HomeBrand Move !!Fitbit เจ๋ง ทำนายการเกิดไข้หวัดใหญ่ได้จาก Heart Rate และการนอนหลับ

Fitbit เจ๋ง ทำนายการเกิดไข้หวัดใหญ่ได้จาก Heart Rate และการนอนหลับ

แชร์ :

รู้หรือไม่ Fitbit บนข้อมือของคุณไม่เพียงแต่นับก้าวและจับเวลาการนอนหลับเท่านั้น แต่ในการวิจัยล่าสุด พบว่า Fitbit ยังกลายเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยมอนิเตอร์สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ และช่วยให้เกิดการเฝ้าระวังได้อย่างทันท่วงทีแล้ว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune


สำหรับที่มาของงานวิจัยครั้งนี้ มาจากทีมวิจัยจากสถาบัน Scripps Research Translational ในสหรัฐอเมริกาที่ได้ขอไปทาง Fitbit ให้พวกเขาได้เข้าถึงข้อมูลผู้สวม Fitbit จำนวน 200,000 คนแบบไม่ระบุตัวตนในช่วงเดือนมีนาคม 2016 – มีนาคม 2018 ซึ่งเงื่อนไขในการนำดาต้ามาใช้ก็คือ ต้องเป็นผู้ที่สวม Fitbit ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน และมีการระบุพื้นที่ว่าต้องมาจากประชากรใน 5 พื้นที่ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย, เท็กซัส, อิลลินอยส์, เพนซิลวาเนีย และมหานครนิวยอร์ก ทำให้คัดกรองออกมาได้ 47,248 คนที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว

จากนั้นได้มีการนำข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจ และข้อมูลการนอนหลับจากอุปกรณ์ Fitbit ในผู้ใช้งานจำนวน 47,248 รายมาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของคนปกติ อ้างอิงจาก The Centers for Disease Control สหรัฐอเมริกา โดยนักวิจัยพบว่า คนที่มีอาการป่วยจะมีอัตราการเต้นของหัวใจในขณะนอนหลับ “เร็วกว่า” ค่าเฉลี่ยของคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้นักวิจัยสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการคาดการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ได้แม่นยำกว่าวิธีการเฝ้าระวังแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และทำให้งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Digital Health ในที่สุด

“ถ้าเราสามารถตอบสนองต่อการระบาดของไข้หวัดใหญ่ได้เร็วขึ้น จะสามารถป้องกันการแพร่กระจายและการติดเชื้อเพิ่มเติมได้” Jennifer Radin หัวหน้าทีมวิจัยจากสถาบัน Scripps Research Translational ในสหรัฐอเมริกากล่าว

ทั้งนี้ อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นในขณะนอนหลับนั้นเป็นสัญญาณบอกว่า ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังออกปฏิบัติหน้าที่เพื่อต่อสู้กับเชื้อร้าย โดยเว็บไซต์ Webmd.com ได้มีการยกตัวอย่างของงานวิจัยก่อนหน้านี้ ที่พบว่า ผู้ป่วยรายหนึ่งเมื่อมีไข้ จะมีอัตราการเต้นของหัวใจในขณะพักผ่อนเพิ่มขึ้นประมาณ 8.5 ครั้งต่อนาที เมื่ออุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น 2 องศาฟาเรนไฮน์ แต่หากเป็นเด็ก อัตรการเต้นของหัวใจอาจเพิ่มขึ้นเป็น 10 – 14 ครั้งต่อนาทีได้เลยทีเดียว

ขณะที่ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกประมาณการว่ามีคน 650,000 คนทั่วโลกที่เสียชีวิตด้วยโรคระบบทางเดินหายใจที่เชื่อมโยงกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลในแต่ละปี ซึ่งปัญหาก็คือการรายงานการเฝ้าระวังแบบดั้งเดิมที่ทำกันอยู่นั้นใช้เวลานานถึงสามสัปดาห์ ทำให้มาตรการการเฝ้าระวัง การปรับใช้วัคซีน หรือยาต้านไวรัสต่าง ๆ มักจะล่าช้าตามไปด้วยนั่นเอง

ด้าน Rosalind Eggo ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจาก the London School of Hygiene & Tropical Medicine กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ Fitness Tracker สามารถใช้เป็นเครื่องมือเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคได้

Source

Source

 


แชร์ :

You may also like