HomePR News“ทีเอ็มบี แฮกกาธอน” ปรากฏการณ์ใหม่ของ Speed Innovation ไม่ใช่แค่ออกผลิตภัณฑ์เร็ว แต่ต้องตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งกว่า [PR]

“ทีเอ็มบี แฮกกาธอน” ปรากฏการณ์ใหม่ของ Speed Innovation ไม่ใช่แค่ออกผลิตภัณฑ์เร็ว แต่ต้องตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งกว่า [PR]

แชร์ :

ผลพวงที่เกิดจากดิจิทัล ดิสรัปชัน (Digital Disruption) ต่อวงการแบงก์ก็คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ของความเร็วในการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆที่ในอดีตการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ นั้นต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน บางทีเป็นปี หรืออาจจะหลายปีจึงจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เข้ามาเขย่าตลาด

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่ปัจจุบันการที่ต้องตอบสนองลูกค้าที่ไม่สามารถรอ หรืออดทนกับอะไรได้นาน ทำให้รอบการออกนวัตกรรมใหม่ๆ ของธนาคารพาณิชย์ในบ้านเราต้องสั้นลง แน่นอนว่า การที่จะสามารถทำอย่างนั้นได้ ต้องมีการปรับกระบวนการทางความคิด และการทำงานของคนในองค์กร

“ทีเอ็มบี แฮกกาธอน” (TMB Hackathon) คือภาพสะท้อนถึงการปรับตัวในเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี โดยทีเอ็มบีใช้รูปแบบของการจัด “ทีเอ็มบี แฮกกาธอน” เข้ามาช่วยขับเคลื่อนไอเดียกับคนภายใน ที่ช่วยทำให้เกิดการเร่งกระบวนการในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ (Speed Innovation) เพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหา (Pain Point) ให้กับลูกค้าของตัวเอง

ถ้าจะย้อนไปดูถึงการเกิดขึ้นของ “แฮกกาธอน” แล้ว จะพบว่า แนวคิดการจัดกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) ในประเทศไทย เริ่มจากวงการดิจิทัลมาสักพักแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มสตาร์ทอัพ (Startup) รุ่นใหม่ ถือเป็นกิจกรรมระดมสมองเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาในเวลาที่จำกัด ซึ่งภายใต้ความกดดันและการแข่งกับเวลานี้จะทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาได้อย่างน่าทึ่ง ทำให้หลายๆ องค์กรเริ่มนำแนวคิดนี้มาจัดกิจกรรมกับบุคคลภายนอกเพื่อมองหาไอเดียใหม่ๆ และนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน

ขณะที่การจัด “ทีเอ็มบี แฮกกาธอน” นั้น คุณกาญจนา โรจวทัญญู หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ทีเอ็มบี บอกว่า เป็นเสมือนการ “แฮก” แฮกกาธอน อีกทีหนึ่ง เพราะแฮกกาธอนทั่วๆ ไป จะเริ่มจากการระดมสมองเพื่อหาวิธีการแก้ไขโจทย์ที่ได้รับมา แต่สำหรับทีเอ็มบีแฮกกาธอนจะเป็นการเริ่มต้นจากการที่แต่ละทีม ต้องตั้งโจทย์ที่มาจากการความเข้าใจในปัญหาของลูกค้า แล้วมาระดมสมองเพื่อหาโซลูชันในระยะเวลาที่จำกัดคือ 48 ชั่วโมง

“แฮกกาธอน จะเป็นการรวมตัวทีมขึ้นมาทำงานร่วมกัน ไม่ได้เป็นคนใดคนหนึ่ง ถ้าเป็นในอดีตที่ผ่านมา การออกผลิตภัณฑ์ จะเป็นหน้าที่ของแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการมองมุมเดียว แต่การทำงานแบบแฮกกาธอน จะเป็นการทำงานแบบแวลูเชน (Value Chain) ครบวงจรของทุกคนที่เกี่ยวข้องจริงๆ การรวมตัวของทีม จึงมีทั้งคนที่มาจากเซ็กเมนต์ (Segment) จากฝ่ายการตลาด จากฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากฝ่ายขาย จากไอที ทั้งหลาย เข้ามาทำงานด้วยกันแบบข้ามสายงาน (Cross Functional) เพราะฉะนั้นทุกคนจะเห็นมุมรอบด้านมากขึ้น แน่นอนการทำงานที่มีความแตกต่าง ต้องตัดสินใจอะไรสักอย่าง วิธีตัดสินว่าอะไรดีที่สุด จะยึดที่ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพราะฉะนั้นลูกค้าก็เลยเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จากการที่เราใช้วิธีการทำงานใหม่ๆ ผ่านแฮกกาธอน”

ทีเอ็มบีจัด “ทีเอ็มบี แฮกกาธอน” ไปแล้ว 2 ครั้ง เร็วๆ นี้จะมีการจัดครั้งที่ 3 ที่จะลงลึกเข้าไปในแต่ละแผนก จากเดิมที่ 2 ครั้งแรกจะเริ่มจากแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 3 จะเป็นการข้ามไปจัดที่แผนกการตลาด ตามด้วยสาขา ซึ่งเป็นแผนระยะกลาง ส่วนในระยะยาว จะเข้าไปจัดกับสำนักงานใหญ่ ซึ่งคุณกาญจนา มองว่า จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของแต่ละแผนกได้เป็นอย่างดี

ผลที่ตามมา นอกจากเรื่องของ “การทำงานเป็นทีม” (Teamwork) แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่มีจุดตั้งต้นมาจากการระดมความคิดผ่าน “ทีเอ็มบี แฮกกาธอน” อาทิ บัญชี TMB Multi-Currency Account บัญชีประเภทนี้ เป็นเสมือนผู้ช่วยชั้นดีให้กับผู้ประกอบการในธุรกิจส่งออกของบ้านเรา เพียงเปิดบัญชีนี้ 1 บัญชีแต่สามารถทำธุรกรรมได้ถึง 6 สกุลเงิน ได้แก่ เงินบาทไทย (THB), ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD), ยูโร (EUR), ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP), ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) และ เยน (JPY) โดยลูกค้าสามารถรับโอนเงินตราต่างประเทศเข้าบัญชี Multi-Currency Account ตามสกุลเงินนั้นๆ ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยตามที่ธนาคารกำหนด

ที่สำคัญยังสามารถแลกเปลี่ยน (Convert) เงินสกุลต่างประเทศในบัญชีเป็นเงินบาท ได้ทันทีผ่านมือถือ อีกทั้งยังมีระบบการแจ้งเตือนผ่านอีเมล และเรียกดู eStatement ได้ตลอดเวลาบน TMB Business Click เป็นการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการได้ตรงจุด ซึ่งทั้งหมดถูกจุดประกายไอเดีย และพัฒนาจากการระดมความคิดผ่าน “ทีเอ็มบี แฮกกาธอน”

อีกตัวอย่างที่เห็นภาพชัด คือ All free ที่มี Travel Proposition ว่า ใช้ All free ที่ต่างประเทศไม่ต้องเสียเรท 2.5% ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากทีเอ็มบี แฮกกาธอน ปีที่แล้ว และสามารถทำให้ลูกค้าใช้งานได้ภายใน 2 – 3 เดือน หลังจากการจัดงาน ถือว่าแตกต่างจากอดีตที่ ถ้ากระบวนการปกติ ต้องรอกัน 1 – 2 ปี กว่าจะผ่านกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ถือเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเร็วได้เป็นอย่างดี

“เราไม่ได้ทำแฮกกาธอนแบบเป็นแฟชั่น หรือได้ชื่อว่าทำ เพราะทุกทีมที่เข้าร่วมมีความจริงจังกันทุกคนเอาโจทย์ของลูกค้าเข้ามาทำจริงๆ ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงก็ค่อนข้างให้การสนับสนุน ต่อยอด และให้โอกาสในการตัดสินใจกับโครงการนี้เต็มที่ เพราะฉะนั้นงานที่ออกมา เลยทำให้ได้เกิดไอเดียที่สามารถต่อยอดไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ สู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง”

แน่นอนว่า แม้ “ทีเอ็มบี แฮกกาธอน” จะเข้ามาช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมที่มองรอบด้านแบบแวลูเชนมากขึ้น แต่ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในท้ายที่สุด คนที่จะได้รับเต็ม ๆ ก็คือตัวลูกค้าของทีเอ็มบี โดยลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์และบริการทีดีขึ้น ซึ่งเป้าหมายของการทำแฮกกาธอน ถ้าเป็นตัวผลิตภัณฑ์ จะเริ่มต้นจากความต้องการหรือปัญหาของลูกค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการเข้าไปช่วยตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาเพื่อทำให้ลูกค้าใช้ชีวิตได้ดีขึ้น

“ทั้งหมดมันจะสะท้อนกลับมาสู่แนวคิด Make THE Difference ของทีเอ็มบี ซึ่งลูกค้าจะรู้สึกว่าทีเอ็มบีเป็นแบรนด์ที่ทำอะไรแตกต่าง เวลาที่เราทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยที่ไม่ได้บอกว่ามาจากแบงก์ไหน (Blind Concept) ลูกค้าบอกว่าต้องของทีเอ็มบีแน่เลย เราเป็นแบรนด์ที่มีลักษณะบางอย่างที่จับต้องได้ว่าเรามักจะทำอะไรที่แตกต่าง หรือใหม่ให้กับอุตสาหกรรมแบงก์ ทีเอ็มบี แฮกกาธอน จึงเป็นเสมือนตัวที่จะเข้ามาช่วยตอกย้ำในเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะเกิดจากแนวคิดที่มีจุดตั้งต้นมาจากตัวลูกค้า”


แชร์ :

You may also like