เทศกาล “ไหว้พระจันทร์” ถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของคนจีนในชื่อ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ในปฏิทินจันทรคติ ซึ่งมีการเฉลิมฉลองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี โดยขนมไหว้พระจันทร์นั้นเดิมทีเป็นไส้เม็ดบัวบดและไข่แดงเค็มอยู่ตรงกลาง ซึ่งมีแคลเลอรี่สูงถึง 890 แคลฯ ต่อหนึ่งชิ้น ในช่วงหลัง ได้มีการคิดค้นไส้ขนมเพิ่มเติมออกมามากมาย
เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลของคนจีน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าตลาดสำหรับประเทศจีนนั้นมีขนาดใหญ่มาก และคนจีนเองก็เป็นชนชั้นกลางที่มีรายได้มากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ Luxury Brands ต่างๆ ทำขนมไหว้พระจันทร์ออกมาขายในช่วงนี้หลายปีแล้ว อย่าง Louis Vuitton, Gucci, BAPE, และ Burberry แต่ในปีนี้เอง มีแบรนด์ที่เข้ามาทำขนมไหว้พระจันทร์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น CELINE, Fendi, Hermès, LOEWE, Maison Margiela, และ Saint Laurent รวมไปถึงตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ Ferrari ในฮ่องกงที่ทำขนมไหว้พระจันทร์ออกมาขายด้วยเช่นกัน เราลองมาส่องไอเดียหรูของแต่ละแบรนด์กันดีกว่า ว่าจะทำ “ขนมไหว้พระจันทร์” ออกมาได้น่ากินขนาดไหน
Louis Vuitton
ขนมไหว้พระจันทร์ของ LV มาในกล่องทรงสูง ที่มีลูกเล่นน่าสนใจ โดยใช้ลาย โมโนแกรม ที่อยู่ในลูกบอลลูนล่องลอยในท้องฟ้าท่ามกลางก้อนเมฆ และเหมือนกล่องใส่กระเป๋าสตางค์ที่เป็นลิ้นชักใส่ขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งในปีนี้เป็นขนมไหว้พระจันทร์แบบใหม่เคลือบช็อคโกแลต
ขนมไหว้พระจันทร์ของ Loewe ปีนี้มาพร้อมกับกล่องไม้ธรรมชาติ ซึ่งในกล่องเป็นขนมไหว้พระจันทร์ชิ้นพอดีคำที่ด้านบนพิมพ์ลายโมโนแกรมของแบรนด์ ความพิเศษของกล่องคือ ในลิ้นชักด่านล่างมีแม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์เพื่อให้คุณสามารถลองทำเองได้สำหรับปีหน้า
Blackbird Automotive
ตัวแทนจำหน่าย Ferrari จากฮ่องกง แน่นอน เมื่อเป็นตัวแทนขายรถยนต์ Ferrari แล้ว กล่องไหว้พระจันทร์จึงเป็นกระโปรงหลังของ Ferrari ในยุค 70s และมีไฟท้ายส่องสว่างอีกด้วย
สำหรับปีนี้ Maison Margiela มาพร้อมกับกล่องไม้แข็งแรงสีขาว และโลโก้ตัวเลขบนกล่อง ซึ่งขนมไหว้พระจันทร์จากแบรนด์นี้มีเอกลักษณ์ที่มีชั้นเปลือกของขนม 2 ชั้นด้วยกัน
A Bathing Ape/AAPE
ทั้ง A Bathing Ape และ AAPE มาในรูปของกล่องอาหารกลางวัน โดย BAPE เป็นลายพรางสีชมพู แต่กล่องของ AAPE จะเป็นลายพรางปกติแต่มาพร้อมกับแก้วน้ำที่เอาไว้ไปออกแคมป์อีกด้วย โดยขนมไหว้พระจันทร์ของทั้งสองแบรนด์จะเป็นขนาดเล็กพอดีคำและมีหัวของมาสคอตพิมพ์อยู่ด้านบน
Gucci
กล่องขนมไหว้พระจันทร์ของ Gucci ดูเหมือนว่าเป็นกล่องใส่นาฬิกามากกว่ากล่องขนมสะอีก ซึ่งข้างนอกเป็นสีแดงตัดกับสีน้ำเงินด้านใน บรรจุกล่องเล็กๆ ใส่ขนมไหว้พระจันทร์ไว้อีก 6 กล่องที่มีลวดลายโมโนแกรมหลายแบบ รวมทั้ง GG และบนขนมไหว้พระจันทร์เป็นลายผึ้ง
CELINE มาพร้อมกับกล่องสไตล์มินิมอลสีขาวธรรมดาๆ ซึ่งกล่องที่ออกแบบมาได้ธรรมดานั้นเพราะว่าต้องการให้ไปโฟกัสที่คุณภาพของขนมไหว้พระจันทร์ที่มีลายพิมพ์โมโนแกรมของแบรนด์ไว้ด้านบน กล่องธรรมดาๆ แบบนี้ มันทำให้คุณคิดได้ว่า ขนมไหว้พระจันทร์ของ CELINE จะมีขายตลอดปีในร้านขนมของปารีส
Fendi
Fendi มาพร้อมกับกล่องที่อลังการที่สุดในปีนี้ มาในรูปแบบของโคมไฟจริงๆ ที่หมุนได้ ที่ฐานล่างเป็นลิ้นชักใส่ขนมไหว้พระจันทร์ไว้ข้างในอีกด้วย
Burberry
ขนมไหว้พระจันทร์ของ Burberry ต่างจากแบรนด์อื่นในปีนี้ ตรงที่เป็นขนมไหว้พระจันทร์ขนาดปกติ ซึ่งหลายแบรนด์เลือกที่จะทำออกมาในรูปแบบพอดีคำมากกว่า และลวดลายของขนมยังเป็นเอกลักษณ์มาก โดยการออกแบบ TB Monogram ให้มีลวดลายที่มีความเป็นจีนบนตัวขนมอีกด้วย
Hermès
Hermès เป็นแบรนด์เดียวในปีนี้ที่ไม่มีขนมไหว้พระจันทร์ที่กินได้ แต่กลับใช้แรงบันดาลในจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นในการออกแบบแท่งโลหะที่เมื่อปั่นไปมาในมือจะให้สีรุ้งออกมา โดยแท่งโลหะนี้เมื่ออยู่เฉยๆ จะคล้ายกับโคมไฟที่ใช้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์แทน
Saint Laurent
ปิดท้ายด้วย Saint Laurent ที่มาแปลกกว่าใคร ขนมไหว้พระจันทร์ในกล่องสีดำ ซึ่งกล่องนี้ หากคุณเป็นลูกค้าที่ซื้อรองเท้าจาก Saint Laurent จะรู้ว่านี่คือกล่องรองเท้าปกตินี่ เมื่อเปิดกล่องออกมาจะพบกับกล่องรองเท้าขนาดเล็กอีกสี่กล่อง ซึ่งแต่ละกล่องจะมีขนมไหว้พระจันทร์ที่เหมือนกับขนมไหว้พระจันทร์แบบดั้งเดิมมากที่สุดแบรนด์หนึ่งเลยทีเดียว