HomeInsightGen Z ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตและท่องเที่ยว มากกว่าการศึกษา การมีบ้าน หรือความมั่นคงหลังเกษียณ

Gen Z ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตและท่องเที่ยว มากกว่าการศึกษา การมีบ้าน หรือความมั่นคงหลังเกษียณ

แชร์ :

Booking.com​ เผยผลสำรวจ “Gen Z Unpacked : ความตั้งใจของผู้เดินทาง Gen Z ที่พร้อมออกไปสัมผัสโลกกว้างในแบบของตัวเอง“​ เพื่อทราบถึงความต้องการและสิ่งจำเป็นของผู้เดินทางในกลุ่ม Gen Z

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยการสำรวจชิ้นนี้ Booking.com ทำการสอบถามออนไลน์ไปยังกลุ่มตัวอย่าง 21,807 คน อายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป โดย 25% หรือกว่า 5,452 คน ที่เป็น Gen Z มีอายุ 16-24 ปี​​ จาก 29 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี จีน บราซิล อินเดีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร รัสเซีย อินโดนีเซีย โคลอมเบีย ​เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ไทย อาร์เจนตินา เบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฮ่องกง โครเอเชีย ไต้หวัน เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สิงคโปร์ และอิสราเอล ระหว่าง 1 – 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

 ทำความรู้จักนักเดินทาง Gen Z 

จากข้อมูลจะพบว่า Gen Z มักจะวางแผนชีวิตด้านการท่องเที่ยวไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายที่ต้องการพิชิตให้ได้ภายใน​ 10 ปีนี้ แม้ส่วนใหญ่อาจจะเพิ่งก้าวพ้นจากวัยเด็กมาได้ไม่นาน ซึ่งผลลัพธ์ที่พบจากการสำรวจในครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงแนวคิดด้านการเดินทางเท่านั้น แต่ยังโยงไปถึงเป้าหมาย และค่านิยมด้านอื่นๆ ที่คนกลุ่มนี้วางเป้าหมายไว้ในชีวิตด้วย

และจากการสำรวจ จะ​พบ 6 ลักษณะเด่น ของคน Gen Z ประกอบด้วย รู้ถึงส่ิงที่ตัวเองต้องการอย่างชัดเจน, ต้องการเดินทางด้วยตัวคนเดียว, ​ให้ความสำคัญกับการเดินทางมากกว่าสิ่งอื่น, มีการแพลนทริปท่องเที่ยวแบบ “ครั้งหนึ่งในชีวิต”, เป็นรุ่นแห่งการตอบแทน และ ขยันอัพเดทโซเชียลมีเดีย โดยแต่ละลักษณะดังกล่าวของ Gen Z มีรายละเอียดดังนี้

1. รู้ถึงส่ิงที่ตัวเองต้องการอย่างชัดเจน

แม้คน Gen Z อาจจะเพิ่งก้าวผ่านจากวัยเด็ก แต่ส่วนใหญ่มักจะรู้แน่นอนแล้วว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการคืออะไร และมักจะมีการวางแผนต่างๆ เพื่อให้สามารถพิชิตเป้าหมายได้ตามที่ตั้งใจไว้เรียบร้อยแล้ว โดยการสำรวจพบว่า 67% จะรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่รู้ว่าในอนาคตกำลังจะได้เดินทาง และมีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งต้องการประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและท้าทายในระหว่างการเดินทาง เช่น เล่นพาราไกลดิ้ง โดดบันจี้จัมพ์ หรือการเดินป่าที่สุดแสนท้าทาย

ขณะที่ 39% วางแผนไว้แล้วว่า อยากจะเดินทางท่องเที่ยวให้ได้อย่างน้อย 3 ทวีป ใน 10 ปี นับจากนี้ โดยมีถึง 30% ที่คาดหวังว่า จะมีโอกาสได้ไปเรียน หรือไปใช้ชีวิตในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศบ้านเกิดของตัวเอง ในช่วงทศวรรษนี้
2. พร้อมสำหรับการเดินทางด้วยตัวคนเดียว
นักเดินทาง Gen Z ถึง 34% ที่วางแผนไว้ว่าอยากจะลองเดินทางด้วยตัวเองคนเดียวสักครั้ง ภายในช่วง 10 ปีข้างหน้า และ 18% ที่ตั้งใจจะแบ็กแพ็กไปเที่ยวคนเดียว หลังจากเรียนจบ หรือหากไม่ได้เดินทางไปคนเดียว แต่ก็มีสัดส่วนถึง 33% ที่ชอบหลบไปอยู่คนเดียวในระหว่างทริปการเดินทาง เพราะมีจำนวนเกือบครึ่งหนึ่ง หรือ 46% ที่รู้สึกว่า การเดินทางกับครอบครัว หรือมีคนอื่นไปด้วย จะต้องคอยระวังความประพฤติมากกว่าการไปท่องเที่ยวคนเดียว
3. ให้ความสำคัญกับการเดินทางมากกว่าสิ่งอื่น
สำหรับ Gen Z ประสบการณ์จากการเดินทางท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมาก โดยสัดส่วนสูงถึง 70% ที่ยอมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพราะเห็นความสำคัญของการจ่ายเพื่อแลกกับประสบการณ์ที่ได้จากการเดินทางท่องเที่ยว ขณะที่ 60% มองว่า การได้เดินทางเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากพอที่จะลงทุนด้วยเสมอ และมีถึง 47% ที่เห็นความสำคัญของการเดินทางท่องเที่ยวมากกว่า แล้วเลือกที่จะไปประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ทดแทนเพื่อแลกกับการได้ประสบการณ์จากการเดินทางท่องเที่ยว
โดยในมุมมองในการให้ความสำคัญกับมิติต่างๆ ในชีวิตนั้น มีนักท่องเที่ยว Gen Z ถึง 65% ที่ยกให้ “การมีโอกาสได้เดินทางไปสัมผัสโลกกว้าง”​ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด หากจะต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ขณะที่ รองลงมาคือ การลงทุนเพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพต่างๆ ซึ่งมีสัดส่วน 60% เท่ากับการเก็บเงินไว้สำหรับการผ่อนบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ และตามมาด้วยการเก็บเงินไว้เพื่อความมั่นคง สำหรับใช้หลังวัยเกษีนณ ด้วยสัดส่วน 51%
4. มีแพลนเป้าหมายทริปท่องเที่ยวแบบ “ครั้งหนึ่งในชีวิต” ไว้แล้ว
แม้คน Gen Z จะอายุน้อยแต่ก็มีการวางแผนระยะยาวไว้แล้ว โดยมีถึง 32% วางแผนถึงสุดยอดทริปที่ต้องไปสักครั้งในชีวิตไว้ถึง 5 ทริป ตลอด 10 ปี นับจากนี้
โดยในจำนวนนี้ มีถึง 69% ที่เลือกจะลิสต์ถึงสิ่งที่ต้องห้ามพลาดในการเดินทาง เพื่อมีโอกาสได้ไปทำหรือไปดูสักครั้งในชีวิต ซึ่งเป็นกลุ่มผู้หญิง Gen Z สูงถึง 74% และเป็นกลุ่มผู้ชาย Gen Z ที่ราว 64% ขณะที่ 23% รู้สึกพึงพอใจหากได้ไปเยือนสถานที่ตามที่ลิสต์ไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้เพิ่มเติมจุดหมายใหม่ๆ เข้าไปอีก รวมทั้งในสัดส่วนที่เท่ากันมองว่า การมีลิสต์เพื่อเตือนให้ทำในสิ่งที่ห้ามพลาด ทำให้ได้รู้จักในแง่มุมต่างๆ ของแต่ละ Destination ได้ดีมากยิ่งขึ้น
5. เป็นนักเดินทางรุ่นแห่งการตอบแทน
นักเดินทาง Gen Z 60% ก็ไม่แตกต่างจากคนในรุ่นอื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับการค้นหาตัวเลือกด้านการเดินทางที่เป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น เมื่อไปถึงจุดหมาย โดย 56% ต้องการที่พักที่รักษ์โลกหรือมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, 54% ระบุว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเดินทางในจุดหมายต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเดินทาง, 52% เลือกไปเยือนในจุดหมายปลายทางที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากกว่าจุดหมายยอดฮิต หากสามารถสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้น้อยกว่า และ 37% ต้องการสัมผัสประสบการณ์ของการเป็นอาสาสมัคร ในระหว่างที่ไปเที่ยว​
6. โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลต่อการเดินทาง 

คน Gen Z เป็นรุ่นแรกที่ได้โตมาเป็นชาวดิจิตอลโดยกำเนิด จึงไม่น่าแปลกใจที่จะใช้ชีวิตแบบขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้ โดย 53% ให้ความสำคัญกับ Wi-Fi มากที่สุดในช่วงไปเที่ยว ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าคนรุ่นอื่นๆ และคน Gen Z ยังเลือกให้ Wi-Fi เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอันดับต้นๆ ที่อยากได้จากที่พักอีกด้วย

โดยโซเชียลมีเดีย คือสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวของ Gen Z ในแต่ละทริปอย่างสูง เพราะพบว่า Gen Z 45% เลือกที่จะเชื่อถือคำแนะนำของคนที่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว อย่างอินฟลูเอนเซอร์และเซเลบริตี้บนโลกออนไลน์  และ 42% จะมีการอัพโหลดภาพถ่ายลงบนโซเชียลมีเดียเสมอตลอดการเดินทาง

และเพราะความโดดเด่นของอินสตาแกรม หรือ IG ในฐานะ Photo Sharing Platform ที่มักจะมีไว้เพื่อโชว์ภาพสวยๆ ​ขณะที่ภาพหนึ่งภาพก็สามารถช่วยบรรยายหรือให้ข้อมูลต่างๆ ได้นับพัน ทำให้คน Gen Z ถึง 40% เลือกที่จะใช้ IG เป็นแหล่งในการสร้างแรงบันดาลใจว่าจะไปท่องเที่ยวท่ีไหนดี และ 1 ใน 4 หรือ 25% ของคน Gen Z ถ่ายรูปมากกว่า 50 รูปต่อวันในทริปวันหยุด แม้ครึ่งหนึ่งหรือ 50% ของ Gen Z จะรู้ตัวดีว่า มีการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปในระหว่างเดินทางก็ตาม

 ​Gen Z ไทยหาข้อมูลเรื่องเที่ยวผ่าน Hashtag 
สำหรับกลุ่ม Gen Z ชาวไทยแล้ว IG ก็ถือเป็นโซเชียลมีเดียยอดฮิตอันดับต้นๆ สำหรับการหาแรงบันดาลใจเพื่อใช้ตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดีเช่นเดียวกัน ​โดยชอบที่จะหาข้อมูลท่องเที่ยวผ่านแฮชแท็ก โดยเฉพาะ #travel และ #inspo’ 
ทั้งนี้ ยังพบว่าผู้หญิงไทยในกลุ่ม Gen Z มีแนวโน้มจินตนาการภาพทริปพักผ่อนครั้งถัดไประหว่างเลื่อนดูโซเชียลมีเดียถึง 39%​ ทิ้งห่างจากค่าเฉลี่ยของคนใช้อินสตาแกรมทั่วประเทศ ที่อยู่ในระดับ 31% และบรรดากลุ่มคนในยุคมิลเลนเนียล ที่อยู่ในระดับ 36%
นอกจากนี้ยังพบว่า มากกว่าครึ่ง หรือ 51% ของชาวไทยในกลุ่ม Gen Z เชื่อถือคำแนะนำอินฟลูเอนเซอร์และเซเลบริตี้ โดย Gen Z ไทยมากกว่าครึ่ง หรือ 64% ชอบดูโพสต์และภาพถ่ายเกี่ยวกับการเดินทางบนโซเชียลมีเดีย และเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี ก็เลือกที่จะตรงไปดูฟีดของตัวเอง โดยที่ 30% ของคนวัยนี้เลือกให้ฟีดบนโซเชียลมีเดียเป็นแหล่งในการสร้างแรงบันดาลใจชั้นยอดด้านการเดินทาง ​
และหากต้องเลือกในการไปเยือนยังจุดหมายใหม่ๆ ​Gen Z ชาวไทย​ 60% กล่าวว่า ได้รับอิทธิพลมาจากอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดีย และ 51% เชื่อถือคำแนะนำด้านการเดินทางของอินฟลูเอนเซอร์

ขณะที่แรงบันดาลใจสำหรับคน Gen Z ไม่ได้มาจากแค่หน้าจอสมาร์ทโฟนเท่านั้น เพราะผู้ทำแบบสอบถาม 28% ระบุว่าได้แรงบันดาลใจเรื่องจุดหมายในการเดินทาง จากการดูภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ ซึ่งทำให้อยากไปเห็นสถานที่ดังกล่าวด้วยตาตัวเอง นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำด้านการเดินทางมาจากสังคมออฟไลน์ด้วยเช่นกัน โดย 25% หาข้อมูลวงในจากกลุ่มเพื่อน

ขยันถ่ายภาพลงโซเชียล

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นหน้าฟีดของอินฟลูเอนเซอร์หรือของตัวเอง Gen Z ชาวไทยกว่า 60% ต่างสนใจในการเดินทางไปจุดหมายที่ถ่ายภาพออกมาดูดี และมีถึง 56%​ ที่นิยมอัพโหลดภาพจากทริปลงโซเชียลมีเดียเสมอ แต่ก็ยังน้อยกว่าผู้ใช้ยุคมิลเลนเนียล ที่อัปโหลดรูปลงโซเชียลมีเดียถึง 67% เลยทีเดียว

ตามข้อมูลยังเห็นว่า Gen Z จำนวน 1 ใน 4 หรือ 26% รู้สึก​ “สนุกกับการถ่ายรูป” และในแต่ละทริปจะถ่ายภาพมากกว่า 50 ภาพต่อวันในช่วงที่ไปเที่ยว รวมทั้ง 56% ชอบแชร์ภาพแบบสาธารณะบนโซเชียลมีเดีย

แต่อย่างไรก็ตามยังมี Gen Z ชาวไทย จำนวนมากกว่าครึ่งเช่นเดียวกัน ​ที่คิดว่ามีการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปในตอนที่อยู่ระหว่างการเดินทาง ​โดยพบว่า 29% ถ่ายภาพโดยฉเลี่ยแต่ละวันอยู่ที่ 10-30 ภาพ โดยหนึ่งในสี่ หรือ 26%​ สนุกกับการถ่ายภาพ และถ่ายภาพมากกว่า 50 ภาพต่อวัน

อย่างไรก็ตาม แรงกระตุ้นของคน Gen Z ไม่ได้มีเพียง IG เท่านั้น เพราะคนกลุ่มนี้ก็ตระหนักถึงความสำคัญของประสบการณ์ที่ได้จากไปเที่ยว โดย 69%​ กล่าวว่า อยากโฟกัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและดื่มด่ำกับช่วงเวลาต่างๆ แทนที่จะเอาแต่ถ่ายภาพลงโซเชียลมีเดีย เรียกได้ว่าภาพถ่ายสำหรับลงโซเชียลนั้นเป็นเพียงของแถมจากการเดินทาง ​ขณะที่อีกหลายคนต่างก็อยากใช้ชีวิตแบบออฟไลน์ เพราะกว่าครึ่งหรือ 53% มองว่ามีการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปในช่วงเดินทาง ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้จะยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพฤติกรรมการชอบใช้ หรือ “ถูกใจ” โซเชียลมีเดียของคน Gen Z แต่การก้มหน้าดูจอ คงไม่สามารถขัดขวางประสบการณ์การเดินทางของจริง ในชีวิตจริงของพวกเขาได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน


แชร์ :

You may also like