HomeBrand Move !!ยุคนี้ต้องเร็วและอร่อย ‘เบทาโกร’ ลุยตลาด Processed Food แก้โจทย์รสชาติมาคู่คุณภาพและความปลอดภัย

ยุคนี้ต้องเร็วและอร่อย ‘เบทาโกร’ ลุยตลาด Processed Food แก้โจทย์รสชาติมาคู่คุณภาพและความปลอดภัย

แชร์ :

ถือเป็นความสำเร็จที่เกินคาดของ “เบทาโกร” หลังจากที่เลือก “โป๊ป-ธนวรรธน์” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ไส้กรอกคนแรกในช่วงปีที่ผ่านมา จนสามารถเพิ่มการรับรู้แบรนด์ไส้กรอกรมควันในตลาดได้ถึง 93% และมีการบริโภคเป็นประจำสูงถึง 45% เดิมมีเพียง 18% (บริโภคประจำหมายถึง รับประทานสินค้าเป็นประจำทุกสัปดาห์) อีกทั้งยังช่วยดันยอดขายเพิ่มเฉพาะกลุ่มไส้กรอกสูงถึง 10% โดยเฉพาะอย่างยิ่งไส้กรอกกลุ่มพรีเมี่ยมและเกรด A ซึ่งเติบโตถึง 15%

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากการเติบโตดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เครือเบทาโกรมีรายได้ถึง 7.9 หมื่นล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ซึ่งมาจาก 4 ธุรกิจหลักของเบทาโกร ได้แก่ กลุ่มธุรกิจอาหาร , กลุ่มธุรกิจยาและอาหารสัตว์ , กลุ่มธุรกิจการลงทุนในต่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ โดยกลุ่มธุรกิจอาหารนับเป็นกลุ่มสร้างรายได้ให้เบทาโกรมากที่สุดถึง 4.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งในปีนี้ เบทาโกรตั้งเป้าที่จะสร้างรายได้ในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเป็น 53,000 ล้านบาทหรือเติบโต 15%

พร้อมลุยอาหารพร้อมทาน คุณภาพต้องได้ – รสชาติต้องโดน 

เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ในปีนี้เบทาโกรจะเพิ่มในส่วนของ “Process Food” หรืออาหารพร้อมทานมากขึ้น หลังจากในปีที่ผ่านมาเน้นทำการตลาด 3  ส่วน ประกอบด้วย สร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ไส้กรอก, สื่อสารแบรนด์ S-Pure และเน้นการส่งออก โดยความท้าทายของเบทาโกรก็คือ พัฒนาสินค้าและส่งผ่าน “ความอร่อย” ที่สร้างสรรค์ขึ้นมา ให้ส่งตรงไปสู่ “ปาก” และ “ใจ” ของผู้บริโภคให้ได้ หลังจากที่ผ่านมาเบทาโกรสอบผ่านในเรื่อง “คุณภาพและความปลอดภัย” ได้แล้ว

คุณสมศักดิ์ บุญลาภ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจอาหาร เครือเบทาโกร กล่าวว่า ที่ผ่านมาจุดแข็งของเบทาโกร คือเรื่องของคุณภาพสินค้า โดยมีตัวชูโรง “ผลิตภัณฑ์กลุ่มเอสเพียว” ที่ไม่ใช้ยาปฎิชีวนะในขั้นตอนการเลี้ยงนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าสู่กระวนการ หรือ RWA (Raised Without Antibiotics) จนได้รับการรับรองจาก NSF เป็นรายแรกของโลก

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้บริโภคในปัจจุบันมีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการอาหารที่สะดวก รวดเร็ว และอิ่มอร่อย อาหารแปรรูปและอาหารพร้อมทาน จึงกลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มอาหารจานเดียว สำหรับมื้อหลัก และกลุ่มอาหารทานเล่น (Appetizer) ซึ่งทั้งหมดนี้กลายเป็นความท้าทายของเบทาโกร ที่จะต้องสามารถผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ขณะเดียวกันก็ต้องปรับให้ทันกับกระแสความนิยมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วย

ขยายโรงงานผลิตอาหาร ต่อยอดวัตถุดิบที่มี 

เพื่อทำให้ได้ตามมาตรฐานที่กล่าวมา “เบทาโกร” ต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตต่อปริมาณสินค้าให้เกิดความสมดุล และตอบโจทย์เป้าหมายทางธุรกิจ ในปีที่ผ่านมา เบทาโกรจึงได้ขยายโรงงานเพื่อพัฒนาอาหารพร้อมทานขึ้น ด้วยงบประมาณ 750 ล้านบาท ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารพร้อมทาน หรือ Betagro Central Kitchen ที่นวนคร ซึ่งเริ่มผลิตอาหารแล้วในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยมีกำลังการผลิตรวม 8,000 ตันต่อปี ในการผลิตอาหารพร้อมทานมากกว่า 1,000 รายการ ใน 6 หมวดสินค้า ได้แก่ อาหารทานเล่นและสินค้าทอดประเภท หมู ไก่, ผลิตภัณฑ์ไข่ปรุงสุก, ข้าวกล่องพร้อมรับประทาน, กับข้าวสำเร็จรูป, เบเกอรี่ และผลิตภัณฑ์ปรุงรส

ไม่ใช่แค่ผลิตเท่านั้น เบทาโกรยังเน้นในเรื่อง R&D เพื่อพัฒนาสินค้าสำหรับอนาคต ในส่วนด้านหน้าของโรงงานแห่งนี้จึงกำลังก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมอาหาร หรือ Food innovation center เพื่อเข้ามาช่วยเสริมในด้านการคิดค้น การวิจัยพัฒนาสูตรอาหารใหม่ๆ การสร้างสรรค์เมนูที่อร่อย หลากหลายอย่างมีคุณภาพ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ความน่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือการสร้างสรรค์เมนูร่วมกับคู่ค้า เพื่อให้ตอบโจทย์ด้านธุรกิจอีกด้วย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานในปีนี้

การขยับขยายโรงงานยังช่วยรองรับด้านการส่งออก โดยมีแผนที่จะลงทุนสร้างโรงงานแห่งใหม่ ด้วยงบลงทุน 600 ล้านบาท สำหรับผลิต “ไก่เสียบไม้ย่างถ่าน” เนื่องจากกำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ซึ่งสินค้าตัวนี้จะเน้นผลิตเพื่อออกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ โดยคาดว่าจะช่วยเพิ่มยอดขายในส่วนของอาหารแปรรูป และพร้อมรับประทานได้อีกราว 17%

กระจายสินค้าสู่ Food Service 

หลังจากพัฒนาสินค้าแล้ว ในส่วนของ Distribution ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งขาดไม่ได้ เบทาโกรจะเร่งให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้มากขึ้น โดยจะขยาย Betagro Shop เพิ่มขึ้น 10 สาขา จากปัจจุบันที่มีอยู่ 190 สาขา ซึ่งจะทำให้ภายในสิ้นปีนี้มี 200 สาขา โดยเน้นกลุ่มลูกค้า Food Service ที่ทางเบทาโกร ต้องการสนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME สามารถเข้าถึงวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น

“เรามองว่า บทบาทของ Betagro Shop เปรียบเสมือนร้านค้าส่ง ที่เราพยายามจะเข้าไปเปิดสาขา โดยเน้นพื้นที่ในชุมชนเป็นหลัก เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย ขณะที่สินค้าที่วางขายจะเป็นสินค้าเบทาโกร ทั้งปลีก และแพคขนาดใหญ่ เพื่อตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด” คุณสมศักดิ์ บุญลาภ กล่าว

นอกจากนี้ยังมีโมเดล “รถเข็น” อีก 1,500 ยูนิต เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

2-3 ปีก่อนหน้านี้ เบทาโกร ลงทุน “ฟาร์ม” ซึ่งเป็นเหมือนต้นน้ำ สร้าง Raw Material เอาไว้แล้ว ปีนี้นับเป็นการต่อยอดในส่วนของกลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อส่งให้แบรนด์เบทาโกรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารของผู้บริโภคคนไทยให้มากขึ้น


แชร์ :

You may also like