HomePR Newsคุยกับ “บัตรเครดิตกรุงศรีฯ” ทำยังไงไม่ให้เป็น “หนี้” และ หนทางแก้หนี้อย่างยั่งยืน [PR]

คุยกับ “บัตรเครดิตกรุงศรีฯ” ทำยังไงไม่ให้เป็น “หนี้” และ หนทางแก้หนี้อย่างยั่งยืน [PR]

แชร์ :

คนไทยเป็นหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นติดอันดับ 3 ของโลก รองจากออสเตรเลียและเกาหลีใต้ จนกลายเป็นวาระแห่งชาติที่สถาบันการเงินและnon bank ต้องจับมือกันมาช่วยเยียวยา ก่อนที่ปัญหาเรื่องหนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ณญาณี เผือกขำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อยุธยา แคปปิ ตอล เซอร์วิสเซส จำกัด คร่ำหวอดกับธุรกิจด้านสินเชื่อบุคคล สินเชื่อผ่อนชำระ และบัตรเครดิต จนได้รับความไว้วางใจจากสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ให้สวมหมวกอีกใบคือ “ประธานชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล” มาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ในฐานะที่สวมหมวกทั้ง 2 ใบ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาเรื่องหนี้ภาคครัวเรือนของคนทั้งประเทศ กว่า 8 ล้านราย ณญาณี ได้วิเคราะห์ถึงปัญหาของหนี้ในประเทศไทยว่า

“คนไทยมีรายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย รวมถึงการเข้าถึงสินเชื่อในระบบน้อยกว่าสินเชื่อนอกระบบมาก เพราะเมื่อเข้าถึงสินเชื่อในระบบไม่ได้ จึงต้องไปหาสินเชื่อนอกระบบ ซึ่งมีช่องว่างของดอกเบี้ยต่างกันถึง 2- 3 เท่าตัว เมื่อมีรายได้ไม่เพียงพอก็ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ กลายเป็นปัญหาหนี้เรื้อรัง ซึ่งแก้ไขอย่างไรก็ไม่หมด ”

สรุปว่าสาเหตุที่คนไทยมีปัญหาเรื่องหนี้ เนื่องจากรายได้ไม่พอกับรายจ่ายและไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบ ทั้งหมดนี้มาจากเรื่องเดียวคือ “ความยากจน” ซึ่งการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 3 โครงการหลัก คือ แก้ไขหนี้นอกระบบ , ให้ความรู้ด้านการเงินและตั้งคลินิกแก้หนี้ เพื่อแก้ปัญหาหนี้อย่างบูรณาการ

แก้ปัญหา”ยากจน”อย่างยั่งยืน

“ ชีวิตคนที่มีหนี้สินแล้วแก้ปัญหาไม่ได้ ชีวิตก็ไปต่อไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อความยากจนเป็นปัญหาสอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในเรื่อง No Poverty (ขจัดความยากจน) ของSDGs ข้อที่ 1 คือทำอย่างไรจึงจะให้คนพวกนี้สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น ”

สิ่งที่กรุงศรี คอนซูมเมอร์เข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องนี้คือ พยายามหาวิธีเปลี่ยนลูกหนี้นอกระบบให้เข้ามาเป็นลูกหนี้ในระบบให้มากที่สุด เพื่อให้สามารถเข้าถึงดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกและสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ง่ายขึ้น

“ตอนนี้เราพยายามแก้ปัญหาคนที่มีรายได้น้อยและคนที่ไม่มีเงินเดือนประจำ เช่นแม่ค้าออนไลน์ หรือคนทำงานฟรีแลนซ์ ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น โดยใช้ระบบ Information based lending คือ การใช้ข้อมูลอื่นมาเป็นหลักฐานเพื่อช่วยให้กู้ได้ง่ายขึ้น เช่น สเตทเม้นท์ของธนาคาร หรือลูกค้ามีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ไปซื้อของที่ห้าง เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาประเมินว่ามีรายได้เป็นอย่างไร ทำให้เราสามารถปล่อยสินเชื่อได้โดยไม่ต้องมีเอกสารเป็นเงินเดือนเหมือนสมัยก่อน ”

หลังจากที่นำแนวคิดนี้มาปฏิบัติ ณญาณี สรุปผลว่าหนี้นอกระบบเริ่มลดน้อยลงกว่าเดิมมากเพราะลูกหนี้เริ่มเข้ามาสู่วงจรหนี้ในระบบมากขึ้น ช่วยให้ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เนื่องจากเข้าถึงดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าหนี้นอกระบบ

ใช้เงินถูกวิธี ตัดปัญหาหนี้สิน
อย่างไรก็ตามแม้จะพยายามแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้ลดลงไปได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าขาดวินัยในการใช้เงินในที่สุดก็ต้องกลับมาเป็นหนี้เพิ่มพูนและกลับเข้าสู่วงจรเดิมคือไม่สามารถจ่ายหนี้ได้หมด ปัญหาเรื่องหนี้สินจึงไม่สามารถแก้ไขให้หมดลงได้
มีตัวเลขบ่งชี้ว่าคนเจนY ก่อหนี้มากที่สุด เนื่องจากคนวัยนี้เติบโตท่ามกลางความเจริญของเทคโนโลยี มีไลฟ์สไตล์ชอบความสนุกสนาน และมีความเชื่อว่าเงินสามารถสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ เพราะมีรายได้ค่อนข้างสูง แต่ขณะเดียวกันก็ใช้จ่ายสูงตามไปด้วย
โครงการฉลาดคิด ฉลาดใช้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ใช้เงินเป็น รู้จักวิธีการวางแผนการเงินอย่างเหมาะสม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในชีวิต
“ ในฐานะประธานชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล เหล่าสมาชิกมีความคิดสอดคล้องกันว่าทางออกของคนรุ่นใหม่ที่สร้างหนี้เกินตัวคือการให้องค์ความรู้เรื่องการเงิน เช่น ควรใช้บัตรเครดิตอย่างไร ดอกเบี้ยคิดอย่างไร ปัจจุบันนี้เราทำมีเดียสอนเรื่องเหล่านี้มา 8 episode แล้ว และสมาชิกของชมรมก็ช่วยกันระดมส่งสารเหล่านี้ผ่านช่องทางมีเดียของสมาชิกให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อเป็นหนี้ต้องมาช่วยกันแก้ไข

“ ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต บางคนเป็นหนี้ทั้งสถาบันการเงินและ non bank พอแก้ไขปัญหาหนี้แบงก์ได้แล้ว แต่ยังมีหนี้ของ non bank อีก เราจึงแก้ปัญหาเรื่องหนี้ไม่จบเสียที ดังนั้นปัจจุบันสถาบันการเงินทั้ง 35 แห่ง จึงรวมตัวกันทำเรื่อง “คลินิกแก้หนี้” เพื่อแก้ปัญหาหนี้แบบองค์รวม”

หลักการทำงานของ “คลินิกแก้หนี้” คือการก่อตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือ บสส. (SAM) โดยบริษัทนี้จะเป็นหน่วยงานกลางแทนเจ้าหนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ตามศักยภาพที่เป็นจริง ดั้งนั้นเมื่อลูกหนี้เข้าไปติดต่อคลินิกแก้หนี้ ก็สามารถนำหนี้ทั้งหมดทั้งในส่วนบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล มาแก้ปัญหา โดย บสส.จะเป็นตัวกลางในการจัดการหนี้แทนสถาบันการเงิน

เป้าหมาย SDGs3=Good Health and Well-being

จากฐานข้อมูลของลูกค้า พบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ใช้เงินกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น แต่การใช้บัตรเครดิดตามโรงพยาบาลต่าง ๆ จะมีค่า “ค่าธรรมเนียม”ในการรูดบัตร ซึ่งเป็นภาระให้กับทางโรงพยาบาล จึงทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งไม่รับบัตรเครดิตการ์ดหรือถ้ารับเจ้าของบัตรต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเอง

“ปัญหาเรื่องค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจากการรูดบัตรเครดิตในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล จึงทำให้มีแต่โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่เท่านั้นที่ยอมรับบัตรเครดิต ส่วนโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนไม่มีงบมาสนับสนุนเรื่องดอกเบี้ย จึงทำให้ลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางถึงระดับล่างมีปัญหาเรื่องการใช้บัตรเครดิตเพื่อการรักษาเวลาเจ็บป่วย”

โครงการแต้มต่อชีวิต เป็นโครงการที่มอบสิทธิแบ่งจ่ายค่ารักษาพยาบาล 0% 3 เดือน เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและ บัตรผ่อนชำระในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ โดยค่าใช้จ่ายและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นนั้น กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จะเป็นผู้รับผิดชอบ วิธีการนี้เป็นการเปิดช่องให้โรงพยาบาลทั้งรัฐและโรงพยาบาลเอกชนไม่มีค่าใช้จ่ายเมื่อลูกค้าใช้บัตรเครดิต เพราะกรุงศรี คอนซูมเมอร์รับไปดำเนินการทั้งหมด ปัจจุบันมี 11 โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเริ่มดำเนินกการไปตั้งแต่ 16 เมษายนที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคมปีนี้

“ ความจริงที่แบงก์ฯเข้ามาทำโครงการนี้ ขาดทุนแน่นอนเพราะไม่ได้ดอกเบี้ยจากลูกค้า แถมลูกค้ารูดบัตรเพื่อใช้เป็นค่ารักษา เราก็เก็บค่าธรรมเนียมไม่ได้อีก แต่ที่เราทำเพราะเราได้ช่วยต่อชีวิตให้กับลูกค้า เพื่อลูกค้าจะได้ไม่ต้องมากังวลเรื่องดอกเบี้ยในการรักษาพยาบาล สิ่งที่แบงก์ทำให้กับลูกค้าคือการช่วยต่อชีวิต”

โครงการนี้เริ่มทำกับโรงพยาบาลศิริราชเมื่อต้นปี ปรากฏผลตอบรับจากลูกครั้งเพิ่มขึ้น 2- 3 เท่า โดยมีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ 11 แห่ง คือ โรงพยาบาลศริริราช สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา , โรงพยาบาลศรีธญัญา , โรงพยาบาลศรีนครินทร์, โรงพยาบาลขอนแก่น , โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบรูพา , โรงพยาบาลระยอง , โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่,โรงพยาบาลพทุทธชินราช พิษณุโลก , โรงพยาบาลสงขลานครินทร์, โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่มีบัตรเครดิตเพื่อใช้จ่ายในเรื่องค่ารักษากับโรงพยาบาล ทางกรุงศรีจึงเปิดช่องทางการบริจาคให้กับผู้ที่ด้อยโอกาสในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล โดยสมาชิกบัตรกว่า 8 ล้านบัญชีของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ สามารถร่วมบริจาคผ่านการแลกคะแนน หรือบริจาคเงินผ่านบัตรให้กับ กองทุนเพื่อผู้ป่วยด้อยโอกาสและเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์

“ โครงการนี้เป็นการช่วยคนยากจนให้เข้าถึงเรื่องการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นข้อ 3 ของSDGs ในเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ถือเป็นเรื่องการตอบแทนสังคมด้วย เพราะเราเป็นคนปล่อยสินเชื่อจึงต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าด้วย”


แชร์ :

You may also like