HomePR Newsบัญชีฯ จุฬาฯ จัดกูรูระดับโลกฟันธงสร้างแบรนด์องค์กรสำเร็จและยั่งยืน รู้เชิงลึกกว่า รวดเร็วกว่า ฉลาดกว่า พร้อมคืนสู่สังคม [PR]

บัญชีฯ จุฬาฯ จัดกูรูระดับโลกฟันธงสร้างแบรนด์องค์กรสำเร็จและยั่งยืน รู้เชิงลึกกว่า รวดเร็วกว่า ฉลาดกว่า พร้อมคืนสู่สังคม [PR]

แชร์ :

แบรนด์องค์กรที่ดี สร้างคุณค่าแก่สังคม และส่งผลถึงความสำเร็จและยั่งยืนของธุรกิจ หลักสูตรปริญญาโทด้านแบรนด์และการตลาด (Master in Branding and Marketing) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาในหัวข้อ ความสำเร็จและความยั่งยืนของแบรนด์องค์กร ในงานประกาศผลและมอบรางวัล ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2019 ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเชิญผู้บริหารระดับสูงขององค์กรระดับโลก Mr.Arthur Lang CEO International Group Singtel สิงคโปร์ พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านแบรนดิ้ง Mr.Shigeo Okazaki Co-founder Maggie and Company สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ผศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ขึ้นเสวนาถึงแบรนด์องค์กร เพื่อความสำเร็จและยั่งยืน บนความท้าทาย และหลังผ่านพ้นยุคดิจิทัล

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Mr.Shigeo Okazaki กล่าวถึงความสำคัญของแบรนด์องค์กรว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้สื่อสารว่าเราเป็นใคร ทำไมเราต้องทำสิ่งต่างๆ เราต้องทำตัวอย่างไร เราจะไปทิศทางไหน และเป้าหมายของเราคืออะไร โดยปัจจัยในการสร้างแบรนด์องค์กรให้ประสบผลสำเร็จนั้น แบรนด์ต้องนำเสนอสไตล์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน เช่น รองเท้า TOMS ที่บริจาครองเท้าต่อการขายรองเท้าทุกคู่ให้แก่ผู้ด้อยโอกาส นอกจากนั้นต้องแสดงเหตุผลว่าทำไมต้องมีแบรนด์เราในสังคมนั้นๆ เช่น เครื่องสำอาง SKII ในจีน ที่กล้ารณรงค์เรื่องของสังคม ออกแคมเปญ Change Destiny เพื่อกระตุ้นเปลี่ยนความคิดของผู้ปกครองและสังคม ที่เคยเห็นว่าผู้หญิงโสดเป็นเรื่องไม่ดี แม้ SKII จะไม่ใช่แบรนด์จีน แสดงให้เห็นถึงการรู้ insight ของสังคมที่แบรนด์ดูแลอยู่อย่างจริงจัง และส่งผลดีต่อยอดขายในที่สุด

นอกจากนี้ในยุคดิจิทัลนั้น แบรนด์ต้องพร้อมใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์ม ในการสร้างเครือข่ายแฟนคอมมิวนิตี้ (Fan Community) ให้ทุกคนสามารถแชร์ทั้งด้านบวกและลบ โดยต้องยึดความโปร่งใส ความซื่อสัตย์ เป็นหลัก และควรตระหนักว่าคนสร้างคุณค่าของแบรนด์ ซึ่งเกิดจากทุกคนภายในองค์กรที่ร่วมกันสร้าง โดยผู้บริหารควรถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจสู่พนักงานองค์กรตามความเหมาะสม

Mr.Arthur Lang ให้ความเห็นว่าความรู้สึกอารมณ์ของผู้เกี่ยวข้องกับแบรนด์องค์กรเป็นสิ่งสำคัญ นอกเหนือจากคุณสมบัติที่จับต้องได้ของสินค้า โดยแบรนด์องค์กรจะประสบความสำเร็จ ด้วยการสร้างความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือ ถึงแม้ได้กระทำสิ่งที่ผิด ต้องกล้าออกมายอมรับ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขทันท่วงที ไม่กระทำผิดซ้ำอีก

ทั้งนี้สิ่งที่ท้าทายสำหรับ Singtel ในยุคปัจจุบัน คือ การเป็นแบรนด์องค์กรที่เก่าแก่มีอายุ 140 ปี จะสื่อสารอย่างไรกับกลุ่มนิวเจน ต้องรับความเป็นจริง อาศัยความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ ซึ่งจะทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการ ตอบสนองความต้องการ สร้างความตื่นเต้น สร้างจินตนาการในยุคดิจิทัล ในขณะเดียวกันลูกค้าต้องการให้เราเกิดการเปลี่ยนแปลง เราจึงต้องปรับเปลี่ยนระบบความคิด (Mindset) และวัฒนธรรม ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดจนถึงพนักงานระดับล่าง แต่ต้องไม่ทิ้งรากเหง้าขององค์กร

ด้าน ผศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร ให้ความเห็นว่า นอกเหนือจากการตระหนักถึงแบรนด์องค์กรที่สร้างคุณค่า ตอบสนองกายภาพ (Functional Value) และความรู้สึกอารมณ์ (Emotional Value) จะต้องคำนึงถึงการสร้างคุณค่าทางสังคม (Social Value) ทำบางสิ่งเพื่อโลกใบนี้ หรือแม้กระทั่งบนโลกออนไลน์ ควรมีจิตสำนึก มี DSR (Digital Social Responsibility) ไม่ระราน ไม่สร้าง ไม่แชร์ สิ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยแบรนด์องค์กรที่ประสบผลสำเร็จต้องทันการเปลี่ยนแปลงของลูกค้า ต้องรู้เชิงลึก (Deeper) ถึงความต้องการ ความรู้สึกภายในของลูกค้ามากกว่าที่ลูกค้ารู้จักตนเอง ต้องรวดเร็วกว่าตลาด (Faster) ในการจัดกิจกรรมการตลาดและความคาดหวังของลูกค้า และต้องฉลาดกว่าคู่แข่งขัน Think Digital, Think Consumer, Think Insight คิดทำในสิ่งที่แบรนด์อื่นทำไม่ได้ แล้วจะประสบผลสำเร็จ

สำหรับการสร้างแบรนด์องค์กรให้ยั่งยืนต่อจากยุคดิจิทัล กูรูทุกท่านให้ความเห็นว่าแบรนด์ต้องพัฒนาและรีเฟรชแบรนด์อย่างต่อเนื่อง มีคาร์แรคเตอร์โชว์ความเป็นตัวตนเพื่อจับใจคน และย้ำการสร้างแฟนคอมมิวนิตี้ ซึ่งจะมีเรื่องราว คอมเม้นต์แบบออร์แกนิค เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ ซึ่งส่งผลดีต่อแบรนด์มากกว่าการโฆษณา ในขณะเดียวกันเราสามารถสร้างแบรนด์ใหม่ๆ จาก Fan Sourcing ที่นำไอเดียจากผู้รักแบรนด์ของเรามาปรับใช้กับแบรนด์อย่างไม่สิ้นสุด

นอกจากนั้นบริษัทควรตระหนักถึง Offline Engagement ด้วย โดยนำแบรนด์องค์กรเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของลูกค้า และต้องเป็นบริษัทที่มีคุณธรรมเพื่อความสำเร็จและยั่งยืนขององค์กร ทั้งนี้แบรนด์จะยืนหยัดได้นอกจากต้องมี Market Share และ Mind Share แล้ว ยังต้องเน้น Heart Share ด้วย

ผศ.ดร.วิเลิศให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าในขณะที่คนเปลี่ยน และต้องการสิ่งใหม่ๆ เสมอ บริษัทจะต้องเปลี่ยนให้เข้าใจเชิงลึกกว่า AI คือต้องเข้าถึงอารมณ์ลูกค้า และแบรนด์ต้องมีสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ ในขณะที่ออนไลน์ออฟไลน์ผสานเป็นไลฟ์ไลน์ของผู้บริโภค ซึ่งจะต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง และต้องเปลี่ยนแปลงตามและไปรออยู่ข้างหน้า โดยนวัตกรรมความรู้สึกสัมผัส (Sensational Innovation) ที่ขับเคลื่อนโลกใบนี้ ฉะนั้น Human is Beyond Digital Era

ฉะนั้นเพื่อให้แบรนด์องค์กรประสบผลสำเร็จและยั่งยืนนั้นไม่ง่าย ต้องทำให้ได้ทั้ง Market Share (ส่วนแบ่งการตลาด) Mind Share (ส่วนแบ่งในใจลูกค้า) และ Heart Share (มีน้ำใจแบ่งปัน) คืนสู่สังคม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยอมรับความเป็นจริงและต้องรู้เชิงลึกกว่า รวดเร็วกว่า และฉลาดกว่าด้วย


แชร์ :

You may also like