HomeFinancialจับตาแบงก์ใหม่ หลังจบดีลแสนล้านบาท ควบรวม ทหารไทย – ธนชาต

จับตาแบงก์ใหม่ หลังจบดีลแสนล้านบาท ควบรวม ทหารไทย – ธนชาต

แชร์ :

หลังจบดีลยักษ์มูลค่ากว่าแสนล้านบาท ระหว่าง 2 ธนาคาร ที่แม้อาจจะไม่ใช่แบงก์ขนาดใหญ่ แต่ทั้ง 2 รายต่างมีความแข็งแรงในเชิงแบรนดิ้ง และ Positioning ในเซ็กเม้นต์ของตัวเอง ซึ่งภายหลังตกลงกันได้อย่างเป็นทางการ ผู้เกี่ยวข้องกับดีล M&A ระหว่าง TMB และธนชาต ได้ออกมาพูดถึงดีลนี้อย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับการควบรวมกิจการว่าเกิดจากความเต็มใจและตัดสินใจร่วมกันของทุกฝ่าย และถือเป็นดีลในรูปแบบ Win-Win Situation ภายใต้แนวทาง Synergy For Growth ซึ่งเป็นการควบรวมเพื่อใช้จุดแข็งที่แต่ละฝ่ายมี มาเติมเต็มและสร้างความแข็งแรงซึ่งกันและกัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยการปรากฏตัวของ​คณะกรรมการและผู้บริหารจากทุกฝ่ายที่ถือหุ้นใหญ่ต่างมาร่วมกันอย่างครบถ้วน ประกอบด้วย คุณจุมพล ริมสาคร รองปลัดกระทวงการคลัง, Mr.Mark Newman, Head of Challengers & Growth Markets Asia, ING, คุณศุภเดช  พูนพิพัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ทุนธนชาต (TCAP), Mr.Philippe G.J.E.O. DAMAS ประธานกรรมการบริหาร ธนาคาร TMB,   คุณสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ TCAP, คุณปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TMB และ คุณประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต

สำหรับ Big Deal ในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ด้วยมูลค่าดีลที่สูงมากที่สุดตั้งแต่เคยเกิดการควบรวมธุรกิจในวงการธุรกิจธนาคารพาณิชย์มา และเป็นดีลที่เกิดขึ้นเพราะต้องการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการควบรวมกิจการ เพื่อเพิ่มขนาดกิจการและศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจธนาคารไทย เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของสถาบันการเงินของประเทศและเศรษฐกิจไทยโดยรวม รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศให้เพิ่มการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย

​​ขณะที่รายละเอียดต่างๆ ของดีลยักษ์ในครั้งนี้ รวมทั้งทิศทางการขับเคลื่อนธุรกิจหลังจากนี้  ประกอบด้วย

1. หลังการการควบรวมในดีลนี้จบ จะทำให้เกิดธนาคาพาณิชย์แห่งใหม่ ที่มีความแข็งแกร่งและมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมแบบ Double Size ด้วยขนาดสินทรัพย์ที่มีรวมกันกว่า 2.2 ล้านล้านบาท และมีความแข็งแกร่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม จากความแข็งแกร่งในตลาดที่แตกต่างกันของทั้งสองแบงก์โดย TMB มีความเชี่ยวชาญทางด้านการระดมเงินฝาก รวมทั้งการเป็นผู้นำในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล แบงกิ้ง ขณะที่ธนชาต เป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาดสินเชื่อ รวมทั้งจำนวนฐานลูกค้าจากทั้งสองแบงก์ที่มีรวมกันมากถึง 10 ล้านราย โดยจำนวนลูกค้าที่ซ้ำซ้อนกันต้องถือว่าน้อยมาก ในสัดส่วนไม่ถึง 10%

2. สิ่งที่หลายคนอยากรู้เกี่ยวกับ การตั้งชื่อ ธนาคารแห่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังจากดีลนี้ ซึ่งทางผู้บริหารให้คำตอบว่า อยู่ระหว่างการตกลงพูดคุย และพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบด้าน เพราะดีลนี้เป็นการรวมสองแบงก์ที่มีแบรนด์แข็งแรงใน Positionong ของตัวเองอยู่แล้ว เป็นที่จดจำได้ของลูกค้า และต้องถือว่ามี Brand Awareness ที่สูงทั้งคู่ แต่​สิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันคือ ​ชื่อธนาคารแห่งใหม่นี้ จะต้องสามารถสะท้อน Brand Values ที่ชัดเจนของทั้งสองแบรนด์ได้เป็นอย่างดี แต่การดำเนินงานและการตัดสินใจต่างๆ จำเป็นต้องรอตามกระบวนการและขั้นตอน

3. ในส่วนความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับลูกค้า และพนักงานของทั้งสองแบงก์ ทั้งสองธนาคารยืนยันว่า ลูกค้าจะไม่เสียผลประโยชน์ใดๆ ซึ่งในระหว่างนี้ไปจนจบถึงการควบรวมแล้วเสร็จในช่วงปลาย​ปี ลูกค้าของแต่ละธนาคารก็ยังสามารถใช้บริการตามปกติของแต่ละแบงก์ จนเข้าสู่กระบวนการในการ Integrated เพื่อบูรณาการการทำงานของ 2 ธนาคารให้ควบรวมเป็นแบงก์เดียวกัน ในช่วงกลางปีหน้า ซึ่งน่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ มาให้อัพเดท แต่ในทางกลับกันเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้ามากกว่า เพราะจะมีผลิตภัณฑ์ที่ดีมาให้เลือกได้อย่างหลากหลายมากขึ้น

4. ในส่วนของพนักงาน ยังคงยืนยันว่าไม่มีการปรับลดอย่างแน่นอน เพราะกระบวนการในการควบรวมจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรคนมาช่วยขับเคลื่อน จึงจะแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับ โครงสร้างของทั้งสององค์กร เป็นองค์กรที่มีความ Lean อยู่แล้ว และหากมาควบรวมกันด้วยไซส์กว่า 2.2 ล้านล้านบาท แต่จำนวนคนมีไม่ถึงสองหมื่นคน ถือว่าไม่ใช่จำนวนที่มากเกินไป ​ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องลดจำนวนบุคลากรลงแต่อย่างใด

“ภายหลังการควบรวม ทั้งสองธนาคารอาจจะต้องโอนย้ายบุคลากรไปยังแบงก์ใหม่ที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการ Executed คนจาก 2 แบงก์ให้กลายเป็นทีมเดียวกัน ซึ่งมีเนื้องานที่ต้องทำจำนวนมากและต้องใช้คนมาช่วยขับเคลื่อนเนื่องจากเป็นดีลขนาดใหญ่กว่าที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต ประกอบกับหลังการควบรวมแล้วเสร็จ พนักงานของแต่ละแบงก์ก็จำเป็นต้องปรับสกิลและเรียนรู้ ทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ที่มีเพิ่มเติมเข้ามาในพอร์ต จึงไม่มีความจำเป็นต้องลดพนักงานลง  และไม่อยากให้คิดว่า การที่ธุรกิจต้องการลด Cost มีเพียงวิธีการลดจำนวนพนักงานลงเท่านั้น แต่ยังสามารถไปดูรายละเอียดในส่วนงานที่ซ้ำซ้อนกันของสองแบงก์ เช่น Marketing Cost หรือ จำนวนสาขาที่มีอยู่ของทั้งสองธนาคารและอยู่ใกล้กันมากเกินไป อาจจะต้องลดเหลือเพียงแห่งเดียว ขณะที่เรื่องของคนนั้นถือเป็น Access ที่ธุรกิจจำเป็นต้องรักษาไว้”

5. เนื่องจากดีลนี้ เป็นดีลขนาดใหญ่ ที่มีความซับซ้อนทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ และมีการปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นใหม่ เพื่อให้มีความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยรายละเอียดการ​ปรับโครงสร้างของธนาคารธนชาต รวมไปถึงแนวทางการเพิ่มทุนของธนาคารทีเอ็มบี และโครงสร้างสัดส่วนผู้ถือหุ้นหลักในเบื้องต้น ประกอบด้วย ING ถือหุ้น 21.3% บมจ. ทุนธนชาต (TCAP) ถือหุ้น 20.4% กระทรวงการคลัง ถือหุ้น 18.4% สโกเทียแบงก์ (BNS) ถือหุ้น 5.6% และผู้ถือหุ้นรายย่อย 34.3% ซึ่งคาดว่ากระบวนการควบรวมกิจการทั้งหมดจะแล้วเสร็จได้ ภายในปี 2564

ส่วนรายละเอียดของเม็ดเงินที่ผู้ถือหุ้นแต่ละราย จำเป็นต้องเติมลงมาในดีลนี้  มีดังต่อไปนี้

กระทรวงการคลัง เตรียมเพิ่มเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 11,000 ล้านบาท  พร้อมสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากการจัดสรรตามสิทธิที่พึงมีในกรณีที่มีผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นๆ ไม่ใช้สิทธิเต็มจำนวน เพื่อคงสถานะหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักไว้ ​

ด้าน ING ตัดสินใจลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 12,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการรวมกิจการของทั้งสองธนาคารในครั้งนี้ ทั้ง ING และ TCAP ต่างพัฒนาความเชื่อมั่นที่มีต่อกันจากกระบวนการรวมกิจการนี้ จนนำไปสู่การตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้ธนาคารใหม่เติบโตอย่างมั่นคง

สำหรับกลุ่มทุนธนชาติ​​ (TCAP) สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ หลังจากได้รับชำระค่าหุ้นและเข้าซื้อหุ้นบริษัทลูก หุ้นของบริษัทที่ธนาคารธนชาตลงทุนไว้จำนวน 80,000 ล้านบาทแล้ว TCAP จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ TMB เป็นจำนวนเงินราว 44,000 ล้านบาท ทำให้ TCAP จะมีเงินสดเหลือจากทำธุรกรรมต่างๆ ประมาณ 10,000 ล้านบาท และสามารถนำไปต่อยอดเพื่อบริหารให้ได้รับผลตอบแทนมาในระดับสูงสุดต่อไป

ขณะที่ TMB ต้องเตรียมจัดหาเงินทุนกว่า 1.3 แสนล้านบาท เพื่อนำมาซื้อหุ้นสามัญของธนาคารธนชาตจากผู้ถือหุ้นทุกราย โดยได้มองหาเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการระดมทุนในวงเงิน 1.3 -1.5 แสนล้านบาท ทั้งการออกหุ้นเพิ่มทุน  การออกและเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ บุคคลภายนอก และผู้ถือหุ้นเดิมของ TBANK ทุกราย รวมทั้งการออกตราสารหนี้ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่


แชร์ :

You may also like