HomeBrand Move !!ส่องไอเดีย “True Digital Park” พื้นที่แบบไหนสร้างแรงบันดาลใจให้สตาร์ทอัพ

ส่องไอเดีย “True Digital Park” พื้นที่แบบไหนสร้างแรงบันดาลใจให้สตาร์ทอัพ

แชร์ :

หลังจากมีแผนจะก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2016 ถึงตอนนี้ต้องบอกว่า True Digital Park ในฐานะ Ecosystem สำหรับสตาร์ทอัพแห่งใหม่ในย่านปุณณวิถี พร้อมเปิดให้สตาร์ทอัพเข้าใช้งานกันแล้ว กับพื้นที่ขนาด 90,000 ตารางเมตร ที่ว่ากันว่ารองรับสตาร์ทอัพได้นับหมื่นคน ส่วนพื้นที่ดังกล่าวจะมีอะไรเตรียมไว้รองรับสตาร์ทอัพกันบ้างนั้น เราขอชวนไปติดตามกันค่ะ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดย True Digital Park ในเฟสแรกมี 3 ชั้น ตั้งอยู่ในบริเวณชั้น 5 – 7 ของอาคาร และเชื่อมต่อถึงกันด้วยบันไดวนขนาดใหญ่ที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางพื้นที่

สำหรับโซนทำงานของ True Digital Park อยู่ในชั้น 6 – 7 ซึ่งจะมีบริการต่าง ๆ เอาไว้คอยท่า เช่น ไวไฟ, กาแฟ, แพนทรี, ห้องประชุม (จองผ่านแอปพลิเคชัน), โต๊ะตีปิงปอง, โต๊ะพูล, เครื่องถ่ายเอกสาร (สั่งการผ่านแอปพลิเคชันเช่นกัน) ฯลฯ ขณะที่ปลั๊กไฟตามจุดต่าง ๆ ก็ถือว่าค่อนข้างพร้อม หรือหากอยากนั่งสบาย ๆ ก็มีบีนแบ็กประจำอยู่ตามมุมต่าง ๆ ด้วย

ในด้านการใช้พื้นที่ True Digital Park แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ พื้นที่ออฟฟิศ, พื้นที่สำหรับจัดอีเวนท์, พื้นที่สำหรับทำงานร่วมกัน และพื้นที่สำหรับนวัตกรรม โดยพื้นที่สำหรับจัดอีเวนท์ จะมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นห้องออดิทอเรียมขนาด 600 ตารางเมตรรองรับคนฟังได้ 400 คน หรือ Town Hall ให้จัดสัมมนาย่อย ๆ ได้

นอกจากนั้นยังพบว่ามีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาจับจองพื้นที่ไปแล้วหลายรายไม่ว่าจะเป็น ETDA, NIA, Google Academy, Huawei, CP, ธนาคาร UOB, มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฯลฯ

Google Academy Bangkok

ไม่ใช่แค่ทำงาน แต่อาหารก็ต้องเพียบ

กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ด้วยเหตุนี้พื้นที่ของ True Digital Park จึงอนุญาตให้สามารถนำอาหารเข้ามารับประทานได้ ซึ่งใครที่นำอุปกรณ์การรับประทานอาหารเข้ามาใช้เอง จะมีการเตรียมแพนทรีเอาไว้ให้สำหรับล้างทำความสะอาด มีตู้เย็นสำหรับแช่อาหาร และมีแม่บ้านคอยดูแลตลอดช่วงการเปิดให้บริการ

หรือถ้าหากไม่นำมาเอง จะหาซื้ออาหารง่าย ๆ รับประทาน ก็พบว่า มีร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ตั้งอยู่ที่ชั้น 7 ของ True Digital Park ด้วยเช่นกัน ส่วนจอดิจิทัลสำหรับให้สแกนใบหน้าที่ตั้งอยู่หน้าร้านนั้น ทีมงานพบว่ายังไม่รองรับการชำระเงินด้วยใบหน้าได้ในขณะนี้ แต่บริเวณข้าง ๆ จะมีบูธสำหรับจ่ายชำระค่าสินค้าด้วยตัวเองตั้งอยู่ โดยต้องนำสินค้ามาสแกน และชำระเงินผ่านทรูวอลเล็ต

ร้าน 7-11 ที่ตั้งอยู่บริเวณปากทางเข้าชั้น 7

ยังใช้ชำระเงินด้วยใบหน้าไม่ได้นะจ๊ะ

จ่ายเงินด้วยตัวเองได้ผ่านที่ตู้คีออสนี้

แต่ถ้าไม่อยากออกมา 7-11 พื้นที่ด้านในก็มีตู้ขายอาหารอัตโนมัติ (จ่ายเงินผ่านทรูวอลเล็ตเช่นกัน) กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ มากมาย

ขณะที่ชั้น 5 เป็นพื้นที่ของ Co-Working Space ชื่อดังอย่าง WeWork ซึ่งในวันที่เปิดพื้นที่ให้สื่อเข้าเยี่ยมชมนั้น ต้องบอกว่าเป็นพื้นที่ที่สงบและค่อนข้าง Private พอสมควร โดยภายในนอกจากพื้นที่ทำงานแล้ว ยังมีพื้นที่สำหรับจัดอีเวนท์ มีห้องสำหรับทำสมาธิ ให้นมบุตร รวมถึงห้องอาบน้ำสำหรับคนทำงานที่ออกกำลังกาย ฯลฯ ด้วย (แต่พื้นที่บางส่วน WeWork ขอสงวนไว้ไม่สามารถถ่ายภาพมาฝากกันได้ค่ะ)

พื้นที่ของ WeWork

วิวของ WeWork

อีกมุมหนึ่งของ WeWork

ปัจจุบัน True Digital Park มีผู้ใช้บริการ (Permanent Members) แล้วกว่า 3,000 ราย ในจำนวนนี้ 61% เป็นคนสายเทคโนโลยี เช่น โปรแกรมเมอร์ ส่วนอายุเฉลี่ยของสตาร์ทอัพที่เข้ามาในพื้นที่คือ 33 ปี ขณะที่ตัวเลขเป้าหมายคือ 5,000 ราย

ส่วน True Digital Park เฟส 2 นั้นคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสองปีหลังจากนี้ โดย คุณฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ทรู ดิจิทัล พาร์ค เผยว่า จะเน้นพื้นที่ทำงานมากขึ้นเป็น 50,000 ตารางเมตร และเน้นสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like