HomePR Newsต้นแบบแปลงผักยุคดิจิทัล “เกษตรอัจฉริยะ” เทคโนโลยีสร้างรายได้ – โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม [PR]

ต้นแบบแปลงผักยุคดิจิทัล “เกษตรอัจฉริยะ” เทคโนโลยีสร้างรายได้ – โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม [PR]

แชร์ :

บมจ. กสท โทรคมนาคม หรือ CAT ได้ สนับสนุนระบบ IoT เพื่อพัฒนาแปลงเกษตรอัจฉริยะให้กับ – โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 โดยใช้นวัตกรรมในชีวิตประจำวัน พัฒนาศักยภาพการทำเกษตรกรรมยุคใหม่ เพื่อนำไปสู่การมีรายได้ที่สูงขึ้นและยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย รวมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

CAT นำร่องการพัฒนาอาชีพเกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญคือ Internet of Things (IoT) ในการช่วยสร้างความสะดวกให้กับเกษตรกรหรือชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรประหยัดเวลา และแรงได้มากขึ้น รวมทั้งได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำในการควบคุมแปลงผัก ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตที่สวยงาม อุดมสมบูรณ์ ปลอดสารพิษ สามารถนำมารับประทานได้ และสร้างรายได้ให้กับนักเรียนและชุมชน สู่วิถีเกษตรยั่งยืน

การควบคุมระบบเปิด-ปิดน้ำ

“น้ำ” คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรสวยงามและอุดมสมบูรณ์ได้ตามต้องการ CAT จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมได้จากโทรศัพท์มือถือ ในการเปิด-ปิดน้ำของสปริงเกอร์ ที่ถูกติดตั้งไว้ที่แปลงผัก สั่งการด้วยปลายนิ้ว เพียง 1 คลิกจากที่ใดก็ได้ ก็สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างเรียลไทม์ การให้น้ำแก่พืชได้ทันเวลาตามที่พืชต้องการ จะช่วยลดความเสียหายจากการขาดน้ำของพืชได้ สร้างความแม่นยำ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

ระบบเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ

“ความชื้น” คือตัวควบคุมความเจริญเติบโตของพืชผลในแปลงผัก เพราะน้ำในดินจะละลายธาตุซึ่งเป็นอาหารของพืชออกมาให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ ถ้าพืชขาดน้ำจะทำให้การเจริญเติบโตลดลง ผลผลิตที่ได้ก็จะลดลง ส่วนกำหนดเวลาให้น้ำก็สามารถพิจารณาได้จากปริมาณความชื้นในดินได้อีกด้วย ทาง CAT มีเทคโนโลยีที่สามารถวัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ และส่งสัญญาณเตือนทางแอปพลิเคชัน ทำให้น้องๆ นักเรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหา เลือกชนิดของพืชผักที่สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ในดินแต่ละแบบด้วยความแม่นยำและรวดเร็วผ่านเทคโนโลยี จึงทำให้การทำแปลงผักอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องยาก ใครๆ ก็สามารถพัฒนาผลิตผลและคุณภาพของแปลงเกษตรพืชผักสวนครัวของโรงเรียนได้

ระบบวัดค่าฝุ่น (Air Quality Monitor)

ในปัจจุบัน “ฝุ่น” นับเป็นปัญหาหลักด้านมลภาวะของทุกคน รวมถึงพืชผลทางการเกษตรก็ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้ CAT ได้ทำการคิดค้นและผลิตขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์คนที่รักษาสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

นอกจากนี้ทีมวิศวกร CAT และอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดอบรมให้ความรู้แก่คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนในเรื่องระบบน้ำกับฟาร์มเกษตรและความรู้เกี่ยวกับเซ็นเซอร์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ IoT และ Big Data กับ Smart Farm เพื่อให้บุคลากรของโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม มีความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากทำงานของ Smart Farm ได้อย่างเต็มที่

CAT ดำเนินแนวทางการสนับสนุนระบบเทคโนโลยี IoT เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค โดยโรงเรียนสระบุรีวิทยาคมถือเป็นหนึ่งในสถานศึกษาชั้นนำของจังหวัดสระบุรี ที่มีศักยภาพดำเนินการด้านเกษตรอัจฉริยะอย่างจริงจัง โดยเชื่อว่าจะสามารถเป็นต้นแบบให้โรงเรียนอื่นๆ ที่สนใจในแต่ละภาคได้ทั่วประเทศ ติดตามกิจกรรมดีๆ จาก CAT ได้ที่ www.catcsr.com


แชร์ :

You may also like