HomeSponsoredSEAC แนะ “ไม่ปรับ ไม่รอด” Reskill – Upskill หนทางรอดของคนทำงาน ผ่ากระแส Digital Disruption

SEAC แนะ “ไม่ปรับ ไม่รอด” Reskill – Upskill หนทางรอดของคนทำงาน ผ่ากระแส Digital Disruption

แชร์ :

ผลจากกระแส Digital Disruption องค์กรชั้นนำในทุกๆ อุตสากรรมต้องปรับตัวในหลากหลายแง่มุม ทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้า ปรากฏการณ์ดังกล่าว มีผลกระทบโดยตรงกับขีดความรู้ความสามารถของพนักงาน ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักและเป็นตัวตัดสินชี้ชะตาถึงความอยู่รอดขององค์กร เป็นเหตุให้องค์กรต้องปรับเพิ่มทักษะที่จำเป็นเพื่อพัฒนาศักยภาพของพวกเขาเหล่านี้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ขณะเดียวกัน ทักษะที่ตลาดต้องการมักจะพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยีเสมอ ดังนั้น กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การเสริมทักษะใหม่ (upskill) นั่นก็คือ การเสริมทักษะเพิ่มเติมในความเชี่ยวชาญเดิมในบริบทใหม่ เพิ่มความสามารถของพนักงานในเนื้องานเดิมบทบริบทใหม่ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณค่าของพนักงานที่มีต่อองค์กรอย่างมาก ขณะที่ การเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (reskill) คือ การพัฒนาทักษะทั้งหมดของพนักงานสำหรับเนื้องานอื่นๆ การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือการฝึกทักษะที่จำเป็นและสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ในหน้าที่ใหม่ภายในบริษัท ทั้งสองสิ่งนี้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดใน

พาองค์กรก้าวให้พ้น Digital Disruption เริ่มที่พัฒนาคน

อย่างไรก็ตาม แม้รายงานของ World Economic Forum ระบุว่า ร้อยละ 50 ขึ้นไปของคนทำงานต้องเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (reskill) ภายในปี พ.ศ. 2565 แต่ปัญหาสำคัญไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยีที่กำลังคืบคลานเข้ามาดิสรับ แต่สิ่งที่ยากคือ “กรอบความคิดกับวัฒนธรรม”

ชัดเจนว่า ปัญหาเกี่ยวกับ “คน” กลายเป็นปัญหาสำคัญที่หลายองค์กรต้องเจอ และการเพิ่มพูนทักษะเสริมความแข็งแกร่งให้องค์กร ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ไม่สามารถทำสำเร็จได้ในระยะเวลาสั้นๆ การรีสกิล “คน” สามารถสร้างการเรียนรู้ได้ในทุกเรื่อง ทุกด้าน หลากหลายสาขาวิชา แต่ “บุคคล” นั้นต้องใช้เวลากับสิ่งนั้นให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามลักษณะของแต่ละองค์กรที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การจะก้าวไปสู่ “จุดเปลี่ยนสู่ความท้าทายในอนาคต” เพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC กล่าวในงานแถลงข่าวการอัพเกรดทักษะทรัพยากร “คน” ภายในองค์กร จัดโดย ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน SEAC (เอสอีเอซี) ว่า ยิ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นเท่าไหร่ ทรัพยากรมนุษย์ย่อมสั่นคลอนมากขึ้นเท่านั้น ฉะนั้น องค์กรจำเป็นจะต้องตื่นตัวและพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ตลอดเวลา และต้องรู้จักเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี รวมไปถึงเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อเป็นประตูเปิดโอกาสในการสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคง และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก ที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม

“สิ่งสำคัญที่สุด คือ องค์กรจะต้องเข้าใจก่อนว่า ปัญหาขององค์กรคืออะไร ตอนนี้องค์กรยืนอยู่ที่จุดไหน ความท้าทายใหม่ ที่กำลังจะเข้ามามีผลกระทบกับองค์กรในรูปแบบไหนบ้าง องค์กรมีความพร้อมอย่างไรบ้าง แล้วเราจะมีหนทางแก้ปัญหาและเส้นทางใหม่ เพื่อรับมือให้องค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน” อริญญา กล่าว

6 องค์กรใหญ่ ปรับตัวอย่างไรให้ “คน” เปลี่ยนทันโลก

สำหรับ 6 องค์กรชั้นนำของประเทศไทย อย่าง อิตัลไทย เอไอเอส พีทีจี เมืองไทยประกันชีวิต มิตรผล และเอสซีจี ถือเป็นตัวอย่างองค์กรที่มองหา “จุดเปลี่ยนสู่ความท้าทายในอนาคต” เพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยเล็งเห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับ “คน” และมุ่งมั่นที่จะพัฒนา “คน” เพื่อให้องค์กรสามารถยืนหยัดต่อการแข่งขันบนโลกดิสรัปชั่นได้ มาหาคำตอบว่าพวกเขาเหล่านี้เตรียมความพร้อมในโลกดิสรับชั่นและมีวิธีการผลักดันพนักงานอย่างไร

AIS” เมื่ออำนาจทั้งหมดไม่ได้อยู่ที่ผู้บริหาร

สำหรับยักษใหญ่อย่าง AIS กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส อธิบายว่า ทาง AIS ได้มีการพูดคุยถึง Change Management มาโดยตลอด เพราะธุรกิจโทรคมนาคมเป็นธุรกิจที่ถูก Disrupt อยู่ตลอดเวลา แต่ตอนนี้มันคือ “Transformation Management” ซึ่งใหญ่กว่า Change Management อยู่มาก

ในการที่จะแข่งขันกับโลกที่เปลี่ยนไป เราพบเจอกับ 2 Barriers ได้แก่ ผู้บริหาร และฝ่าย HR เมื่อก่อนเวลาเราพูดถึงการเพิ่มศักยภาพคนในองค์กร เรามักจะพูดถึง “ห้องเรียน” ซึ่งผู้บริหารจะเป็น ผู้กำหนดว่าจะเรียนอะไร แบบไหน หรืออย่างไร แต่ในปัจจุบันเราไม่สามารถรอให้ผู้บริหารกำหนดหลายๆ อย่างลงมาได้ เพราะหากรอก็จะตามไม่ทันโลก ดังนั้น เราจึงต้องหาวิธีที่จะทำให้คนในองค์กรคิดเองเป็น ดีไซน์เองเป็น กำหนดจุดหมายเป็น และต้องเกิดการแลกเปลี่ยน โดยวิธีเหล่านั้นจะต้องเอื้อให้คนในองค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้เอง

Italthai” ลดช่องว่างระหว่างรุ่นใหม่ VS รุ่นใหญ่

ด้าน ยุทธชัย จรณะจิตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอิตัลไทย กล่าวว่า Italthai เปรียบเสมือนแมว 9 ชีวิตที่อยู่มาอย่างยาวนาน เราทำธุรกิจหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ การก่อสร้างไปจนถึงการบริการต่างๆ ดังนั้น เราใช้ทรัพยากรค่อนข้างเยอะ (manpower) ในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาที่พบเจอ คือ generations gap ระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ โจทย์คือ เราจะหา tools อะไรมาแก้ไขปัญหาเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถ blend in ใน ecosystem ของเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมสร้าง Culture ใหม่ๆ ในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น

“ส่วนตัวคิดว่า การรีสกิลและอัพสกิล คือคำตอบที่กำลังตามหา เพราะเมื่อโลกมันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สกิลเดิมๆ ที่เคยมีไม่เพียงพออีกต่อไป จึงจำเป็นต้องรีบเพิ่มและเสริมทักษะให้กับคนในองค์กรและตัวผมเองในฐานะผู้บริหารด้วย เพื่อเราจะสามารถเติบโตไปพร้อมๆ กันได้”

“มิตรผล” ปรับตัวให้ได้ ดึง Data Science มาใช้ให้เกิดประโยชน์

ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานการเงิน และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มบริหาร บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันในภาคเกษตรกรรมมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก เพราะมีการคำนึงถึงต้นทุน ในการผลิตมากขึ้น (Productivity) ซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีได้ Digital เข้ามาแทนที่งานในหลายตำแหน่ง ซึ่งจะทำให้หลายๆ ตำแหน่งที่เคยใช้กำลังคนถูกแทนที่

อีกปัญหาหนึ่งที่องค์กรต้องเผชิญคือการอยู่ร่วมกันของคนหลายเจเนอเรชั่น องค์กรมีหน้าที่ต้องหาวิธีในการให้คนทุกเจเนอเรชั่น ดังนั้น เรามองว่า Reskill และ Upskill จะทำให้คนทุกเจเนอเรชันสามารถอยู่ร่วมกันหรือสามารถนำพาองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงได้ เราจึงต้องเร่งสร้างให้ทุกคนในองค์กรมี Common Platform ที่ไปในทางเดียวกันก่อน และสิ่งสำคัญต่อองค์กรในการการทันการเปลี่ยนแปลงคือการใช้ Data Science ในการจัดการต่างๆ ซึ่งหากเราสามารถใช้ Data Science ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราก็จะสามารถแข่งขันกับนานาประเทศและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงได้

MTL” เปลี่ยนสายงานที่ตัน เป็นการพัฒนาไปพร้อมกัน

ฤทัย สุทธิกุลพานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL กล่าวว่า ในฐานะธุรกิจประกันภัยต้องปรับตัวกันเยอะมาก สิ่งที่ท้าทาย คือ จะรักษา Retention Rate อย่างไรให้คนในองค์กรสามารถ Reskill และ Upskill โดยเติบโตไปพร้อมๆ กันได้ เปลี่ยนความคิดจากที่ว่า เมื่อถึงทางตันในสายงาน 4-5 ปี ต้องโยกย้าย กลายมาเป็นเรียนรู้และเติบโตไปพร้อมกับบริษัท  เช่น นักคณิตศาสตร์ประกันภัย หลายๆ คนเข้าใจว่าเขาเป็นคนทำตีราคาประกัน แต่ความจริงแล้ว นักคณิตศาสตร์ประกันภัยมี Baseline ที่ดีมากในการที่จะเป็น Machine Engineering ซึ่งง่ายกว่าการที่ต้องไปหาคนใหม่แล้วต้องมาสอนกันตั้งแต่แรก

PTG” Self-learning การเรียนรู้ขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคล

บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG ถือเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานกว่า 16,000 คน มีธุรกิจหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นสถานีบริการน้ำมัน ร้านกาแฟ มินิมาร์ท เป็นต้น ซึ่งความใหญ่ขององค์กรทำให้องค์กรเคลื่อนตัวช้า เกิดคำถามว่า “ต้อง Reskill อย่างไร แล้วบน Speed ขนาดไหนถึงจะก้าวทันโลกได้?”

ภูมิพัฒน์ สินาเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTG กล่าวว่า การพัฒนาองค์กรด้วยการ Reskill ทำบน 2 บริบท ได้แก่ Reskill เพื่อให้สถานีบริการน้ำมันไปได้ไกลกว่าเดิมด้วยการเสริมสร้างให้พนักงานสามารถออกแบบ การ Reskill ของตัวเองด้วยตนเองได้ เน้น Self-learning ไม่ใช่ป้อนข้อมูลให้กับพนักงานเพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนผ่านของธุรกิจในองค์กร เช่น จากสถานีบริการน้ำมันไปสู่ Retail ทำให้คิดว่าควรจะ Reskill + สร้าง Mindset ใหม่ๆ ไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นแผนที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันและจะทำต่อไปในอนาคตด้วย

SCG” เพราะพนักงานเปรียบเสมือนลูกค้า

ขณะที่ อภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กล่าวถึงความสำคัญของการ Reskill ว่า เมื่อองค์กรเข้าสู่สงครามใหม่ สิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องเลือกทำคือ หาคนใหม่ หรือ 2.ติดอาวุธใหม่ให้คนในองค์กร ส่วนตัวคิดว่า Reskill และ Upskill คือคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพราะไม่มีใครรู้จักลูกค้าดีเท่ากับพนักงานที่ทำงานกับเรามาอย่างยาวนาน

ดังนั้น SCG ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่อยู่มานานกว่า 100 ปี แทนที่จะลดจำนวนพนักงาน ควรจะ Reskill และ Upskill ให้คุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้น เพราะพนักงานก็เปรียบเสมือนลูกค้าของเรา เชื่อว่าทุกคน คือ แรงขับเคลื่อนประเทศไทย หากเราอยากไปให้ถึง Thailand 4.0 หรือ innovative economy เราต้องรู้จัก Reskill และ Upskill ให้เป็น เพื่อให้เราอยู่รอดไปได้

และนี่คือตัวอย่างของเหล่าองค์กรชั้นนำระดับประเทศที่ตอบรับ YourNextU เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือที่พยายามเดินหน้าท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนไปบนโลก  Digital Disruption อันไร้การควบคุม ด้วยเล็งเห็นว่า สิ่งเดียวที่จะชนะการเปลี่ยนแปลงได้ คือ “การพัฒนาคน” หากสามารถดึงพนักงานให้หลุดออกจากกรอบเดิมๆ และเพิ่ม Skill ที่จำเป็น นอกจากจะเป็นการเสริมศักยภาพฟันเฟืองอันสำคัญขององค์กรแล้ว ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจให้เท่าทันการแข่งขันในยุคนี้ได้อีกด้วย ซึ่งทุกองค์กรต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า YourNextU ตอบโจทย์ความต้องการในการรีสกิลพนักงานได้เป็นอย่างดี

สำหรับองค์กรใดที่สนใจ เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ เสริมทักษะประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของบุคลากร สามารถดูรายละเอียด “YourNextU” โมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด (The Best Blended Learning Model) ที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่จำกัดรูปแบบ ไม่จำกัดครั้ง และไม่จำกัดวิชา ตั้งแต่วันนี้ ที่ www.yournextu.com

 


แชร์ :

You may also like