HomePR News“คิงส์คอลเลจกรุงเทพ” ชูจุดต่างการศึกษาที่ให้ความรู้รอบด้านเพิ่มศักยภาพเด็กยุคใหม่ [PR]

“คิงส์คอลเลจกรุงเทพ” ชูจุดต่างการศึกษาที่ให้ความรู้รอบด้านเพิ่มศักยภาพเด็กยุคใหม่ [PR]

แชร์ :

โรงเรียนนานาชาติถือเป็นตลาดที่มีการเติบโตสวนทางกับเศรษฐกิจ เพราะจากข้อมูลจากสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย ระบุว่าโรงเรียนนานาชาติมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 12% ทำให้ปัจจุบันมีตัวเลขตลาดรวมของธุรกิจ 60,500 ล้านบาทต่อปี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับ “คิงส์คอลเลจกรุงเทพ” ที่กำลังเปิดสอนในปลายปีนี้ ถือได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีจุดต่างจากโรงเรียนนานาชาติแห่งอื่นในเมืองไทย เพราะเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษาสูงสุดในโลก  และได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในห้าสุดยอดโรงเรียนที่มีคะแนนสอบดีที่สุดของอังกฤษมาโดยตลอด นักเรียนของโรงเรียนสามารถสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ปีละประมาณ 25% หรือ 300 คนในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้นักเรียนมากกว่า 90% สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ตนเองเลือกเป็นอันดับแรกทั้งในประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา อาทิ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเยลได้สำเร็จ

มร.แอนดรูว์ ฮอลส์ ครูใหญ่โรงเรียนคิงส์คอลเลจวิมเบิลดัน ประเทศอังกฤษ กล่าวว่าโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพเกิดจากความร่วมมือกันของโรงเรียนคิงส์คอลเลจวิมเบิลดัน ประเทศอังกฤษที่อยู่บนพื้นฐานปรัชญาทางการศึกษาที่เหมือนกัน ทำให้คิงส์คอลเลจกรุงเทพไม่ใช่โรงเรียนแฟรนไชส์

“ที่ผ่านมาเราได้รับการติดต่อจากผู้ที่สนใจให้เราไปเปิดคิงส์คอลเลจวิมเบิลดัน ในประเทศต่างๆ แต่เรายึดหลักปรัชญาด้านการศึกษาของเรากับพาร์ทเนอร์จะต้องเหมือนกัน อย่างที่ประเทศไทย หลังจากที่ได้เจอและพูดคุยกันกับ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ผมพบว่าเรามีจุดประสงค์ ความตั้งใจ ตลอดจนวิสัยทัศน์ทางการศึกษาสอดคล้องกัน เกิดเป็นความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกัน มันเป็นความรู้สึกลึกๆ ที่ทำให้ผมคิดว่าเราอยู่บนเส้นทางเดียวกัน จึงทำให้เราตัดสินใจที่จะมาร่วมเปิดโรงเรียนด้วยกัน”

มร.แอนดรูว์ เดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนคิงส์คอลเลจกรุงเทพอย่างใกล้ชิด และทำให้คิงส์คอลเลจกรุงเทพมีมาตรฐานการเรียนการสอนและการบริหารเดียวกันกับคิงส์คอลเลจวิมเบิลดัน ประเทศอังกฤษ แต่ขณะเดียวกันก็เข้ากับวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ มีการวางหลักสูตรให้เหมาะสมให้เป็นไปตามหลักสูตรของคิงส์คอลเลจวิมเบิลดัน แต่มีครูผู้ช่วยคนไทยและเสริมด้วยวิชาภาษาไทยและภาษาจีน

“ผมคิดว่า วัฒนธรรมต่างๆ ของคิงส์คอลเลจวิมเบิลดันสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย ที่นั่นเราเน้นมารยาท การเคารพความคิดเห็นของคนอื่น และความอ่อนน้อมถ่อตน ซึ่งผมคิดว่าธรรมเนียมปฏิบัติที่เรามุ่งเน้นที่นั่นจะสามารถเข้ากับวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี”

อย่างไรก็ดีจุดแข็งของคิงส์คอลเลจกรุงเทพว่าที่ไม่เหมือนโรงเรียนอื่นโดยทั่วไป คือนอกจากมาตรฐานทางวิชาการที่สูงกว่าแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้านอื่นๆ เช่น ดนตรี กีฬา และศิลปะ เพราะคิงส์คอลเลจวิมเบิลดันถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างความสมดุลของการเติบโตให้กับเด็กนักเรียนด้วย

นักเรียนที่จบจากโรงเรียนคิงส์คอลเลจวิมเบิลดัน ประเทศอังกฤษ และมาช่วยงานที่โรงเรียนคิงส์คอลเลจกรุงเทพ

“การพัฒนาเด็กเพื่อเตรียมความพร้อมในโลกอนาคตนั้น ผมคิดว่าเด็กต้องการมากกว่าความพร้อมด้านวิชาการ คือเขาจะต้องมีความสมบูรณ์ของความประพฤติและมารยาทที่นอบน้อม ทัศนคติที่เปิดกว้าง มีแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ เราจึงมุ่งเน้นให้เด็กมีทักษะความรู้ที่รอบด้านผ่านการทำหลักสูตรร่วมผสม หรือ Co-curricular Program และดูแลเด็กแบบ Pastoral Care ซึ่งเป็นการดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อปลูกฝังคุณค่าของเด็กในทุกเรื่องทุกมิติของความเป็นคิงส์คอเลเลจ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน กีฬา และกิจกรรมสันทนาการ เพื่อนำไปสู่ความสุขต่อการเรียนรู้จนนำไปสู่ผลการเรียนที่ดีที่สุด โดยคุณครูจะดูแลนักเรียนด้วยความใส่ใจ เห็นถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละคนต่อเนื่องไปตั้งแต่เด็กจนโต เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้าน”

มร.แอนดรูว์ อธิบายการดูแลเด็กแบบ Pastoral Care เพิ่มว่า เป็นการมุ่งเน้นให้ครูกับเด็กใช้เวลาร่วมกัน ทั้งในห้องและนอกห้องผ่านกิจกรรมต่างๆ ทำให้ครูรู้จักเด็กของตนเองในทุกแง่มุม ทั้งความรู้ ความสามารถ และศักยภาพ โดยนอกจากครูประจำชั้นแล้ว ที่นี่ยังมีติวเตอร์ทำหน้าที่เหมือนครูพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาคอยดูแลเด็กนักเรียน ดูแลตั้งแต่วันแรกที่เข้าเรียนจนถึงวันที่จบการศึกษา และคอยช่วยเหลือสนับสนุนด้านการเรียนหรือกิจกรรม ตลอดจนคอยแนะนำแก้ปัญหาได้ทุกเรื่องเมื่อเด็กต้องการ

นอกจากนี้คิงส์คอลเลจวิมเบิลดันยังได้มีการอนุมัติโครงการ Loan Staff เพื่อให้ครูที่คิงส์คอลเลจวิมเบิลดันสามารถมาสอนที่เมืองไทยได้เป็นเวลา 2 ปีและสามารถกลับไปทำงานต่อที่คิงส์คอลเลจ วิมเบิลดันได้ โดยจุดประสงค์ของโครงการดังกล่าว เพื่อต้องการให้คิงส์คอลเลจมีความเป็นครอบครัวเดียวกันนั่นเอง

“ผมไม่เคยรู้สึกว่าการมาจับมือเปิดโรงเรียนที่นี่เหมือนเปิดแฟรนไชส์ เพราะผมทำทุกอย่างเหมือนกับอิมพอร์ตคิงส์คอลเลจวิมเบิลดันมาอยู่ที่คิงส์คอลเลจกรุงเทพ ความร่วมมือกันครั้งนี้จึงเป็นมากกว่าหุ้นส่วนทางธุรกิจ แต่เหมือนเพื่อน เหมือนครอบครัว ที่นั่นมีอะไร ที่นี่ก็มีเหมือนกัน เพียงแต่อยู่ที่เมืองไทยเท่านั้นเอง”


แชร์ :

You may also like