HomeStartupเปิดใจ “นาดีม  มาคาริม” แห่ง Go-Jek ถึงการปั้นสตาร์ทอัพและการแข่งขันธุรกิจ Ride-Hailing ในประเทศไทย

เปิดใจ “นาดีม  มาคาริม” แห่ง Go-Jek ถึงการปั้นสตาร์ทอัพและการแข่งขันธุรกิจ Ride-Hailing ในประเทศไทย

แชร์ :

เนื่องในโกาสเปิดตัว GET แอปพลิเคชั่นบริการเรียกรถ รับพัสดุ และบริการออนดีมานด์อื่นๆ เปิดตัวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ “นาดีม มาคาริม”(Nadiem Makarim) ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โกเจ็ก(Go-Jek) ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนจึงเดินทางมาที่ประเทศไทย เพื่อร่วมงานดังกล่าว พร้อมกันนี้เขาเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนไทยพูดคุยด้วย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“พี่ิวิน” อินไซต์ร่วมของคนไทยและอินโดฯ

คุณนาดีม เริ่มต้นโดยการเล่าประสบการณ์การใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างในอินโดนีเซีย ประเทศบ้านเกิดของเขา โดยบอกว่าภายในหนึ่งอาทิตย์เขาบริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างบ่อยกว่าแท็กซี่ซะอีก

“ประเทศไทยเจ๋งมากๆ เรามองเห็นโอกาสมหาศาลทั้งในกรุงเทพและประเทศไทย เพราะว่าคนไทยคุ้นเคยกับมอเตอร์ไซค์รับจ้างอยู่แล้ว คล้ายๆ กับที่อินโดนีเซียซึ่งมีทั้งแท็กซี่และพี่วินจำนวนมาก โดยส่วนตัวผมเองอาจจะใช้บริการแท็กซี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ใช้บริการมอเตอร์ไซค์ถึง 2 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว นอกจากนี้ Passion ในเรื่องอาการ ที่ประเทศไทยก็เข้มข้นมากเช่นเดียวกัน” เขาเล่า

จากอินไซต์ที่คล้ายคลึงกันของคนไทยและอินโดนีเซีย กลายเป็นความร่วมมือระหว่าง Go-Jek กับผู้บริหารคนไทยอย่าง คุณภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ จุดเด่นคือ อาศัยเทคโนโลยีระดับโลกของ Go-Jek มาใช้งานกับตลาดเมืองไทย โดยปรับให้ให้เข้ากับคนไทย ด้วยทีมงานคนไทยและใช้เวลาศึกษาตลาดก่อนเปิดตัวถึง 1 ปี เพื่อศึกษาทั้งอินไซต์ฝั่งผู้ใช่้งาน และทางฝั่งวินมอเตอร์ไซค์ รวมทั้งสร้างฐานร้านค้าที่เข้าร่วมอยู่ในฐานข้อมูลของ GET จนถึงช่วงเวลาที่เปิดตัวมีร้านค้าอยู่ในระบบมากถึง 20,000 ร้านค้า และตัดสินใจเปิดให้บริการในช่วงแรก 3 บริการ ประกอบด้วย GET WIN, GET DELIVERY, GET FOOD และการทดลองใช้งาน 2 เดือนแรกก็พบว่ามีผู้ใช้งานถึง 2 ล้านครั้ง รวมระยะเดินทางกว่า 3 ล้านกิโลเมตรและมีที่วินเข้าร่วมโครงการทะลุ 1 หมื่นราย และพี่วินที่ใช้ GET อย่างจริงจังก็มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า

AI ที่เข้าใจผู้ใช้งาน

สำหรับเทคโนโลยีที่ Go-Jek ขนมาใส่ใน GET ก็เช่น AI ที่เรียนรู้การใช้งานของ User รายนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้และแนะนำร้านค้ากับเมนูมที่สั่งประจำมาให้เมื่อได้เรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้งานมาระยะหนึ่งแล้ว หรือการออกแบบ UX – UI ให้ใช้งานง่ายสุดๆ จิ้ม 3 ครั้งก็สั่งอาหารได้แล้ว รวมทั้งการใช้งานอื่นๆ เช่น เสิร์ชหาอาหารจาก “เมนู” ได้ด้วย ไปจนถึงเมนูแนะนำตามช่วงเวลา ช่วงเที่ยงจะนำเสนอร้านอาหารที่ทำได้ไวไม่ต้องเสียเวลาปรุงนาน ยามบ่ายก็โชว์อาหารว่าง ทางฝั่งของผู้ขับขี่ก็ปรับแผนที่ให้ง่ายขึ้น เช่น จากเดิมที่ประตูของห้างสรรพสินค้าจะถูกระบุด้วยตัวอักษร เช่น ประตู A, B ก็เปลี่ยนชื่อเป็น ประตูข้างสตาร์บัคส์ ซึ่งสอดคล้องกับการทำความเข้าใจและสื่อสารมากกว่า

“ที่จาการ์ต้าเราขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีผ่านทาง Application ในโทรศัพท์มือถือ และเราทำได้ดีเทียบเท่าหลายๆ เมืองในประเทศจีนเลยทีเดียว และอาจจะดีกว่าบางเมืองของจีนด้วยซ้ำ” คุณนาดีม เล่าให้ฟังถึงสภาพการใช้งานโทรศัพท์ในประเทศต้นกำเนิดของเขา และนี่คือเหตุผลที่ทำไมเขาถึงมั่นใจว่าเทคโนโลยีของ Go-Jek เมื่อนำมาใช้แล้วจะเอาใจผู้บริโภคคนไทยได้อยู่หมัด

Blue Ocean ที่ยังเติบโต 

หลายคนมองว่า GET เปิดตัวในประเทศไทยช้าไปหรือไม่ ในเมื่อคู่แข่งทั้งหลายต่างก็เดินหน้าสร้างแบรนด์กันไปพักใหญ่แล้ว และดูเหมือนว่าในบริการอย่าง Delivery จะมีคู่แข่งหลายรายที่แข็งแรงในตลาด เรื่องนี้ทางคุณภิญญา มองว่าการ คู่แข่งที่แท้จริงของธุรกิจตอนนี้นี้คือพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งยังใช้บริการเรียกรถลักษณะนี้เป็นเปอร์เซนต์ต่ำมาก แค่เลขตัวเดียวเท่านั้น ดังนั้นผู้ให้บริการทุกรายยังเติบโตได้อีกมหาศาล โจทย์ใหญ่สำหรับ GET ก็คือ การทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งาน GET ส่วนพี่วินที่เคยเจ็บมาเยอะกับแอปพลิเคชั่นอื่นก็ต้องทำให้หันมายอมรับงานของ GET ให้ได้ เพราะยิ่งมีผู้ขับขี่ในระบบมากขึ้น ก็ย่อมมีโอกาสที่จะให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วขึ้นด้วย

นาดีม มาคาริม(ซ้าย) – ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์(ขวา)

Super-App หนทางสร้างกำไรของ Ride Hailing 

ท้ายที่สุดแล้ว เกมการแข่งขันในธุรกิจ Ride Hailing ดูเหมือนว่าจะมุ่งหน้าไปที่การเป็น Super-App ตอบโจทย์หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงิน เหมือนที่ในอินโดนีเซีย Go-Pay เป็นบริการ Cashless ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเลยทีเดียว ซึ่งทางคุณนาดีมก็เผยท่าทีชัดเจนว่า บริการแบบนี้จะเข้ามาในประเทศไทยแน่ๆ เพียงแต่รอเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งในลำดับแรกตอนนี้ดูเหมือนจะเร็วเกินไปที่จะระบุระยะเวลา แต่ในประเทศอื่นๆ ในเอเชียก็มีบริการมากแค่ 3 บริการในไทย เช่น ที่สิงคโปร์มีบริการรถยนต์ด้วย ส่วนที่ฟิลิปปินส์ Go-Jek เพิ่งซื้อกิจการบริษัท e-Wallet แห่งหนึ่งมา

“ในที่สุดมันจะกลายเป็น Super-App ซึ่งเราก็ดีไซน์สถาปัยตกรรมของแพล็ตฟอร์มเราให้เดินไปมในแนวทางนั้นอยู่แล้ว ผู้ใช้งานต้องการทางเลือก รวมทั้งอิสระที่จะเลือก”

อย่าวงไรก็ตามประเด็นที่เขาเน้นย้ำว่าจะทำให้แอฟพลิเคชั่นเติบโตอย่างยั่งยืนก็คือ

“ท้ายที่สุดแล้วการแข่งขันในระยะยาวของธุรกิจนี้ คือการแข่งกันแย่ง Talent”

“ผมคาดหวังเรื่องการสร้างงาน และสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ในอินโดนีเซียเราช่วยให้เกิดการจ้างงานที่เกี่ยวพันกับคนถึง 1.3 ล้านคน และ 80-90% ของออร์เดอร์ Food Delivery ที่เข้ามาเป็นร้าน Mom and Pop Shop(ร้านโชว์ห่วยหรือร้านขนาดเล็ก) รวมทั้งก็อยากให้ผู้ใช้งานเกิดประสบการณ์ที่ดีกับ GET”

ซึ่งหลังจากที่ GET เปิดบริการอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่มา ก็มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 65% ภายในเดือนเดียว ทำให้จำนวนดาวน์โหลดบนแอพสูงกว่า 300,000 ครั้ง ส่วนเรื่องของ GET Food 70% ของร้านค้าทั้งหมดในแอปพลิเคชั่นเป็นร้านสตรีทฟู้ด และร้านอาหารขนาดเล็กและกลาง ซึ่งในบรรดาร้านอาหารขายดี ก็ทำรายได้จากการขายอาหารผ่านบริการจัดส่งได้เพิ่มขึ้นถึง 40% ต่อจากนี้ก็จะเดินหน้าให้บริการครบทั้ง 50 เขตในกทม. ภายในวันที่ 1 เมษายน ปีนี้

Go-Jek เป็นสตาร์ทอัพระดับ Unicorn ตั้งแต่ปี 2014 หลังจากระดมทุนทะลุ 1.5 พันล้านเหรียญ และล่าสุดในเดือนมกราคม 2019  ก็เพิ่งระดมทุนเพิ่มได้อีก 2 พันล้านเหรียญ คาดการณ์ว่าปัจจุบันมูลค่าของ Go-Jek น่าจะอยู่ที่ 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนของ นาดีม มาคาริม เขาจบจากการศึกษาจาก Brown University ในระดับปริญญาตรี ก่อนจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจาก Harvard University School ที่นี่เอง นาดีม เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับ Anthony Tan และ Hooi Ling Tan 2 ผู้ก่อตั้ง Grab (ทั้ง 3 คนเรียน MBA รุ่นปี 2011)


แชร์ :

You may also like