HomeDigital“เครื่องจ่ายผ้าอนามัยอัจฉริยะ” จากปัญหาที่ถูกละเลยมานานสู่การแก้ปัญหาอย่างไฮเทค

“เครื่องจ่ายผ้าอนามัยอัจฉริยะ” จากปัญหาที่ถูกละเลยมานานสู่การแก้ปัญหาอย่างไฮเทค

แชร์ :

ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจและเห็นความสำคัญเรื่องการมีรอบเดือนของผู้หญิง รวมถึงผู้จัดงานมหกรรมทางเทคโนโลยีอย่าง SXSW ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และนั่นกลายเป็นจุดกำเนิดสตาร์ทอัพด้านผ้าอนามัยในเวลาต่อมาได้อย่างเหลือเชื่อ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยผู้ที่ออกมาเปิดเผยเรื่องดังกล่าวคือ Kristen Guiliano ในฐานะ Associate creative director ของ Huge ที่เล่าว่า เพื่อนร่วมงานของเธอไปร่วมงาน SXSW เมื่อ 2 ปีก่อน ขณะที่เดินชมงานอยู่นั้นก็รู้สึกว่าประจำเดือนมา เธอเลยไปห้องน้ำเพื่อหาผ้าอนามัย และพบว่าเครื่องจ่ายผ้าอนามัย 2 เครื่องพังทั้งคู่

“ทั้ง ๆ ที่เมื่อกี้นี้เธอเพิ่งเดินไปเจอหุ่นยนต์ที่ทอดไข่เป็น แต่อีกมุมหนึ่งของงานเธอกลับไม่สามารถหาผ้าอนามัยธรรมดาๆ ได้” Guiliano กล่าว

แต่สำหรับคนที่นึกภาพตู้ขายผ้าอนามัยไม่ออก หน้าตาของมันคือเป็นตู้ทึบ ๆ ที่ต้องหยอดเหรียญลงไปแล้วผ้าอนามัยก็จะหล่นออกมา ซึ่งในมุมของผู้หญิง ก็ต้องยอมรับว่า มันไม่ได้สวยหรูเหมือนตู้ขายของอัตโนมัติทั่วไป ไม่สามารถเลือกแบบ สี รุ่น ฯลฯ ได้ และที่สำคัญ ไม่มีใครมานั่งเฝ้าว่ามันยังทำงานได้จริง ๆ หรือเปล่าด้วย

สองสาวเลยตัดสินใจพัฒนาเครื่องจ่ายผ้าอนามัยอัจฉริยะ ภายใต้การสนับสนุนจาก Huge โดยการทำงานก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่สาว ๆ ส่งข้อความมาที่ตู้ก็สามารถขอรับผ้าอนามัยแบบสอดได้ฟรี ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปฯ ใด ๆ เลย

นอกจากนั้น ในฐานะครีเอทีฟ Guiliano มองว่าควรออกแบบให้ตู้จ่ายผ้าอนามัยอัจฉริยะมีช่องให้สาว ๆ มองเห็นได้ว่า ภายในตู้มีผ้าอนามัยอยู่หรือเปล่า รวมถึงมีเซนเซอร์ติดตั้งเอาไว้เพื่อคอยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ในกรณีที่ผ้าอนามัยใกล้จะหมดด้วย

ส่วนการออกแบบนั้น Guiliano เลือกใช้คำว่า Hooha เป็นชื่อแบรนด์ โดยตัวตู้เป็นแบบเรียบ ๆ ไม่ใช้สีพาสเทลหรือลายดอกไม้ เพราะทุกวันนี้กว่าผู้หญิงจะออกจากบ้านได้ พวกเธอก็ถูกสาดด้วยดอกไม้มากมายหลายคำรบแล้ว ทั้งครีมอาบน้ำ ครีมทาผิว น้ำหอม เสื้อผ้า ดังนั้น ตู้จ่ายผ้าอนามัยนี้จึงต้องเรียบง่าย เพื่อสร้างความแตกต่าง

คุยกับผู้ชายเรื่องประจำเดือน

ติดตั้งในห้องน้ำหญิง (ขอบคุณภาพจาก Bustle.com)

แต่นอกจากคิดเรื่องการสื่อสารกับผู้หญิงแล้ว คนอีกกลุ่มที่ต้องคุย แถมคุยหนักด้วยก็คือทีมงานที่เป็นผู้ชาย เช่นกลุ่มวิศวกรที่ออกแบบตู้ ซึ่ง Guiliano เล่าว่าผู้ชายบางคนคิดว่าผู้หญิงต้องการใช้ผ้าอนามัยแค่วันละหนึ่งครั้งเท่านั้น

“มันไม่ใช่ความผิดของผู้ชายเหล่านั้น มันเป็นเพียงบางสิ่งที่เราไม่เคยพูดถึง และไม่มีใครรู้ว่ามันเป็นปัญหา” เธอกล่าว “มันเป็นเรื่องของการให้ความรู้กับผู้คน และเมื่อพวกเขาเข้าใจ ความตระหนักในเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศจึงจะเกิดขึ้นได้”

อีโมจิผ้าอนามัย?

ทางทีมยังเคยติดต่อไปยัง Unicode Consortium เพื่อขอให้พัฒนาอิโมจิผ้าอนามัยแบบสอดหรือแบบแผ่น แต่ถูกปฏิเสธถึงสองครั้งเพราะ Unicode อ้างว่าพวกเขากำลังจะเปิดตัวสัญลักษณ์ ‘หยดเลือด’ ซึ่งมองว่าสามารถใช้เป็นตัวแทนเล่าเรื่องที่ต้นเหตุได้เช่นกัน

หลังจากพัฒนาตู้สำเร็จ ทีมของ Guiliano ยังได้สร้างวิดีโอคลิปสั้นๆ เพื่อแนะนำ Hooha ให้เป็นที่รู้จักในโลกโซเชียล และตู้จ่ายผ้าอนามัยดังกล่าวก็ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันสตรีสากลปีนี้ที่ SXSW โดยได้รับการสนับสนุนจากสื่อต่างประเทศเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน

Source


แชร์ :

You may also like