Kyōyū เสนอกระบวนการจดทะเบียนอย่างง่ายและอิสระในการกำหนดราคาของตนเอง โดยมีคำแนะนำในการตั้งราคาเล็กน้อยคือ ตั้งราคาที่ไม่สูงมากและการประกันความเสียหายต่างๆ จะถูกจัดให้โดย Canon โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ให้เช่าซึ่งในส่วนของประกันนั้นดำเนินการโดย IAG Limited ในชื่อของ ShareCover National expansion
หลังจากเสร็จสิ้นช่วงนำร่อง Kyōyū มีสมาชิก 190 คนทั่วซิดนีย์ เมลเบิร์น และบริสเบน จากการเปิดตัว Canon จะโปรโมตแพลตฟอร์มผ่านการโฆษณาออนไลน์ ช่องทางสื่อโซเชียลและพันธมิตรค้าปลีก โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ที่ลงทะเบียนให้ถึง 1,500 รายภายในสิ้นปี 2019
แม้ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มแบบ peer-to-peer แต่ Kyōyū ก็เปิดให้กับธุรกิจต่างๆ เช่น ร้านขายกล้องที่สำหรับการปล่อยสินค้าตัวโชว์ให้เช่า ไม่ว่าจะเป็นการเช่าทั่วไป หรือเช่ามาเพื่อให้บริการลองใช้ก่อนซื้อสำหรับลูกค้าที่มีแนวโน้มจะซื้อ
McLean กล่าวว่า “Kyōyū เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสำหรับการทำโปรเจ็กต์ครีเอทีฟที่ใช้งานอุปกรณ์แค่ครั้งเดียว หรือใช้เพื่อทดสอบและทดลองใช้และสัมผัสอุปกรณ์ก่อนที่จะทำการซื้อ เรามีการตอบสนองที่ดีจากพันธมิตรค้าปลีกของเราซึ่งเห็นว่านี่เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากที่ตั้งร้านค้าและสินค้าตัวโชว์เพื่อสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับลูกค้าของพวกเขา”
ขั้นตอนการใช้งาน Kyōyū
1. สร้างลิสต์ของคุณ:
ลงทะเบียนที่ kyoyu.canon.com.au และทำตามขั้นตอนการจดทะเบียนเพื่อรับอุปกรณ์ของคุณออนไลน์โดยใช้เวลาไม่กี่นาที คุณสามารถกำหนดราคาของคุณเองและแจ้งให้เราทราบว่าจะจ่ายเงินได้ที่ไหน
2. อนุมัติการจอง:
สมาชิก Kyōyū คนอื่นๆ สามารถส่งคำขอจองเพื่อเช่าอุปกรณ์ ผู้ใช้ทั้งหมดจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องด้วย ID ดังนั้นผู้ใช้งานจึงสามารถแสดงรายการของที่ต้องการให้เช่าได้อย่างมั่นใจ
3. แชร์อุปกรณ์ของคุณ:
เมื่อกดยอมรับการจอง คุณจะสามารถส่งข้อความถึงผู้เช่าเพื่อนัดหมายการรับส่ง โดยทุกขั้นตอนได้รับการจัดการผ่าน Kyōyū เมื่อการเช่าสิ้นสุดลงคุณจะได้รับการชำระโดยตรงไปยังบัญชีของคุณ
การเปิดตัว Kyōyū เป็นโปรเจคล่าสุดในออสเตรเลียโดย Canon หวังยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้และเพิ่มการมีส่วนร่วมผ่านการถ่ายภาพ เป็นภาคต่อของความสำเร็จที่ไม่หยุดยั้งจากการเปิดตัวของ Canon Experience Store และ SUNSTUDIOS complex ในเซาท์เมลเบิร์นเมื่อปีที่ผ่านมา เป็นคอมเพล็กซ์แห่งแรกในโลกของ Canon ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ผู้บริโภคไปจนถึงมืออาชีพในการทำงาน
นอกจากนี้ทีมงาน Canon Collective Experience ยังจัดอีเว้นท์ 50 ครั้งต่อสัปดาห์ในพื้นที่ทั่วประเทศ ที่ว่าด้วยเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ประสบการณ์ผู้บริโภค, เทศกาลกล้อง, ทัวร์ต่างประเทศ และเวิร์คช้อป Canon Australia ยังทำงานอย่างหนักในการเป็นโฮสต์ของช่องทางโซเชียลมีเดียที่มีการรวมกันของผู้ติดตามมากกว่า 800,000 คนและยังมี Rich content chanel ที่เน้นการเฉลิมฉลองความสำเร็จของผู้ใช้ Canon ซึ่งความเจ๋งอย่างหนึ่งของคือซีรีส์ Tales By Light ทั้งสามซีซั่น ที่ตอนนี้สามารถดูผ่านสตรีมมิ่งได้ทั่วโลกบน Netflix
McLean กล่าวว่า “ที่แคนนอนเรามีอิสระทั่วโลกในการเข้าถึงแต่ละตลาดโดยอิงตามความต้องการและโอกาสในท้องถิ่นและนั่นคือสิ่งที่เราไม่เคยละเลย มีศักยภาพมากมายในการเติบโตของอุตสาหกรรมการถ่ายภาพในออสเตรเลียตามประสบการณ์ที่เรามี เราทดสอบและเรียนรู้อย่างกว้างขวางและรู้สึกว่าเราเข้าใจดีในสิ่งที่ผู้คนต้องการจากเราและหวังว่าจะได้เห็น Kyōyū เจริญเติบโตในปีนี้”
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่ามา ประเด็นที่น่าสนใจ 2 เรื่อง คือ
1. นี่คือยุคที่ ผู้ผลิตอุกรณ์สินค้าอย่าง Canon ลงมือมาสร้าง Eco System เพื่อให้เกิดการแบ่งปัน หมุนเวียนอุปกรณ์ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดประสบการณ์การใช้งาน ขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือคอมมูนิตี้ไม่ให้ต้งแบกรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายมากเกินไป เพราะกล้องและอุปกรณ์เสริมปัจจุบันนี้ราคาแรงไม่เบา การที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ อาจจะเป็นทางออกของธุรกิจ รวมทั้งสร้างปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
2. ปัจจุบันเอเจนซี่ เข้ามามีบทบาทกับการออกแบบ Business Model ให้กับลูกค้า โดยอาศัยมุมมองการ Disrupt ธุรกิจ ไม่ยึดติดกับการขายสินค้าแบบเดิมๆ
แปลและเรียบเรียงโดย Prim NM