HomeDigital5G ก้าวไปอีกขั้น “AIS” โชว์ทดสอบ Use Case “รถไร้คนขับทางไกล” จากกรุงเทพฯ สู่หาดใหญ่

5G ก้าวไปอีกขั้น “AIS” โชว์ทดสอบ Use Case “รถไร้คนขับทางไกล” จากกรุงเทพฯ สู่หาดใหญ่

แชร์ :

ทราบกันดีว่าอนาคตเทคโนโลยี “5G” จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน “AIS” ในฐานะผู้นำ Digital Life Service Provider ได้เดินหน้าและเตรียมความพร้อมสำหรับเทคโนโลยี 5G โดยผลักดันให้ทุกภาคที่เกี่ยวข้องใน Ecosystem เห็นภาพประโยชน์ของ 5G ในวันที่เทคโนโลยีนี้มาถึง ผ่านการทดสอบการใช้งานเทคโนโลยี 5G ใน Use Case ต่างๆ ทั่วประเทศ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หลังจากที่ได้ยื่นเรื่องขอทดสอบ 5G และได้รับอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์เพื่อดำเนินการสาธิต 5G จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และได้ยื่นเรื่องขอดำเนินการสาธิต 5G ให้กับคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงานของ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม AIS ได้เปิดพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา นักวิจัย และประชาชนได้ร่วมศึกษา ทดลอง ทดสอบการใช้งาน 5G มาอย่างต่อเนื่อง

อย่างที่เห็นกันก่อนหน้านี้ ในความร่วมมือกับ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ทดสอบรถยนต์ไร้คนขับคันแรกของไทยบนเครือข่าย 5G ก่อนจะขยายมาสู่ความร่วมมือในวงกว้าง กับอีก 3 มหาวิทยาลัยใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

AIS จับมือมอ. ทดสอบ 3 Use Case

ล่าสุดที่ “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ได้มีการเปิดตัวและสาธิตนวัตกรรมต้นแบบที่ช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยจากเทคโนโลยี 5G ผ่าน 3 คุณสมบัติหลัก ได้แก่ ความเร็วในการรับส่งสัญญาณ, เครือข่ายที่ตอบสนองรวดเร็วและเสถียร (Latency) รวมถึงศักยภาพในการขยายการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ หรือ IoT ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างโมเดลเมืองอัจฉริยะ รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายและมีความปลอดภัย

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ CEO ของ AIS ร่วมเป็นผู้สาธิตการบังคับรถขับทางไกลจากกรุงเทพฯ สู่สงขลา

สำหรับ Use Case แรก เป็นการทดสอบศักยภาพของเทคโนโลยี 5G (1st 5G Remote Control Vehicle) บนคลื่นความถี่ 28 GHz ผ่าน “รถไร้คนขับทางไกล” ในระยะทาง 950 กิโลเมตร ระหว่างกรุงเทพฯ และสงขลา โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ CEO ของ AIS ร่วมเป็นผู้สาธิตการบังคับรถขับทางไกลในครั้งนี้

จากภาพจะเห็นว่า ผู้ควบคุมรถไม่จำเป็นต้องอยู่ภายในตัวรถ แต่สามารถบังคับรถให้เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่างๆได้ตามความต้องการ ด้วยระบบการสั่งงานระยะไกลแบบเรียลไทม์บนเครือข่าย 5G ที่ข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งต่อผ่านระบบ Video Analytics และสามารถ Streaming Video ที่มีความละเอียดสูงกลับมาหาผู้ควบคุม (สวมใส่ VR) ได้ทันที ทำให้เกิดการตอบสนองทันที สามารถเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมาย และหยุดได้แบบเรียลไทม์ ช่วยเพิ่มความปลอดภัย

ทั้งนี้ระบบดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลายกรณี เช่น การสัญจรโดยสาร การขนส่งสินค้าในภาคอุตสาหกรรม และโลจิสติกส์

ห้องควบคุมกลางภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Use Case ต่อมาเป็นการสาธิตการสื่อสารระหว่างรถ 2 คัน ด้วยนวัตกรรม “V2V” (Vehicle to Vehicle) ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่าน 5G สามารถตอบสนองรวดเร็วและมีความเสถียรของระบบสูง โดยรถยนต์ทั้ง 2 คัน สามารถสื่อสารข้อมูลการขับขี่ ข้อมูลความปลอดภัย และข้อมูลการจราจรไปมาระหว่างกันเองได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรในเส้นทาง

อีก Use Case ที่น่าสนใจที่ AIS และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาธิตให้ได้ชม คือ “รถตรวจการณ์และรักษาความปลอดภัย” (Mobile Surveillance / Object Detection) จาก Video Analytics และ AI ด้วยการนำข้อมูลวิดีโอจากกล้องวงจรปิดบนยานพาหนะ ส่งผ่านเครือข่าย 5G ไปยังห้องควบคุมกลาง ทำให้สามารถวิเคราะห์ภาพจำแนกวัตถุรอบคันรถ และตรวจจับลักษณะของรถ เช่น ป้ายทะเบียน, รุ่นของรถ, ยี่ห้อ, สีและลักษณะของรถ รวมถึงการแจ้งเตือนความเสี่ยงในพื้นที่ต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ

โดยหากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแจ้งข้อมูลรถต้องสงสัยเข้ามาในพื้นที่ ระบบก็จะสามารถแกะรอยและแจ้งเตือนทันทีที่รถคันดังกล่าวขับเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้การเฝ้าระวังพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

แม้ว่าในวันทดสอบจะมีฝนตกหนัก แต่ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด

สร้างโมเดล Smart City ต้นแบบ ดัน “ภาคใต้” พัฒนาเมืองเพื่อความปลอดภัย 

แม้ว่าเทคโนโลยี 5G ยังต้องรอการจัดสรรประมูลคลื่นความถี่จากทางกสทช. ที่คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้ แต่ AIS ได้เตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการขยายคลื่นความถี่ จากเดิมที่ให้บริการ 3G มายัง 4G มากขึ้น เรียกว่า “Next G” ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงความเร็วเครือข่ายระดับที่เหนือกว่า 4.5G ได้ และพร้อมที่จะพัฒนาเป็นเครือข่าย 5G ต่อไปในอนาคต ด้วยจำนวนสถานีฐานที่มีอยู่ 80,692 ครอบคลุมทั่วประเทศในปัจจุบัน

สำหรับการลงพื้นที่ภาคใต้ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีความพร้อมด้านบุคลากรในการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม AIS ได้ให้ความสำคัญกับการนำ Digital Infrastructure เข้ามาเสริมแกร่งให้กับคนในพื้นที่ ภายใต้แนวคิด “Smart City , Smart Living” ระบบต้นแบบเมืองอัจฉริยะ

คุณปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส กล่าวว่า ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานเครือข่ายทั้งทางบกและทางทะเล ขณะที่การแข่งขันในตลาดถือว่ารุนแรงไม่แพ้ภูมิภาคอื่นๆ ที่ผ่านมายอมรับว่า ยังมีบางจุดและบางพื้นที่ที่การใช้งานยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ

ดังนั้น AIS จึงต้องเร่งพัฒนาเครือข่าย 3G และ 4G ให้สามารถบริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันสามารถให้บริการได้ครอบคลุมแล้วกว่า 1,083 ตำบล ใน 14 จังหวัดภาคใต้ นอกจากนี้ยังขยายช่องทางจัดจำหน่ายกว่า 4,000 จุด เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังการออกแบบแพ็กเกจและโปรโมชั่นมือถือ รวมถึงคัดสรรคอนเทนท์ความบันเทิงและสิทธิพิเศษที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ภาคใต้

“ปัจจุบัน AIS มีส่วนแบ่งการตลาดในพื้นที่ภาคใต้กว่า 50% ถือเป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวนลูกค้า 5.7 ล้านเลขหมาย คิดเป็นสัดส่วน 14% ของฐานลูกค้าที่มีอยู่ว่า 41.5 ล้านเลขหมายทั่วประเทศ”

นอกจากการสาธิตทั้ง 3 Use Case ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น AIS ยังให้ความสำคัญในการสร้างทีมงานและบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยี ให้เป็น Smart People ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผู้ประกอบการ, เกษตรกร นิสิต และนักศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เริ่มตั้งแต่การร่วมมือกับศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุข ณ ฟาร์มไพรวัลย์ ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม IoT ภายใต้ชื่อ Intelligent Farm หรือ “iFarm” ที่ผสานเทคโนโลยีเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนและยกระดับเกษตรกรไทยให้เป็น “Smart Farmer” ผ่านแนวคิด “สอน-เสริม-สร้าง” ให้เกษตรกรได้เรียนรู้และทดลองทำแปลงปลูกผัก โรงเรือนเพาะปลูกเมล่อน และผักสลัดปลอดสารพิษ

โดยเกษตรกรสามารถบริหารจัดการฟาร์มผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดการจัดเก็บข้อมูล Big Data เพื่อแปลงเป็นข้อมูลมาตรฐานด้านการเพาะปลูก ที่จะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

นอกจากนี้ยังสร้างนวัตกรรม AIS School Van Clever โครงการที่เกิดจากการรวมตัวกันของพนักงาน AIS ภาคใต้ นำแนวคิด “ความปลอดภัยของรถตู้รับส่งนักเรียน” นำเทคโนโลยีการ Track เข้ามาช่วยให้ผู้ปกครองสามารถดูแลความปลอดภัยของบุตรหลานได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งนวัตกรรมนี้ได้เริ่มใช้งานแล้ว

หลังจากนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีแผนที่จะต่อยอดและพัฒนา Use Case มากกว่า 10 โครงการ ไม่ว่าจะเป็น การเสริมความปลอดภัยทางทะเล การท่องเที่ยว และการประมง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามแผนของโครงการ Smart City Model in Campus ที่รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน

อย่างไรก็ตาม สำหรับการให้บริการ 5G ในอนาคต คุณปรัธนา เสริมว่า AIS จำเป็นต้องมีทั้งคลื่นความถี่ย่านต่ำ กลาง และสูง อย่างน้อย 2-3 ความถี่มาผสมผสานกัน เพื่อเสริมศักยภาพของโครงข่ายปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“การจากการทดสอบ 3 Use Case ในวันนี้ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จะเห็นว่า 5G ไม่ใช่เรื่องที่เพ้อฝัน แต่กำลังจะไปสู่ความเป็นจริง แต่ก่อนที่จะไปถึงวันนั้นสิ่งที่ AIS จะต้องทำ คือ สร้างกิจกรรมร่วมกับพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นภาพการใช้งาน 5G และการนำไปต่อยอดให้ได้มากที่สุด” คุณปรัธนากล่าว


แชร์ :

You may also like