HomeCSRStorytelling เส้นทางรอยยิ้ม ‘เกษตรกรต้นน้ำ’ สู่มื้ออาหาร Charna ฟังแล้วอร่อยขึ้นอีก 30%

Storytelling เส้นทางรอยยิ้ม ‘เกษตรกรต้นน้ำ’ สู่มื้ออาหาร Charna ฟังแล้วอร่อยขึ้นอีก 30%

แชร์ :

จากแนวคิด “วงจรอาหารแห่งความสุข” ของธุรกิจร้านอาหารกลุ่มฟู้ดแพชชั่น เจ้าของแบรนด์บาร์บีคิว พลาซ่า, จุ่มแซ่บฮัท, สเปซคิว และเรดซัน ที่ส่งต่อมาถึงแบรนด์ “ฌานา” (Charna) ร้านอาหารสุขภาพ วัตถุดิบจากเพื่อนเกษตรกรต้นน้ำ ผ่าน “มื้ออาหาร” มาถึงผู้บริโภค “ปลายน้ำ” หลังสาขาแรกเปิดครบ 1 ปี ขอเพิ่มอีก 1 สาขา นัยนี้สำคัญ เพราะนั่นหมายถึงเรื่องเล่าของ “เส้นทางรอยยิ้ม” ได้ขยายวงเข้าถึงผู้คนได้กว้างขึ้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ฌานา” (Charna) ร้านอาหารสุขภาพภายใต้แนวคิด “Full Flavor Healthy Meal” ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากร้านอาหารที่ต้องการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพ เสิร์ฟอาหารด้วยวัตถุดิบที่ดีและปลอดภัยจากฟาร์มของเพื่อนเกษตรกร ปรุงรสชาติผ่านประสบการณ์ 20 ปีของฟู้ดแพชชั่น แบบอร่อยครบรส ทานได้ไม่เบื่อ ในแบบที่ดีต่อใจและดีต่อกาย ภายใต้คอนเซ็ปต์ Feel Good Food”

ด้วยเป้าหมายสร้าง “ความสุขผ่านมื้ออาหาร” ตั้งแต่ “คนต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ”  โดยมี “ฌานา” เป็น “กลางน้ำ” ต่อยอดความยั่งยืนให้ “ต้นน้ำ” เกษตรกรไทย  “เจริญงอกงาม” ตามความหมาย Charna (ฌานา) ที่ผันมาจากภาษาฮิบรู

คุณเป้ ชาตยา สุพรรณพงศ์เจ้าของบ้านฌานา

เปิดบ้านใหม่ “เข้าถึง” คนเมือง “ต่อยอด”ต้นน้ำ

หลังจาก “ฌานา” เปิดสาขาแรกที่ สยามเซ็นเตอร์ มาได้ครบ 1 ปี ก็ได้ฤกษ์เปิดสาขา 2 ที่ชั้น 6  เซ็นทรัลเวิลด์ คุณเป้ ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด และเจ้าของบ้านฌานา บอกว่าการเปิดสาขาแรกร้านอาหารแนวคิดสุขภาพได้ก็ถือว่าดีใจมากแล้ว แต่การเปิดสาขา 2 ได้ “ยิ่งรู้สึกดีใจมากกว่า” เพราะเป็นการส่งสัญญาณ บอกทีมงานและเพื่อนเกษตรกรว่า “มื้ออาหารสุขภาพ” มีคนที่ชื่นชอบและเป็นบ้านใหม่ที่ทำให้คนเมือง ได้เข้าถึงแหล่งวัตถุดิบและสินค้าที่ดีได้มากขึ้น

ตั้งแต่เปิดสาขาแรก สยามสแควร์ ฌานา ได้รับการตอบรับดีมาก จากเดิมที่คิดว่าคนที่สนใจอาหารสุขภาพจะเป็นผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม อย่าง ผู้หญิง คนทำงานที่ดูแลสุขภาพ แต่ด้วยแนวคิดส่งต่อ “มื้ออาหาร” ที่ทานแล้วรู้สึกดี พร้อมทั้งต่อยอดความยั่งยืนให้กลุ่มเกษตรกร เป็นเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้คนต่าง ๆ  เริ่มมีคนมาทดลองทานจำนวนมาก เรียกว่ามีทุกกลุ่มตั้งแต่ นักเรียน นักศึกษา ผู้ใหญ่ ครอบครัว และนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มสุขภาพและสนใจความเป็นไทย ทั้งรสชาติอาหารไทย วัตถุดิบจากแหล่งผลิตไทยแท้

การเปิดบ้านฌานา สาขา 2  ถือเป็นสัญลักษณ์ของการต่อยอดกับกลุ่มเพื่อนเกษตรกรเข้ามาทำงานร่วมกันมากขึ้น เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างความมั่นคงและสนับสนุนคนต้นน้ำได้หลากหลายกลุ่ม

ความตั้งใจทำร้านฌานา เพื่อเป็นจิ๊กซอว์ “กลางน้ำ” สนับสนุนแหล่งวัตถุดิบจากกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่ตั้งใจผลิตวัตถุดิบจากธรรมชาติ ออร์แกนิก และไม่ใช้สารเคมีที่สร้างปัญหาให้ทรัพยากรธรรมชาติ  เพื่อส่งต่อสิ่งที่ดีให้รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป  เป็นการสนับสนุน “คนต้นน้ำ” ให้มีช่องทางขายวัตถุดิบและสินค้าสร้างรายได้

 

Storytelling เส้นทางรอยยิ้ม เพิ่มรสชาติอาหารอร่อยขึ้น 30%

ปัจจุบัน “ฌานา” รับซื้อวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารและจำหน่ายในร้านจากกลุ่มเพื่อนเกษตรกร 12 กลุ่ม ปีนี้มีเพิ่มเข้ามาอีก 6 กลุ่ม ต้องบอกว่าทุกกลุ่มล้วนมี “เรื่องเล่า” ของเส้นทางความตั้งใจและแรงบันดาลใจที่จะส่งมอบวัตถุดิบที่ดีให้แก่คนไทยผ่านมื้ออาหาร

ดังนั้น ฌานา สาขา 2  เซ็นทรัลเวิลด์ จึงออกแบบร้านในลุคใหม่ ด้วยบรรยากาศโรงนากลางกรุง ตกแต่งด้วยโทนสีน้ำเงินคราม สีเดียวกับเสื้อม่อฮ่อม เพื่อสื่อถึงความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตนแบบเกษตรกรไทย ใส่ Storytelling ของเพื่อนเกษตรกร ผ่านงานดีไซน์และการตกแต่งร้านด้วยภาพ “รอยยิ้ม” ของเกษตรกรต้นน้ำ ที่ถูกนำมาประดับที่ผนังของร้าน

“ภาพรอยยิ้มแห่งความสุขสื่อความหมายได้มากกว่าคำพูดเป็นพันคำ ว่าพวกเขาภูมิใจมากขนาดไหนกับมื้ออาหารที่ส่งมาผู้คนได้รับประทาน”

ไม่เพียงเท่านั้นยังประดับไปด้วย Quote (คำพูด) ข้อความดี ๆ จากกลุ่มเกษตรกรที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วไป อาทิ

  • “เป็นการส่งต่อจากต้นน้ำ… กลางน้ำ… สู่ปลายน้ำ”  โดย คุณแหม่ม จาก ม่วนใจ๋ กลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติเชียงดาว
  • “ความอร่อยจะมีอยู่จริง ต่อเมื่อเราสัมผัส” โดย คุณโต จากสวรรค์บนดิน
  • “ธรรมชาติสมดุล ระบบนิเวศน์สมดุล คนสมดุล” โดย คุณกร จากกิจการเพื่อสังคมบ้านรักษ์ดิน
  • “ธรรมชาติ บำบัด ธรรมชาติ” โดย คุณอร จากอะโรแมติก ฟาร์ม
  • “อิ่มกาย เกื้อหนุน ชุมชน อนาคต” โดย คุณนุช จากเครือข่ายรักษ์ปลา-รักษ์ทะเล

คุณเป้ บอกว่าการถ่ายทอดความเชื่อของเพื่อนเกษตรกรออกมาในรูปแบบ “คำพูด” ติดไว้ในร้านฌานา เพื่อให้ลูกค้าทุกคนได้รู้จักตัวตนของเกษตรกรมากขึ้น เรื่องเล่าเหล่านี้ยังกระจายอยู่ในทุกจุดรวมทั้ง “เมนู”อาหาร ที่จะบอกเล่าที่มาของแหล่งวัตถุดิบผ่านตัวอักษร รวมทั้งรายละเอียดแบบเต็มเรื่องจากผ่าน “คิวอาร์โค้ด” เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ของทุกกลุ่มเกษตรกร

จังหวะที่ลูกค้ามานั่งในร้านก็จะได้อ่านโค้ตต่างๆ ก่อน ช่วงที่เปิดดูเมนู และรอเสิร์ฟ ก็จะอ่านข้อมูล ส่องคิวอาร์โค้ด ตามไปดูในเว็บ พบว่าลูกค้าได้ติดตามเป็นแฟนคลับ แฟนเพจ ของกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ไปซื้อสินค้าสนับสนุนกันต่อที่ร้านของเครือข่ายเกษตรกร เป็นสิ่งที่ ฌานา ต้องการเห็นการต่อยอดเรื่องราวเหล่านี้

วัตถุประสงค์ของการบอกเรื่องเล่าจาก “คนต้นน้ำ” ก่อนที่จะมาถึง “คนกลางน้ำ” ร้านฌานา และ “ปลายน้ำ” คือ ลูกค้า ตลอดเส้นทาง แฝงไปด้วยแรงบันดาลใจและความตั้งใจของทุกขั้นตอนการปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ตามวิถีธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์  เชื่อว่าหลังจากเรียนรู้แนวคิด การใช้ชีวิตของกลุ่มต่างๆ แล้ว จะยิ่งประทับใจ และเข้าใจวิถีชีวิต เกษตรกรต้นน้ำมากขึ้น เป็น “วิถีสุขภาพ ที่จับต้องได้”

ฌานาเป็นจิ๊กซอว์เล็กๆ ที่เชื่อมโยงกับเพื่อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์  ส่งต่อวัตถุดิบจากความตั้งใจของเกษตรกรต้นน้ำสู่มือผู้ปรุง เชื่อว่าหากผู้คนได้รู้เรื่องราวดีๆ มื้ออาหารจะอร่อยขึ้นอีก 30% จากรสชาติของอาหาร ความตั้งใจและแรงบันดาลใจที่อยู่เบื้องหลัง

ฟังเรื่องเล่า “เพื่อนเกษตรกร” กับเมนู “ฌานา”

มารู้จัก “ฟาร์มเพื่อนเกษตรกร” ผู้ผลิตวัตถุดิบปลอดสารพิษตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ ที่ขยายวงสร้างเครือข่ายชุมชน ชักชวนชาวบ้านและกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ ส่งต่อวัตถุดิบมาถ่ายทอดเป็น “เมนูแห่งความยั่งยืน” ให้กับ “ฌานา”

คุณเปิ้ล ศิริวิมล กิตะพาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง “ไร่รื่นรมย์” แห่ง ต.งิ้ว อ.เทิง จ.เชียงราย จบการศึกษาจากเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เธอต้องการพัฒนาชุมชนผ่านการทำเกษตรอินทรีย์ จึงตัดสินใจย้ายรกรากจากกรุงเทพฯ มาพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่เชียงราย เมื่อ 4 ปีก่อน และแบ่งที่ดินของตัวเองกว่า 50 ไร่ ให้เป็น Co- farming space ส่งเสริมเกษตรกรที่อยากหันกลับมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์แต่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูก ปัจจุบันไร่รื่นรมย์ ปลูกพืชผักสดและผลิตภัณฑ์แปรรูป อาทิ อิตาเลียนเคล, สลัด, จิงจูฉ่าย, ฟักทองคางคก และ ใบทารากอน เป็นต้น  เมนูที่อยู่ในร้านฌานา คือ “ซุปผักรื่นรมย์”

คุณโต ชูเกียรติ เวสารัชชพงศ์ เจ้าของสวรรค์บนดิน อดีตช่างภาพที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯกว่า 10 ปี  แต่เมื่อคุณพ่อมีปัญหาสุขภาพจึงตัดสินใจกลับมาอยู่บ้าน จ.เชียงราย มองหาสมุนไพรธรรมชาติในการรักษาสุขภาพคุณพ่อ เป็นที่มาของการค้นพบชาสมุนไพรที่ช่วยบำรุงสุขภาพ  ผลิตผลสมุนไพรที่ได้จากไร่สวรรค์บนดิน  อาทิ เจียวกู้หลาน, ใบฮอวอ (พืชท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ), น้ำผึ้งโพรง, แบล็คมินท์, มะตูม, เก็กฮวย เป็นต้น โดยนำมาเบลนด์เป็นเครื่องดื่มชาเสิร์ฟในฌานา

“ม่วนใจ๋” กลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติเชียงดาว  เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อย คนรุ่นใหม่ ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ที่ตั้งใจปลูกพืชอาหารอินทรีย์ วิถีธรรมชาติ เช่น ข้าว ผัก สตรอเบอร์รี่ แตงโม ถั่วเหลือง ดอกไม้กินได้ ฯลฯ ปลูกเอง กินเอง เหลือแปรรูปเอง ขายเอง และขยายองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมุ่งหวังให้ อ.เชียงดาว เป็นแหล่งอาหารปลอดภัย เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นถิ่น ปัจจุบันมีเครือข่ายในชุมชนกว่า 400 ครัวเรือน และยังขยายพื้นที่เพาะปลูกได้ในระบบอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง

คุณโอ อรุษ นวราช ผู้ริเริ่ม “สามพรานโมเดล” โมเดลธุรกิจขับเคลื่อนระบบอาหารยั่งยืนโดยการเชื่อมโยงกลุ่มเกษตรอินทรีย์ถึงกลุ่มผู้ประกอบการ ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และผู้บริโภค โดยใช้การท่องเที่ยงเป็นเครื่องมือ (Organic Tourism) ส่งต่อวัตถุดิบผลไม้ให้ฌานาปรุงเป็นเมนู “ส้มตำผลไม้ออร์แกนิคตามฤดูกาล”

คุณตู่ ภทรพรรณ พ.ผลพิบูลย์ แห่งฟาร์มบ้านย่า ผู้หญิงธรรมดา กับแนวคิด “กินอาหารเป็นยา” และศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล “อาหารซูเปอร์ฟู้ด” ค้นพบผัก “เคล” (KALE) ผักที่มีคุณสมบัติเด่นด้านการรักษาสุขภาพ  ฌานาได้นำผัก “เคล ไดโนเสาร์” ของที่ฟาร์มบ้านย่า ที่เลี้ยงดูในพื้นที่ปิด ไม่ใช้สารเคมี มาทำเป็น 2 เมนู ได้แก่ เมี่ยงผักเคล และ สลัดลาบไก่ผักเคล

ศาลานา บริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีความตั้งใจอยากช่วยเกษตรกรไทยให้พึ่งพาตนเองได้  มีเครือข่ายเกษตรกรกระจายตัวอยู่หลายภาคด้วยกัน  ใช้ความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดนำข้าวสายพันธุ์ต่างๆ มาทำให้คนกินมากขึ้นและง่ายขึ้น แก้จุดอ่อนของการหุงข้าวแต่ละสายพันธุ์ที่หุงสุกไม่พร้อมกัน ด้วยการเบลนด์ข้าวสารสายพันธุ์ต่างๆ ให้สามารถหุงสุกพร้อมกันได้พอดี ทำออกมาเป็น “ข้าวหอมอินทรีย์ 5 สายพันธุ์” ในถุงเดียวที่ผสมไปด้วย ข้าวหอมมะลิ 105, ข้าวหอมมะลิแดง, ข้าวหอมปทุมเทพ, ข้าวหอมนิล และ ข้าวหอมช่อราตรี  ซึ่งเป็นเมนูต่างๆ ของ Thai Comfort ที่ร้านฌานา

ปัจจุบันฌานา มีเครือข่ายกลุ่มเพื่อนเกษตรกร 12 กลุ่มที่ส่งวัตถุดิบมาปรุงเป็นเมนูอาหาร ของหวาน และเครื่องดื่ม คุณเป้ บอกว่ายังเปิดกว้างรับเกษตรกรคนต้นน้ำใหม่ ที่มีวัตถุดิบตามธรรมชาติตลอดเวลา ทั้งการลงพื้นที่ค้นหาเองและเปิดให้เกษตรกรเข้ามาเสนอวัตถุดิบต่างๆ นำมาสร้างสรรค์เป็นเมนูใหม่ๆ เพื่อย้ำแนวคิดการสนับสนุนคนต้นน้ำ

“วันนี้การใช้ชีวิตของผู้คน การกิน การอยู่  มีผลต่อลูกหลานในอนาคต วิถีเกษตรอินทรีย์ ทำให้การกินวันนี้ของเรา ทำเพื่อลูกหลานยังมี ดิน น้ำ วัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพในอนาคต เป็นการกินเพื่อส่งต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน


แชร์ :

You may also like