HomeCreativityNetflix Vs Oscar ศึกนี้ทั้งรัก ทั้งแค้น ทั้งออดอ้อน…ดราม่าและโรแมนติคยิ่งกว่าบทหนังเรื่องไหนๆ

Netflix Vs Oscar ศึกนี้ทั้งรัก ทั้งแค้น ทั้งออดอ้อน…ดราม่าและโรแมนติคยิ่งกว่าบทหนังเรื่องไหนๆ

แชร์ :

Roma เป็นภาพยนตร์ที่ Netflix สร้างสรรค์ขึ้นมา และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะคว้ารางวัล Best Picture บนเวที Oscar ครั้งที่ 91 ที่ผ่านมาให้ได้ แต่ผลปรากฏว่า Netflix เจ้าของลิขสิทธ์หนังเรื่องนี้ ต้องผิดหวังอย่างแรง…จนกลายเป็น “ปม” ที่ Netflix เกิดอาการงอนอย่างรุนแรงและตอบโต้ด้วยการ ส่งโฆษณาชุดใหม่โดยมี Key Message สำคัญ “Make Room for Others” ส่งสัญญาณไปยังออสการ์ ให้เปิดใจแบ่งพื้นที่ให้คนอื่นบ้าง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Roma หนังที่ Netflix ทุ่มสุดตัว เพื่อคว้า “กล่อง”

Roma เป็นภาพยนตร์ขาว-ดำ เล่าเรื่องครอบครัวๆ หนึ่งในเมืองโรม่า ที่ “โซเฟีย” เพิ่งแยกจากสามี แต่เธอยังไม่พร้อมที่จะบอกกับลูกๆ ทั้ง 4 คน โชคดีที่ยังมีสาวใช้ “คลีโอ” ที่ช่วยทุกสิ่งทุกอย่าง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว หนังเล่าเรื่องครบรสทั้งดราม่าขั้นสุด โรแมนติค สอดแทรกมุขตลก ผลงานเรื่องนี้เป็นของ Alfonso Cuarón ผู้กำกับชาวแม็กซิกัน ที่เคยมีผลงานที่เราประทับใจมาแล้วอย่างเช่น A Little Princess (1995), Children of Men (2006) และ Gravity(2013)

Netflix ซื้อลิขสิทธิ์เรื่องนี้มาแบบ Full-License ครอบคลุมลิขสิทธิ์ทุกด้าน และจากทุนสร้างของหนังเรื่องนี้ 15 ล้านเหรียญสหรัฐ Netflix ใช้เงินถึง 30 ล้านเหรียญโปรโมทภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยเริ่มต้นจากการจ้างทีมงานผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่ถนัดทำแคมเปญเพื่อสร้างกระแสให้ได้รางวัล การใช้งานถึงเท่าตัวของทุนสร้างนี้ทำให้ Roma เป็นภาพยนตร์ที่ใช้งบประมาณการตลาดสูงที่สุดแซงหน้า หนังเรื่อง The Social Network ที่ใช้ไป 25 ล้านเหรียญทันที

รายละเอียดของแคมเปญการตลาด อย่างเช่น ซื้อบิลบอร์ทั่งเมืองลอสแองเจิลลีส ส่งช็อกโกแลตพร้อมจดหมายที่เขียนด้วยลายมือของ Yalitza Aparicio นักแสดงนำของเรื่อง ซึ่งเข้าชิงรางวัลสาขา Best Actress ด้วย ทั้งหมดนี้เพื่อสะกดจิตสมาชิกของออสการ์ที่มีสิทธิ์โหวตราว 7,000 คน หลังจากหนังเรื่องนี้เดินหน้าคว้ารางวัลมาจากหลายเวทีแล้ว รวมทั้งกระแสดีสุดๆ จนขยายโรงฉายเป็น 500 แห่งใน 40 ประเทศ และกว่า 100 แห่งในสหรัฐอเมริกา และแน่นอนว่าฉายใน Netflix เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม เพื่อทำให้ผู้ชมจำนวนมากที่เป็นแฟน Netflix อยู่แล้ว ได้ดูช่วงใกล้ๆ ระยะเวลาตัดสินออสการ์ ซึ่งจะมีขึ้นช่วงปลายๆ กุมภาพันธ์

เหตุผลสำคัญที่ Netflix ต้องจริงจังกับเรื่องนี้ ขนาดนี้ก็เพราะหวังว่า Roma จะช่วยยกระดับแบรนด์ Netflix ในวงการภาพยนตร์ หลังจากประสบความสำเร็จมาแล้วจากการสร้างแบรนด์ในคอนเทนต์ประเภทซีรี่ส์ การได้รางวัล Best Picture จากเวลาออสการ์จะเป็นเครื่องหมายการันตีให้ Netflix ได้ภาพลักษณ์ของความ “พรีเมี่ยม” และ “คุณภาพ”

แต่เมื่อประกาศผลออกมา กลายเป็นว่า Green Book คว้ารางวัล Best Picture ไปครองชนิดหักปากกาเซียน นักวิจารณ์บางคนเรียกว่านี่คือภาพยนตร์ที่แย่ที่สุดที่ได้รางวัล Best Picture นับตั้งแต่เรื่อง Crash ในปี 2006 เป็นต้นมา

ภายในไม่ถึง 2 อาทิตย์คนอกหักอย่าง Netflix ก็ส่งโฆษณาชุด Make Room ออกมาเพื่อตอบโต้สมาชิกออสการ์ทันที โดยเล่าเรื่องผ่านนักแสดงที่เคยพลาดหวังจากเวทีต่างๆ แล้วตั้งคำถามสำคัญ เช่น คุณเคยอยู่ในห้องที่คุณค้นพบว่าคุณแตกต่างจากคนอื่นไหม โลกนี้มีพื้นที่มากมาย แต่มันกลับถูกจำกัดไว้ ฯลฯ เป็นการโยนแรงกดดันไปสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ขนานใหญ่

https://www.youtube.com/watch?v=Hx7Nbm_px1c

เส้นทางการคว้าชัยของ Netflix บนเวทีออสการ์ยังคงต้องพยายามต่อไป สมาชิกหลายคนในออสการ์เอง ก็รับรู้กระแสการเฟื่องฟูของ Online Streaming ซึ่งปีนี้การแข่งขันรุนแรงขึ้นแน่ๆ เพราะ Disney, Apple, Amazon ต่างก็เผยไต๋ออกมาแล้วว่าจะจริงจังในธุรกิจคอนเทนต์ให้มากขึ้นโดยลุยแพล็ตฟอร์มของตัวเอง ยักษ์ใหญ่เหล่านี้พร้อมจะเทเงินเข้ามาเพื่อทำการตลาด สร้าง Original Content ซึ่งนั่นเท่ากับแย่งลูกค้าที่ดูหนังโรง แต่ในขณะเดียวกันก็มีเงินกว้านซื้อลิขสิทธิ์ผลงานชั้นดีมาอยู่ในเครือซึ่งเป็นการสนับสนุนคนสร้างหนัง หรือไม่ก็อาจจถึงขั้นซื้อค่ายสตูดิโอหนังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตัวเองเลยก็เป็นได้?!?

Eco-System ระหว่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูด กับ Online Streaming จึงกลายเป็นการต่อสู้-พึ่งพาอาศัย ที่ทั้งรัก-ทั้งเกลียด และออดอ้อน-ง้องอน กันไปมาอยู่แบบนี้

“Oscar” มนต์ขลังที่ต้องท้าทายกระแสดิจิทัล

นอกเหนือจากเรื่องผลรางวัลที่เอามาคิดในมุมธุรกิจแล้วมีเรื่องราวที่เราต้องติดตามต่อแล้ว ตัว “ออสการ์” เองก็มีเรื่องราวในแง่มุม “มีเดีย” ที่มีประเด็นน่าสนใจไม่น้อย เมื่อ Oscar ครั้งที่ 91 นี้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ที่ “ไม่มี” พิธีกร 

การที่ออสการ์ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงาน ก็เพราะว่าในระยะหลังเรตติ้งของออสการ์ดำดิ่ง ช่อง ABC เจ้าของลิขสิทธิ์ถ่ายทอดเองก็เผชิญหน้ากับปัญหาการขายพื้นที่โฆษณา ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นโมเมนต์ที่คนทั่วโลกจับตามอง แต่ราคาและการที่สามารถรับชมเฉพาะไฮไลต์ช่วงสำคัญๆ ทางออนไลน์ ก็ทำให้มีผู้ชมถ่ายทอดสดลดลง นั่นทำให้ออสการ์รู้ดีว่าต้องทำอะไรบางอย่าง และสิ่งที่เราสังเกตเห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การที่ “ไม่มีพิธีกร”

หลายปีที่ผ่านมาเมื่อมีพิธีกรคนเดียวรันตลอดอีเว้นท์ กลายเป็นความเสี่ยงสูง ถ้าหากว่า “สคริปต์” หรือว่า “บารมี” ของพิธีกรคนนั้นไม่มากพอ ก็พาลทำให้ออสการ์กลายเป็นโชว์ที่แสนจะน่าเบื่อทั้งรายการ แต่ถ้าหากว่าพิธีกรคนนั้นทำได้ดี บิ๊กอีเว้นท์ในปีนั้นก็ “รอด” นั่นเท่ากับเอาความเสี่ยงไปแบกไว้ที่คนๆ เดียว … อีกทั้งการที่ตัดพิธีกรออก ยังช่วยย่นระยะเวลาในงานให้สั้นลง โดยนับเวลาถ่ายทอดสดแล้ว Oscar รอบนี้ใช้เวลาน้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 30 นาที

ไม่ใช่แค่เรื่องพิธีกรเท่านั้น “โชว์” ในออสการ์ครั้งนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นอีเว้นท์ที่โชว์ “เพลง” ยิ่งใหญ่ที่สุดรองจาก Grammy Awards โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่ได้เรตติ้งดีที่สุดในการประกาศผลรางวัลออสการ์ในครั้งนี้คือ โชว์เพลงคู่ของ Lady Gaga – Bradley Cooper แถมค่ำคืนนั้น Lady Gaga ยังสร้างประวัติศาสตร์เป็นคนแรกที่คว้าทั้ง Oscar, Grammy Awards, BAFTA และ Golden Globe ภายในปีเดียวกัน รวมทั้งกล่าสุนทรพจน์ขณะรับรางวัลได้อย่างน่าประทับใจ

จาการปรับตัวดังที่กล่าวมา รวมทั้งโมเมนต์เด็ดๆ ก็ทำให้เรตติ้งของออสการ์ในปีนี้ขยับขึ้นจาก 6.8 หรือมีผู้ชม 26.5 ล้านคนในปี 2018 มาเป็นเรตติ้ง 7.7 หรือผู้ชมจำนวน 29.6 ล้านคนในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าปีที่แล้วเป็นปีที่มีผู้ชมน้อยที่สุด ปีนี้กลับเป็นปีที่ออสการ์อยู่ในจุดที่มีผู้ชมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ Academy Awards เลยทีเดียว

Source

Source

Source

Source

 


แชร์ :

You may also like