HomePR News“เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” จ.ตรัง ผนึกพลังเครือข่ายและจิตอาสา ปลูกหญ้าทะเลและป่าโกงกาง ช่วยลดโลกร้อนสาเหตุหลักของภัยแล้ง [PR]

“เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” จ.ตรัง ผนึกพลังเครือข่ายและจิตอาสา ปลูกหญ้าทะเลและป่าโกงกาง ช่วยลดโลกร้อนสาเหตุหลักของภัยแล้ง [PR]

แชร์ :

เอสซีจี โดย นายศาณิต เกษสุวรรณ ผู้อำนวยการ-ธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมกับ นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ภาคีเครือข่าย และจิตอาสา ดำเนินกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” จ.ตรัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะทรงประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ด้วยการปลูกหญ้าทะเลและป่าโกงกางในพื้นที่ชุมชนบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง รวม 15 ไร่ เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง พร้อมวางบ้านปลาสำหรับเป็นแหล่งอนุบาลสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล โดยตั้งเป้าวางให้ครบ 400 หลังในปี 2562 ควบคู่การจัดการขยะชุมชนชายฝั่ง เพื่อดูแลรักษาระบบนิเวศชายฝั่งทะเลอย่างครบวงจรและยั่งยืน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับพื้นที่จังหวัดตรัง เอสซีจีได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเครือข่ายจิตอาสา ปลูกต้นไม้จากภูผาสู่มหานที ภายใต้กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” จ.ตรัง ด้วยการปลูกหญ้าทะเล 2,000 ต้น ในพื้นที่
2 ไร่ และปลูกป่าโกงกางอีก 300 ต้น ในพื้นที่ 2 ไร่ ณ ชุมชนบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง จากเดิมที่ได้ร่วมกับชุมชนตั้งแต่ปี 2559 ในการปลูกหญ้าทะเลไปแล้วกว่า 14,000  ต้น ในพื้นที่ 15 ไร่ และปลูกป่าชายเลนไปแล้วกว่า 1,400 ต้น ในพื้นที่ 15 ไร่ โดยใช้พันธุ์หญ้าทะเลจากการเพาะพันธุ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชัง บ้านพรุจูด อ.สิเกา จ.ตรัง และในปี 2562 นี้ เมื่อชุมชนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์หญ้าทะเลและป่าโกงกาง จึงเริ่มเพาะพันธุ์ขึ้นเองจากภูมิปัญญาชุมชน ผนวกกับองค์ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาดูงานที่มูลนิธิอันดามัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด อ.สิเกา จ.ตรัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

นอกจากนี้ เอสซีจียังได้ร่วมกับชุมชนบ้านมดตะนอย และหน่วยงานจากภาครัฐ ดูแลระบบนิเวศและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ด้วยการวางบ้านปลาที่หล่อขึ้นจากนวัตกรรมปูนเอสซีจี (ปูนคนใต้) ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง และทนต่อซัลเฟตและคลอไรด์จากน้ำทะเล เพิ่มอีก 20 หลัง จากเดิมที่วางไปแล้วจำนวน 320 หลัง ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อใช้เป็นแหล่งอนุบาลสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล โดยมีภาคการศึกษาเป็นเครือข่ายที่จะช่วยวัดผลสำเร็จของโครงการอนุรักษ์ชายฝั่งอย่างยั่งยืน

เอสซีจี ยังคงมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายจิตอาสาทั่วประเทศ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญ พร้อมเชิญชวนทุกภาคส่วนให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” ผ่านการดำเนิน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง” กิจกรรม“เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ”  และกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย”  เพื่อสร้างพลังที่เข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การผลักดันสังคม และชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เกิดความยั่งยืน และสร้างโลกที่น่าอยู่สำหรับคนรุ่นต่อไป


แชร์ :

You may also like