“เถลิงราชสมบัติ รัชกาลที่ ๑๐” หนังสือพิมพ์มีชีวิตโครงการพิเศษ ที่จัดพิมพ์ปก “พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พร้อมพระราชประวัติ เเละเหตุการณ์สำคัญ” ลงในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับพิเศษ ในวันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พร้อมกันที่แผงหนังสือทั่วประเทศ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เชิญคนไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของแผ่นดินไทย ไทยรัฐร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบันทึกประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของแผ่นดินไทย จัดทำหนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษ
“เถลิงราชสมบัติ รัชกาลที่ ๑๐” ในวันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เพื่อให้พสกนิกรได้เก็บหนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษเป็นที่ระลึก ที่บันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญให้ประชาชนชาวไทยได้รับรู้ สามารถใช้ควบคู่กับแอปพลิเคชัน Thairath AR
ความพิเศษของหนังสือพิมพ์ฉบับ “เถลิงราชสมบัติ รัชกาลที่ ๑๐” คือ การพิมพ์ปกพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ ๑๐ จากผลงานของศิลปิน “คุณยุทธกิจ ประสมผล” ซึ่งเคยฝากผลงานมาเเล้วในโครงการ ภาพปกพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หนังสือพิมพ์มีชีวิตโครงการพิเศษ “ไทยรัฐร่วมพสกนิกรไทย ส่งใจสู่ฟ้าอาลัยพ่อ”
นอกจากปกที่ทรงคุณค่า อัดเเน่นด้วยเนื้อหาอาทิ พระราชประวัติ เเละเหตุการณ์สำคัญ จุดเด่นอีกส่วนคือการนำเทคโนลียี AR มาช่วยขยายความเนื้อหาให้เห็นภาพ เเละทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี AR ใช้ร่วมกับฟังก์ชั่นของแอปพลิเคชัน Thairath AR นำเสนอประสบการณ์การรับชม แสง สีเสียง และสื่อประสม ในรูปแบบ คลิปวิดีโอภาพแกลอรี่ และ Immersive Graphic คือ
– ใช้งานกับหนังสือพิมพ์ฉบับ “เถลิงราชสมบัติ รัชกาลที่ ๑๐”
- เนื้อหา AR จะเป็นการ Live Streaming จากระบบ โดยไม่ต้องโหลดไว้ก่อนเริ่มใช้งาน
- เพิ่มการเเสดงผลภาพ 360 องศา และแชร์ไปยังโซเชียล
ฟังก์ชั่นหลักๆ ของแอปพลิเคชั่น Thairath AR คือ
- การแสดงผลเนื้อหากราฟิก 3 มิติเสมือนจริง แสง สีเสียง วีดีโอ และภาพแกลอรี่
- แอปพลิเคชันจะสั่งงานให้กล้องในโทรศัพท์มือถือทำงานจับสัญญลักษณ์เพื่อแสดงผลกราฟิกต่างๆ
- แอปพลิเคชันจะสามารถแสดงผลได้ต่อเมื่อโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตของคุณเชื่อมต่อกับสัญญานอินเทอร์เน็ต เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเต็มอิ่มไปกับประสบการณ์สุดประทับใจได้เเล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.thairath.co.th/thairathar
๓ จุด AR แนะนำ
เทคโนโลยี AR ใช้ร่วมกับฟังก์ชั่นของแอปพลิเคชัน Thairath AR นำเสนอในรูปแบบ Immersive Graphic
แนะนำที่ ๑ : หน้าปกหนังสือพิมพ์มีชีวิตโครงการพิเศษ “เถลิงราชสมบัติ รัชกาลที่ ๑๐”
แนะนำที่ ๒ : ๓ เครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะมีเครื่องประกอบพระราชพิธีที่สำคัญอยู่หลายประการ เครื่องประกอบพิธีที่แสดงถึงสัญลักษณ์แห่งการขึ้นเสวยราชสมบัติ ที่สำคัญอีก ๓ ประการ ได้แก่
๑. “เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์” ประกอบด้วย ๕ อย่างคือ
– พระมหาพิชัยมงกุฏ
– พระเเสงขรรค์ชัยศรี
– ธารพระกร
– วาลวิชนี เเละพระเเส้จามรี
– ฉลองพระบาทเชิงงอน
– พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์
แนะนำที่ ๓ : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ ๑ – รัชกาลที่ ๑๐
หนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษ “เถลิงราชสมบัติ รัชกาลที่ ๑๐” หนังสือพิมพ์มีชีวิตโครงการพิเศษ ที่จัดพิมพ์ปก “พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พร้อมพระราชประวัติ เเละเหตุการณ์สำคัญ วางจำหน่ายในวันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒
หนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษยังคงราคาจำหน่าย 10 บาท/ฉบับ เพื่อให้ประชาชนทุกระดับชั้นมีโอกาสได้เก็บไว้เป็นที่ระลึกหาซื้อได้พร้อมกันที่แผงหนังสือทั่วประเทศ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒
รายการไทยรัฐนิวส์โชว์ ได้มีการปรับโฉมให้ตระการตา นำเสนอในส่วน ID, Interlude เข้ารายการ ฉากรายการพิเศษ รวมถึงชิ้นข่าวต่างๆ ถูกจัดทำขึ้นพิเศษเพื่อให้ออกมาสมพระเกียรติที่สุด
ทีมเจ้าหน้าที่ออกแบบที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปดูงานที่พระบรมหาราชวัง เเละพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เพื่อเก็บข้อมูล และเข้าร่วมอบรมความรู้กับ กสทช ในการบรรยายพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วย เพื่อจะได้เข้าใจถึงความเป็นมาของพระราชพิธี สามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาเป็นผลงานได้อย่างเข้าใจเเละถูกต้อง
งาน Interlude, ID สถานี ที่เรียงร้อยเรื่องราวจากสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธี หมู่พระมหามณเฑียรในพระบรมหาราชวัง พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ ตลอดจนเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ทั้ง 5 อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นกษัติย์ของไทยที่สืบทอดกันมาแห่งราชวงศ์จักรี สิ่งต่างๆ นี้ได้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างวิจิตรบรรจง ซึ่งมีแต่เพียงไทยรัฐทีวีเท่านั้นที่สามารถถ่ายทอดความยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรมนี้ให้ปรากฎสู่สายตาผู้ชมทางโทรทัศน์ได้
นอกจากชิ้นงานดังกล่าวแล้ว ฉากรายการในวันพระราชพิธีก็ถูกออกแบบขึ้นมาพิเศษ ได้ใช้โทนสีขาวทอง สีบริสุทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีสรงมูรธาภิเษก เพื่อให้สมพระเกียรติ ซึ่งงานในเครือไทยรัฐได้ใช้ชุดสีนี้ เป็น Theme สีหลักในการออกแบบ นอกจากนั้นลวดลายประดับกระจกยังได้แรงบันดาลใจจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ที่ประดิษฐานพระราชบัลลังก์ อีกด้วย เป็นการอัญเชิญสิ่งที่มีความหมายจากประวัติศาสตร์ เข้ามาผสมผสานกับการรายงานข่าวสมัยใหม่ได้อย่างสวยงาม เหมาะสมและทรงคุณค่า