HomeInsightเปิด “5 สูตรเด็ด” ครีเอเตอร์ญี่ปุ่น ปั้น “สติกเกอร์ไลน์” ให้ปังแถมยังทำรายได้เพียบ

เปิด “5 สูตรเด็ด” ครีเอเตอร์ญี่ปุ่น ปั้น “สติกเกอร์ไลน์” ให้ปังแถมยังทำรายได้เพียบ

แชร์ :


แอปพลิเคชัน แชท ยอดนิยมในฝั่งเอเชียต้องยกให้ LINE ที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย  หนึ่งในโปรดักท์ยอดฮิตของตระกูลไลน์ คือ “สติกเกอร์” ที่เรียกความสนใจจาก LINE Characters ดัง ไม่วาจะเป็น หมีน้อยสีน้ำตาล Brown, กระต่ายสาว Cony, ลูกเจี๊ยบสีเหลือง Sally หนุ่ม Moon  หรือหนุ่มผมทอง James  รวมทั้งคาแรคเตอร์ไลเซ่นส์ดังของค่ายต่างๆ ในฝั่ง Corporate Sticker  ที่อยู่ในแพลตฟอร์มไลน์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อีกกลุ่มที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันในฝั่ง Consumer Sticker หรือที่เรียกว่า LINE Creators” ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2014  ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาสร้างรายได้เป็นมูลค่าหลายล้านล้านเยน เรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ “ใครๆ ก็ทำได้” ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานวาดรูปมาก่อน เพียงแค่มี “ไอเดีย” สร้างสรรค์คอนเทนต์

ปัจจุบัน ไลน์ ครีเอเตอร์ มาจากหลากหลายอาชีพและหลายวัย ผลงาน “สติกเกอร์” ของครีเอเตอร์ สามารถขายได้ทั้งในระดับประเทศและโกลบอล จึงถือเป็นอีกแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างช่องทางหารายได้ให้กับคนทั่วไปไม่ต่างจาก ยูทูบ ไอจี เฟซบุ๊ก

5 เคล็ดลับเพิ่มรายได้สติกเกอร์

ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นต้นกำเนิด แอปพลิเคชัน  LINE  มีผู้ใช้งานสูงสุดกว่า 80 ล้านราย จากจำนวนประชากรกว่า 127  ล้านคน

คุณยาสุชิ อิชิกาวา  ที่ดูแล LINE Creators Market  ของ LINE Corporation  ประเทศญี่ปุ่น ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันตลาด ไลน์ ครีเอเตอร์ ระดับโลก  นับถึงเดือน พฤษภาคม 2019  มีจำนวนครีเอเตอร์ราว 2 ล้านราย  ปีนี้สร้างรายได้ 69,000 ล้านเยน โดยยอดขายของกลุ่มท็อปครีเอเตอร์สร้างยอดขายราว 773  ล้านเยน

แต่ละปี ไลน์ จะออกโปรดักท์ สติกเกอร์ รูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้ตลาด อย่างปี 2018 เป็นโปรดักท์ Emoji  กรกฎาคม ปี 2019  เปิดตัว Premium Sticker  ต่อมาเดือนตุลาคม เปิดตัว Custom Sticker เพื่อกระตุ้นผู้ใช้งานและทำให้รายได้สติกเกอร์ไลน์ทุกตลาดเพิ่มขึ้นในทุกปี

ปัจจุบัน “ญี่ปุ่น” ถือเป็นตลาดใหญ่สุดของ สติกเกอร์ ไลน์   รองลงไปคือ ไต้หวัน และไทย  มาดูกรณีศึกษา 5 ปัจจัย ที่ช่วยเพิ่มรายได้ “ไลน์ สติกเกอร์” ในตลาดญี่ปุ่น

1 Create Satisfaction  for Stickers

สิ่งสำคัญของ สติกเกอร์ คือเป็นหนึ่งในรูปแบบการสื่อสาร ระหว่างบุคคลที่ต้องการถ่ายทอดความรู้สึก จาก “ผู้ส่ง” ถึง “ผู้รับ” ดังนั้นการสร้างสรรค์สติกเกอร์ จึงต้องแสดงความรู้สึกที่ชัดเจน เพื่อสร้างความพอใจในการใช้สื่อสารของผู้ส่งและผู้รับ

2 Create the trend

ปัจจุบันมีผู้ใช้ไลน์ ในญี่ปุ่นจำนวนกว่า 80 ล้านราย  ซึ่ง 1 ใน 4 เป็นคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ถือเป็นตลาดใหญ่สุดของผู้ใช้ไลน์  เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมสูงวัย  ผู้ใช้สติกเกอร์กลุ่มใหญ่ คือ “ผู้หญิง อายุ 50 ปีขึ้นไป” 

ดังนั้นการทำสติกเกอร์ ต้องเข้าใจผู้ใช้ไลน์ในแต่ละกลุ่มว่าเป็นใคร เพื่อสร้างสรรค์ “เทรนด์” สติกเกอร์ ให้เหมาะกับแต่ละกลุ่ม มีรูปแบบใช้ง่ายได้ง่าย รวมทั้งใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ สื่อสารกับกลุ่มแฟนคลับ เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้ามากขึ้น

3 Create  Various Collections

สร้างสรรค์สติกเกอร์ที่เป็นซีรีส์  สร้างเรื่องราวของคาแรคเตอร์และทำออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้ติดตามคาแรคเตอร์ สติกเกอร์ที่ชื่นชอบและเป็นแฟนประจำ

4 Promote Stickers during a peak time

ต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการโปรโมท สติกเกอร์  ในญี่ปุ่นช่วงเวลาที่เหมาะสม 2 ช่วง คือ  เวลาพักกลางวัน (12.00-13.00 น.) เพราะเป็นเวลาว่างจากการทำงานที่สามารถดาวน์โหลดสติกเกอร์ใหม่ได้  และหลังเลิกงาน (17.00-19.00 น.)  เป็นช่วงที่อยู่ในรถโดยสารระหว่างเดินทางกลับบ้าน ก็จะมีเวลาได้เลือกดาวน์สติกเกอร์ชุดใหม่ในจังหวะนี้เช่นกัน

อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ “วัน” ที่เลือกปล่อยขายสติกเกอร์ในช็อป  โดย ไลน์ กำหนดไว้เป็นนโยบายเหมือนกันทุกตลาดว่า ต้องปล่อยสติกเกอร์ใหม่ ในวัน  “อังคาร และพฤหัสบดี” เท่านั้น  ซึ่งก็มาจากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้ไลน์นั่นเอง คือ วันจันทร์ เป็นวันแรกของการเริ่มต้นทำงาน จึงไม่มีเวลาว่างมากนัก ดังนั้น “วันอังคาร” จึงเหมาะกับการปล่อยของใหม่  ส่วน “วันพฤหัสบดี” ช่วงปลายสัปดาห์ที่ยังมีเงินเหลือจับจ่าย  ไลน์ จึงเลือกปล่อยสติกเกอร์ใหม่ให้ดาวน์โหลดก่อนถึงวันศุกร์ ที่เงินจะถูกใช้ไปกับการสังสรรค์มากกว่าซื้อสติกเกอร์

5 Continuation is a power

ครีเอเตอร์ ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะสมฐานแฟน แม้สติกเกอร์ชุดแรกจะไม่ได้รับความนิยม แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะมาตัดสินอนาคตข้างหน้า การเป็นครีเอเตอร์ ไม่ควรเริ่มต้นด้วยวัตถุประสงค์เรื่องเงินมาเป็นตัวตั้ง แต่ให้เริ่มจากความชอบ และรักที่จะทำ ที่สำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าจะนำไปสู่เส้นทางความสำเร็จได้ในอนาคต เพราะความท้าทายคือการไม่หยุดนิ่ง

เรื่องเล่าเส้นทางความสำเร็จของ “ครีเอเตอร์” ญี่ปุ่น

LINE ญี่ปุ่นให้ข้อมูลอินไซต์วิธีการสร้างสรรค์ “สติกเกอร์” ให้น่าสนใจและมีรายได้เพิ่มกันไปแล้ว คราวนี้มาดูเรื่องราวของ “ครีเอเตอร์” ชาวญี่ปุ่น เล่าเส้นทางและแรงบันดาลใจในการทำสติกเกอร์กันบ้าง

เริ่มจากตัวแทนของ Gigno System Japan เป็นบริษัทที่ปรึกษาและช่วยผู้สนใจที่ต้องการเป็นครีเอเตอร์ สติกเกอร์ ไลน์ รวมทั้งการทำสินค้าเมอร์เชนไดส์จากคาแรคเตอร์  หนังสือการ์ตูน  และคาเฟ่ คาแรคเตอร์  เล่าว่าปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาครีเอเตอร์กว่า 150 คน  ผลิตสติกเกอร์ออกมาแล้วกว่า 60,000 ชุด  ในจำนวนนี้มีสติกเกอร์ จากครีเอเตอร์ ญี่ปุ่นที่ นำมาขายในตลาดไทยกว่า 30 ชุด

ทาง Gigno System ให้แนวทางการเป็นครีเอเตอร์ว่า ต้องเริ่มต้นด้วยแรงบันดาลใจที่ต้องการสร้างสรรค์สติกเกอร์จากความชอบก่อน จากนั้นก็สร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง ดูเทรนด์ตลาดว่าชอบสติกเกอร์แนวไหน ปัจจุบันรูปแบบแอนิเมชั่น กำลังได้รับความนิยม เพราะเคลื่อนไหวได้  ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างฐานแฟนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คควบคู่กันไป เพื่อใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร

หากทำสติกเกอร์ขายต่างประเทศด้วย ก็ต้องศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้งานในประเทศนั้นๆ ด้วย อย่างประเทศไทย ชอบสติกเกอร์สีสันสดใสและลายการ์ตูน   แต่สิ่งสำคัญที่ครีเอเตอร์ ต้องทำไม่ว่าจะเจาะตลาดไหน คือ การผลิตคอนเทนต์ออกมาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนครีเอเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า Olive-Leave  เป็นเจ้าของสติกเกอร์ Suzu-Nyan คาแรคเตอร์แมวน่ารัก สามารถต่อยอดสติกเกอร์ผลิตเป็นสินค้าเมอร์เชนไดส์ หลากหลายประเภท ทั้งเสื้อผ้าและของใช้ประจำวัน บอกว่ามุมมองที่เป็นอุปสรรคสำหรับครีเอเตอร์ คือ การทำงานที่ต้องใช้เวลากว่าจะไปถึงจุดที่ “สำเร็จ”  ดังนั้นจะต้องไม่ยอมแพ้ง่ายๆ  แม้ว่าผลงานที่ออกมายังถึงเป้าหมาย “อย่าหยุดที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง”

เช่นเดียวกับ คุณ Sinojiya  เป็นอีกหนึ่งครีเอเตอร์ ชาวญี่ปุ่น เจ้าของคาแรคเตอร์ A Cute Sumo Wrestler รวมทั้งกระต่ายน่ารักและ หมูคาวาอิ เคยมีผลงานสติกเกอร์ ซูโม่นารักขึ้นท็อป 50 ของญี่ปุ่นในปี 2016 มาแล้ว บอกว่าการเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ชื่นชอบในแต่ละกลุ่ม

ช่วงแรกที่ออกคาแรคเตอร์ ซูโม่น่ารัก ก็ยังไม่โดนใจผู้ใช้สติกเกอร์ และต้องปรับรูปแบบมาเรื่อยๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละวัย อย่าง กลุ่มผู้หญิง แม่บ้านจะชอบคาแรคเตอร์ ซูโม่ใส่ผ้ากันเปื้อน  ส่วนกลุ่มวัยรุ่นชอบซูโม่เลี้ยงแมว  อินไซต์เหล่านี้เป็นเรื่องที่ครีเอเตอร์ต้องศึกษาและเข้าใจคนทุกวัย

“บางครั้งการทำงานสร้างสรรค์ ถ้าคิดถึงยอดขายเป็นเป้าหมายแรก และหากยังขายไม่ได้ ก็จะทำให้เสียกำลังใจ  จึงต้องการให้ครีเอเตอร์ เริ่มต้นทำงานด้วยความสุขก่อน สร้างงานที่ให้ความรู้สึกดีทั้งผู้ส่งและผู้รับ จากนั้นก็จะขายได้เอง”


แชร์ :

You may also like