HomeCSR“อุ่นใจไซเบอร์” ภารกิจใหญ่ AIS ถึงเวลาสร้าง “เด็กไทย” ให้รู้เท่าทันดิจิทัล

“อุ่นใจไซเบอร์” ภารกิจใหญ่ AIS ถึงเวลาสร้าง “เด็กไทย” ให้รู้เท่าทันดิจิทัล

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ถือเป็นภาพยนตร์โฆษณาอีกหนึ่งชิ้นของเอไอเอสที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมเป็นจำนวนมาก โดยสารชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมากระทบกับสังคมและการใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่ประชากรวัยผู้ใหญ่เพียงฝ่ายเดียว เพราะคนอีกกลุ่มที่ถูกเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าครอบงำอย่างจังก็คือกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่อาจไม่ได้มีเกราะป้องกันทางด้านจิตใจเข้มแข็งเหมือนเราๆ ท่านๆ

 

เมื่อ “เทคโนโลยี” = พระเจ้าแห่งปี 2019

หนึ่งในหลักฐานที่สะท้อนภาพดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ผลการสำรวจจากหลายหลายสถาบันที่ระบุว่าในปี 2018 เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปีมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังพบว่า เด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาด หรือDQ (Digital Intelligence Quotient)ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น การกลั่นแกล้งออนไลน์, การเข้าถึงสื่อลามก, ปัญหาเสพติดเกม ไปจนถึงการถูกหลอกให้ออกไปพบกับคนแปลกหน้าได้อย่างง่ายดาย

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่นเผยว่า ส่วนตัวเข้าใจว่าหลายท่านเคยเห็นภาพข่าวกรณีเด็กเล็กกระทำไม่ดีต่อเด็กเล็กด้วยกัน สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า เทคโนโลยีไม่ได้มีแต่ด้านดีด้านเดียว ด้านไม่ดีที่เด็กสามารถซึมซับได้ก็มีเช่นกัน ซึ่งการจะป้องกันการเกิดพฤติกรรมเหล่านี้ได้ดีที่สุดก็คือ ต้องปลูกฝังความรู้เท่าทันในดิจิทัล หรือ DQ ให้กับเด็กๆ เพื่อจะได้มีทักษะการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาด

โดยทักษะด้านดิจิทัลที่เด็กไทยควรรู้เท่าทันประกอบด้วย8 ด้านดังนี้

– Digital Citizen Identity (การเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์บนโลกออนไลน์)

– Screen Time Management (การที่เด็กรู้จักยับยั้งชั่งใจ และบริหารจัดการการใช้เวลาบนสื่อดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม)

– Cyberbullying Management (สามารถรับมือได้อย่างเหมาะสมเมื่อถูกรังแกบนโลกออนไลน์)

– Cyber Security Management (สามารถท่องอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย)

– Digital Empathy (การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น)

– Digital Footprints (การเข้าใจถึงร่องรอยบนโลกดิจิทัลที่เราทิ้งไว้ และผลที่อาจตามมา)

– Critical Thinking (การคิดอย่างมีเหตุผล)

– Privacy Management (การรู้สิทธิ และรักษาความเป็นส่วนตัวของตัวเอง)

 

แบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ไม้บรรทัดของสังคมไทย

แต่ที่ผ่านมา ก็ต้องยอมรับว่าการสร้างความรู้เท่าทันในสื่อดิจิทัลของสังคมไทยยังไม่มีแบบประเมินที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบกิจกรรมที่ครอบครัวหรือคุณครูต้องจับกลุ่มคุยกับเด็กๆ หรือไม่ก็เปิดคลิปความรุนแรงต่างๆ ให้เด็กดูเพื่อสอบถามความรู้สึกว่า “ถ้าเป็นเธอโดนกระทำ จะรู้สึกอย่างไร” และฟังความคิดเห็นจากเด็กๆ ที่ตอบกลับมาแทน

ในจุดนี้ อาจเป็นการดีกว่าหากจะมีแบบประเมินที่สามารถวัดผลได้จริงๆ ว่าเด็กแต่ละคนมีความรู้เท่าทันในเรื่องดิจิทัลมากน้อยอย่างไร นั่นจึงนำไปสู่การเปิดตัวโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์”ของเอไอเอส ที่นำชุดการเรียนรู้แบบ 360 องศาเพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับเด็กวัย8 – 12 ปี เข้ามาให้เด็กไทยได้ลองทำแบบทดสอบกัน

โดยชุดการเรียนรู้ดังกล่าวพัฒนาโดยทีมนักวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันถูกนำไปใช้สอนเยาวชนมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และทางเอไอเอสได้นำมาพัฒนาเป็นภาษาไทย เพื่อให้เด็กไทยได้ใช้ทดสอบโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอสเผยว่า จากแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย”
ที่เอไอเอสได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี โครงการอุ่นใจไซเบอร์คือหลักฐานที่สะท้อนว่า เอไอเอสไม่ได้ต้องการให้บริการแค่เน็ตเวิร์กที่ดี แต่ยังหมายรวมถึงการสร้างสังคมและครอบครัวที่ดีให้เติบโตไปพร้อมกันด้วย

โดยหลักสูตร DQ (เข้าใช้งานได้ที่ www.ais.co.th/DQ) ที่เอไอเอสนำเข้ามานี้ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ นั่นคือ DQTest.orgสำหรับทำแบบทดสอบวัดความสามารถทางดิจิทัลทั้ง 8 ด้าน กับ DQWorld.netในฐานะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล ซึ่งเมื่อทำแบบทดสอบจบ ระบบจะวิเคราะห์และแสดงคะแนนทักษะความรู้เท่าทันในสื่อดิจิทัลของเด็กแต่ละคนให้ทราบ

 

ไม้บรรทัดวัดความรู้ไม่พอ ต้องการ “ผู้ช่วยกรองเนื้อหา”

นอกจากเสริมแกร่งด้านความรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลแล้ว ในอีกด้านการปกป้องคุ้มครองเด็กไม่ให้เผชิญหน้ากับอันตรายจากโลกไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นภาพลามกอนาจาร, อาวุธและความรุนแรง, การโจรกรรมออนไลน์, การพนันและสิ่งเสพติด, ไวรัส และมัลแวร์ต่างๆ ตลอดจนภัยฟิชชิ่ง  ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น

ในจุดนี้ โครงการอุ่นใจไซเบอร์ของเอไอเอสจึงได้จับมือกับผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่อย่าง Googleในการใช้เครื่องมือชื่อ Family Link เข้ามาช่วยดูแลการใช้งานโทรศัพท์มือถือของบุตรหลานโดยไม่จำกัดเครือข่าย ซึ่งข้อดีของ Family Link คือผู้ปกครองสามารถกำหนดระยะเวลาการใช้งานหน้าจอได้, ตั้งค่าการติดตั้งแอปพลิเคชันได้, กำหนดการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ได้, กำหนดระดับความเหมาะสมของคอนเทนต์ที่เด็กสามารถรับชมบนYouTube และ YouTube Kids ได้ รวมถึงสามารถติดตามตำแหน่งที่บุตรหลานอยู่ ณ ปัจจุบันได้ เป็นต้น Family Link จึงเปรียบได้กับตัวช่วยคัดกรองคอนเทนต์ตามที่ผู้ปกครองเป็นผู้กำหนดนั่นเอง

ในอีกด้าน เอไอเอสก็สร้างระบบการคัดกรองของตนเองด้วยเช่นกัน ผ่านเครื่องมือที่มีชื่อว่า AIS Secure Netที่จะช่วยคัดกรองทั้งเว็บไซต์, ภาพถ่าย, ข้อความ, คลิปวิดีโอที่ไม่เหมาะสมไม่ให้เล็ดรอดมายังเครื่องลูกข่ายได้ ที่สำคัญยังเป็นการทำงานโดยไม่ต้องติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ เพิ่มเติม โดยผู้ที่สนใจบริการ AIS Secure Net สามารถเข้าไปลงทะเบียนที่หน้าเว็บไซต์ของบริษัทตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยระบบจะสามารถเริ่มใช้บริการได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม

ทั้งหมดนี้จึงอาจสะท้อนได้ว่า แม้เทคโนโลยีดิจิทัลจะทรงพลังจนใครบางคนเปรียบมันเป็นพระเจ้าในยุค 2019 ที่ลำพังเพียงมนุษย์ตัวคนเดียวคงไม่อาจต้านทานได้ แต่หากเราร่วมมือกัน และช่วยกันสร้างเด็กรุ่นใหม่ที่รู้เท่าทันเทคโนโลยี นั่นอาจเป็นวิธีต่อกรกับพระเจ้าที่ดีที่สุดก็เป็นได้ ส่วนการจะรวมใจกันได้อย่างไรนั้น สิ่งที่เอไอเอสทิ้งไว้หลังหนังโฆษณาจบน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด กับประโยคที่ชวนให้ฉุกคิดว่า

 

“ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย”


แชร์ :

You may also like