HomeDesignลดปัญหาขยะ อดีตนักออกแบบ Dyson ผลิต “rCup” แก้ว Mug ที่ทำจาก “แก้วกาแฟใช้แล้ว”

ลดปัญหาขยะ อดีตนักออกแบบ Dyson ผลิต “rCup” แก้ว Mug ที่ทำจาก “แก้วกาแฟใช้แล้ว”

แชร์ :


ธุรกิจกาแฟ
ทั้งสตาร์ทอัพ และไม่ใช่สตาร์ทอัพอาจเป็นที่จับตาของแวดวงธุรกิจทั่วโลกในแง่ของมูลค่า ว่าพวกเขาจะเติบโต และขยายบริการออกไปได้ขนาดไหน แต่สิ่งหนึ่งที่เราอาจสนใจน้อยเกินไปก็คือเรื่องของ “ขยะพลาสติก-ขยะกระดาษ” ที่เกิดจากการเติบโตของธุรกิจกาแฟเหล่านั้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เฉพาะในอังกฤษ มีตัวเลขว่าในแต่ละปี ถ้วยกาแฟราว 2,500 ล้านใบถูกทิ้งกลายเป็นขยะให้ต้องจัดการหลังจากการใส่กาแฟเพียงครั้งเดียว ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย และการรีไซเคิลขยะเหล่านี้ พบว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะรายงานจาก FastCompany ระบุว่าในแก้วกระดาษมีการผสมพลาสติกลงไปด้วย ทำให้เวลารีไซเคิลต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อแยกกระดาษกับพลาสติกออกจากกันก่อน

ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากธุรกิจกาแฟกลายเป็นแรงกดดันให้บรรดาธุรกิจกาแฟต้องมองหาโซลูชันเข้ามาช่วย และส้มก็หล่นใส่ดีไซเนอร์อย่าง Dan Dicker อดีตนักออกแบบผลิตภัณฑ์ของ Dyson ที่หันมาเปิดธุรกิจของตัวเองในชื่อ Ashortwalk เข้าอย่างจัง โดยเขารับอาสานำแก้วกาแฟใช้แล้วมาผลิตเป็นแก้วมัก (Mug) ในชื่อ rCup และออกวางขายในราคา 12 ปอนด์ (ขนาดบรรจุ 12 ออนซ์)

แต่ความพิเศษของการผลิตแก้ว rCup นี้ก็คือ แทนที่จะต้องแยกวัตถุดิบอย่างกระดาษกับพลาสติกออกจากกันก่อน Dicker กลับคิดค้นกระบวนการที่สามารถนำแก้วกาแฟใช้แล้วทั้งใบมาเข้ากระบวนการผลิตได้เลย โดยเขาเลือกที่จะตัดแก้วกาแฟใช้แล้วให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ และผสมกับสาร polypropylene เพื่อสร้างออกมาเป็นเรซิน ซึ่งการที่มีกระดาษเป็นส่วนผสม เส้นใยไฟเบอร์ของกระดาษยังช่วยให้ตัวแก้วมีความแข็งแรงมากขึ้นด้วย โดยกระบวนการนี้ใช้แก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง 6 ใบในการผลิตแก้วมักได้หนึ่งใบ

ขอบคุณภาพจาก Fastcompany

กระบวนการผลิตแก้วมักที่ Dicker ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับขยะได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดย Dicker กล่าวว่า “แก้วกาแฟใช้แล้วน้ำหนักหนึ่งตันมีมูลค่าราว 120 ปอนด์เท่านั้น แต่ถ้านำมาแปรรูปใหม่ให้กลายเป็นเรซิ่นได้ จะทำให้มันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 ปอนด์ต่อตัน และถ้าเรานำเรซิ่นเหล่านั้นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น rCup มูลค่าของมันอาจเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 ปอนด์ต่อตันได้เลยทีเดียว”

Dicker ยังมองว่า การผลิตแก้วมักเช่นนี้สามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคอยากจะมีส่วนร่วมในกระบวนการรีไซเคิลมากขึ้นด้วย เช่น การทิ้งขยะลงในถังที่ถูกต้องเพื่อที่แก้วเหล่านั้นจะได้ถูกนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลต่อไป โดยเขามองว่า ปัญหานี้จะไม่สามารถแก้ไขได้เลย หากไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากมวลชน

แก้วที่ไม่ถูกทิ้งขว้าง

ปัญหาอีกข้อหนึ่งของคนที่ซื้อแก้วเหล่านี้ไปใช้งานก็คือปัญหาการรั่วซึม หลายคนไม่กล้าที่จะใส่แก้วนี้ลงไปในกระเป๋าหากข้างในกระเป๋ามีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ฯลฯ อยู่ เพราะเกรงว่าน้ำจะรั่วออกมาจนทำอุปกรณ์พังเสียหาย ทำให้แก้วบางใบต้องเก็บเอาไว้แต่ในตู้กับข้าว

แต่สำหรับ Dicker เขาบอกว่าได้ออกแบบและทดสอบการรั่วซึมแล้ว ว่ามันไม่รั่วจริง ๆ ดังนั้นผู้ใช้งานสามารถวางใจได้ว่า ใส่ลงในกระเป๋าแล้วน้ำจะไม่ไหลออกมาเปียกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แน่นอน

ใครที่สนใจ แก้วใบนี้มีวางขายแล้วในอังกฤษ และมีแผนจะไปเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาเร็ว ๆ นี้จ้า

ขอบคุณภาพจาก Fastcompany

Source


แชร์ :

You may also like