จากห้องเล็กๆ ที่คับแคบในหอพักมหาวิทยาลัยในฮ่องกง SZ DJI Technology ได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นผู้ผลิตโดรนที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา DJI ได้เข้าร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนที่ถูกรัฐบาลสหรัฐฯ มองว่าเป็นภัยคุกคามด้านความปลอดภัยเนื่องจากดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์กับหน่วยข่าวกรองของปักกิ่ง กองทัพสหรัฐฯ สั่งห้ามการใช้โดรนจาก DJI ในปี 2017 เนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัย
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงความมั่นคงแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำแก่บริษัทอเมริกันต่างๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับโดรนที่ผลิตในประเทศจีน แม้ว่าการแจ้งเตือนไม่ได้ระบุชื่อผู้ผลิตเฉพาะ แต่โดรน 80% ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดานั้นคาดว่ามาจาก DJI ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ที่เซินเจิ้น
รัฐบาลสหรัฐฯ ยังรายงานว่ากำลังพิจารณาให้ผู้ให้บริการระบบเฝ้าระวังของจีนรวมถึง Hikvision Digital Technology และ Dahua Technology ถูกขึ้นในบัญชีดำการค้า ทำให้ไม่สมารถเข้าตลาดสินค้าเทคโนโลยีของสหรัฐได้อีก
“เราไม่มีเวทย์มนตร์เพื่อทำนายอนาคต” โฆษกของ DJI กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี “เช่นเดียวกับคนอื่นๆ เรากำลังติดตามการเจรจาอย่างต่อเนื่องระหว่างจีนและสหรัฐฯ”
เขากล่าวว่าธุรกิจของ DJI “ไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ” จากข้อพิพาททางการค้าของทั้งสองประเทศ
โฆษกยังกล่าวว่าเป็นเรื่องยากสำหรับ DJI ที่จะคาดเดาเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นต่อไป และกล่าวเสริมว่าสิ่งที่ทำได้คือ “ให้บริการลูกค้าของเราในสหรัฐอเมริกาและจีนอย่างดีต่อไป และนำเทคโนโลยีโดรนเจ๋งๆ ไปสู่ผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง”
คำเตือนของกระทรวงความมั่นคงของสหรัฐฯ ได้เพิ่มความเข้มข้นให้กับประเด็นการต่อต้านสินค้าเทคโนโลยีของจีนและความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ สิ่งนี้นำมาสู่การที่บริษัทจีนเริ่มทดสอบตัวเองว่าพวกเขาสามารถอยู่รอดได้หรือไม่โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกระบวนการที่คาดว่าจะเพิ่มความเร็วในการปรับตัวจากการที่บริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่มีส่วนในซัพพลายเชนทั่วโลก
เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว ที่ความคิดดั้งเดิมที่ว่าประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า อย่างจีน จะเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านการผลิตสำหรับประเทศที่ร่ำรวยกว่า อย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งนั่นจะช่วยให้ผู้บริโภคเพลิดเพลินไปกับสินค้าราคาถูก
ก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐฯ ได้จัดให้ Huawei Technologies ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลกและบริษัทในเครือถูกขึ้นบัญชีดำทางการค้า ที่จะจำกัดกลุ่มดังกล่าวจากการซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการจากบริษัทเทคโนโลยีของอเมริกา ซึ่งเป็นไปตามการลงนามในคำสั่งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ซึ่งห้ามบริษัทสหรัฐฯ ไม่ให้ใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ผลิตโดยบริษัทต่างๆ ที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศ
เพื่อตอบสนองต่อการแจ้งเตือนของสหรัฐฯ DJI กล่าวว่าเทคโนโลยีของบริษัทได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและธุรกิจชั้นนำของสหรัฐอเมริกา โดรนของบริษัทนั้นมีความเกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชั่นมากมายทั่วสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายท้องถิ่นและการส่งมอบทางการแพทย์ ไปจนถึงการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานและการถ่ายภาพทางอากาศ
โดรนที่ขายโดย DJI จำนวนมากถูกใช้เพื่อถ่ายวิดีโอและภาพถ่ายทางอากาศ แอปพลิเคชั่นเหล่านี้ทำงานขึ้นอยู่กับชิพส่งภาพที่ซับซ้อนซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากผู้ให้บริการชิพของจีนไม่สามารถรับประกันความคมชัดของภาพได้เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ดังนั้น DJI จึงเริ่มพัฒนาชิพของตัวเองเพื่อให้พึ่งพาผู้ให้บริการภายนอกน้อยลง
ยกตัวอย่างเช่นใน Phantom 4 โดรน DJI ใช้ชิพประมวลผลภาพจาก Movidius ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของโดยยักษ์ใหญ่ของ Intel Corp ซึ่งชิพ Movidius ทำให้ Phantom 4 สามารถรับรู้และบินหลบสิ่งกีดขวางได้แบบเรียลไทม์
“DJI ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก…มองหาส่วนประกอบที่ดีที่สุดในซัพพลายเชนทั่วโลก ซึ่งในบางเคสเราพัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง”