HomeBrand Move !!แปลงร่างเบียร์ให้กลายเป็น Functional Drink เกมใหม่ของ Local Brewery เมื่อคราฟต์เบียร์เข้าสู่ยุคขาลง

แปลงร่างเบียร์ให้กลายเป็น Functional Drink เกมใหม่ของ Local Brewery เมื่อคราฟต์เบียร์เข้าสู่ยุคขาลง

แชร์ :

จากเครื่องดื่มมึนเมา เบียร์กำลังจะได้รับการปรับบทบาทในสังคมใหม่ด้วยเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สู่การเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการช่วยในเรื่องของ Recovery หลังการแข่งขัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการกีฬา นักกีฬาทีมชาติเยอรมนีใช้เบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มเพื่อ Recovery ในโอลิมปิกเกมส์ฤดูหนาวมาแล้ว โดยมีผลการศึกษาที่สนับสนุนความคิดนี้ว่า

การบริโภคเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์ช่วยลดการอักเสบและการติดเชื้อทางเดินหายใจ แถมยังช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วกว่าเดิมอีกด้วย

สำหรับในกีฬาประเภทวิ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลก เบียร์ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Running Community ในอเมริกามาเป็นระยะเวลานาน ไม่ใช่ในบทบาทของ Functional Drinks แต่การดื่มเบียร์เปรียบเหมือนเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะ และความสำเร็จที่ได้จากการซ้อม หรือการแข่งขัน ซึ่งมักจะเห็นภาพการนำคูปองเครื่องดื่มหลังวิ่งเพื่อไปรับเบียร์ หรือมีโรงเบียร์ในชุมชนมาร่วมกิจกรรมให้ดื่มเบียร์ฟรีหลังวิ่งเสร็จเป็นเรื่องปกติ

และแบรนด์เครื่องดื่ม “Sufferfest” ถือกำเนิดขึ้นมาจากเบียร์โมเมนต์หลังงานวิ่ง

“Sufferfest” เบียร์ของนักวิ่ง

Sufferfest เกิดขึ้นเมื่อปี 2016 ในซานฟรานซิสโก คิดค้นโดยนักวิ่งเทรลที่ชื่อว่า Caitlin Landesberg ที่ต้องการผลิตเครื่องดื่มสำหรับนักวิ่งหลังจากที่ผ่านการออกกำลังกายมาอย่างหนักหน่วง โดยแบ่งออกเป็น 3 ผลิตภัณฑ์ย่อย อาทิ FKT หรือ Fastest Known Time เบียร์ประเภท Pale Ale ที่มีกลูเตนต่ำ และบ่มกับผลแบล็คเคอร์แรนท์ และเกลือ เพื่อช่วยเติมอิเลคทรอไลต์ และน้ำตาลกลับคืนสู่ร่างกายหลังจากวิ่งเสร็จ หรือ Repeat เบียร์ประเภท Kolsch ที่บ่มกับเกสรผึ้ง ซึ่งมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย

หลังจากเปิดตัวเล็กๆ ในชุมชนแถบ Sierra Nevada แบรนด์ “Sufferfest” กลายเป็นเครื่องดื่มที่นักวิ่งถามหา ดีมานด์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจุดประกายให้เกิดเทรนด์ที่เรียกว่า “Functional Beer” หรือ “Active Lifestyle Beer” ตามมาอีกนับไม่ถ้วน อาทิ Harpoon Brewery จากบอสตัน เปิดตัวเครื่องดื่มที่เรียกว่า “Recovery Beer” ในชื่อแบรนด์ Rec League ที่บ่มกับเกลือทะเลและเมล็ดเจีย โดยทำการตลาดผ่านการเข้าไปสนับสนุนกีฬา เช่น ไอซ์ฮ็อกกี้ ส่วน Avery Brewing จากโคโลราโด ได้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ในแบรนด์ Go Play IPA ที่มีส่วนผสมของโซเดียมและโปแตสเซียม


หมดอายุขัยคราฟต์เบียร์ ?

กระแสคราฟท์เบียร์ในไทยกำลังรุ่ง แต่ในสหรัฐอเมริกาหลังจากที่คราฟต์เบียร์เติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยตัวเลข 2 หลักมาตลอด 6 ปี ตั้งแต่ปี 2010 – 2016 จากจำนวนผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาที่มีมากถึง 7,000 แห่ง ก็ถึงคราวที่คราฟต์เบียร์เริ่มหมดความน่าสนใจลงเรื่อยๆ และธุรกิจที่เติบโตขึ้นมาแทน คือ สุขภาพ

ตัวเลขคร่าวๆ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในสหรัฐอเมริกามีมูลค่าประมาณ 4.2 ล้านล้านเหรียญ ไล่ไปตั้งแต่ธุรกิจขายน้ำผักจนถึงสตูดิโอโยคะ โดยมีวิ่ง เป็นกิจกรรมที่น่าจับตามองมากที่สุดนับจากจำนวนการจัดงานวิ่งที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2012

ด้วยแอคทีฟไลฟ์สไตล์นี้ทำให้คนเริ่มหันเหจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เรื่อยๆ จนกลายเป็นสาเหตุให้โรงเบียร์ขนาดเล็กหลายแห่ง เริ่มหันมามองความสำเร็จของ Sufferfest และผลักดันนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของตัวเองผนวกกับความรู้ในการผลิตเบียร์ เพื่อไม่ให้ตกขบวนเทรนด์สุขภาพที่มีมูลค่านับล้านล้านเหรียญสหรัฐ


แชร์ :

You may also like