HomeDigitalปิดตำนาน “เพจเจอร์” เมื่อเครือข่ายสุดท้ายของโลก “Tokyo Telemessage” ยุติบริการแล้ว

ปิดตำนาน “เพจเจอร์” เมื่อเครือข่ายสุดท้ายของโลก “Tokyo Telemessage” ยุติบริการแล้ว

แชร์ :

ถึงเวลาต้องโบกมือลาอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับ “เพจเจอร์” อุปกรณ์สื่อสารที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของฮอตฮิตในหมู่คนทำงานและวัยรุ่นวัยเรียน เมื่อผู้ให้บริการรายสุดท้ายของโลกอย่าง Tokyo Telemessage ตัดสินใจส่งสัญญาณจนถึงเวลาเที่ยงคืนของวันนี้ (30 กันยายน) เป็นวันสุดท้าย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยเพจเจอร์เคยเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงยุค 1980 – 2000 ซึ่งเป็นยุคที่ผู้บริโภคไม่มีตัวเลือกด้านการสื่อสารมากนัก แต่หากย้อนอดีตการพัฒนาของเพจเจอร์ไปอีกจะพบว่า การคิดค้นระบบการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุผ่านอุปกรณ์เพจเจอร์นั้น มีขึ้นครั้งแรกในกรมตำรวจของดีทรอยด์ เมื่อปี 1921 เลยทีเดียว

แต่การใช้งานในเชิงธุรกิจมีขึ้นในเวลาต่อมา เมื่อมีนักประดิษฐ์ชื่อ Al Gross พัฒนาเพจเจอร์เพื่อใช้งานในโรงพยาบาลขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1949 จนกระทั่งปี 1959 บริษัท Motorola จึงได้พัฒนาเพจเจอร์สำหรับตลาดคอนซูเมอร์ขึ้นเป็นผลสำเร็จ

โดยใครที่มีโอกาสได้เห็นเพจเจอร์รุ่นแรก ๆ คงจำได้ว่ามันไม่มีหน้าจอ และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ แต่ด้วยตัวเลือกด้านการสื่อสารที่มีจำกัด ถึงทำงานได้เท่านั้น แต่การใช้งานเพจเจอร์ก็เติบโตมาเรื่อย ๆ จนพุ่งขึ้นเป็น 3.2 ล้านเครื่องทั่วโลกในยุค1980 ก่อนจะก้าวเป็น 61 ล้านเครื่องในปี 1994 เนื่องจากผู้ผลิตพัฒนาให้เพจเจอร์รับสัญญาณจากระยะไกลได้มากขึ้น

เพจเจอร์ของ Motorola รุ่น Pageboy 1 ซึ่งแม้ไม่มีหน้าจอแต่ก็เป็นอุปกรณ์ที่ฮอตทีเดียวในยุคนั้น

สำหรับข้อดีของเพจเจอร์ที่ทำให้มันโดดเด่นเหนือกว่าเครือข่ายสื่อสารอื่น ๆ ก็คือเรื่องของความเสถียรในการติดต่อสื่อสาร ที่ส่งปุ๊บถึงปั๊บ ต่างจากเครือข่ายไวไฟ หรือเครือข่ายมือถือที่อาจล่มได้หากเกิดภัยพิบัติขึ้นมา ประกอบกับโทรศัพท์มือถือในยุคแรก ๆ มีขนาดที่ใหญ่เทอะทะ ยากจะพกพา ทำให้เพจเจอร์ยังรักษาความนิยมเอาไว้ได้อีกสักระยะ

ส่วนข้อจำกัดของเพจเจอร์ที่ทำให้การใช้งานไม่สะดวกสบายนักก็คือการที่มันเป็นอุปกรณ์สื่อสารทางเดียว (คือรับข้อมูลได้อย่างเดียว ส่งออกไม่ได้) แม้จะสามารถพัฒนาให้สื่อสารได้สองทางในภายหลัง แต่ผู้บริโภคในยุคนั้นก็หันไปหาโทรศัพท์มือถือแทนเสียแล้ว

ด้วยเหตุนี้ เมื่อเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือพร้อมเต็มที่ ตลาดของเพจเจอร์จึงถูกโทรศัพท์มือถือเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว จนทำให้ Motorola ตัดสินใจยุติการผลิตเพจเจอร์ไปเมื่อปี 2001 ขณะที่การใช้งานเพจเจอร์ภายใต้เครือข่ายสุดท้ายของโลกอย่าง Tokyo Telemessage ก็กำลังจะโบกมือลาเราไปในคืนนี้แล้วเช่นกัน

Source

Source

Source


แชร์ :

You may also like