HomeInsightSmall is Beautiful เมื่อ Data ไม่จำเป็นต้อง Big แม้แต่ ‘โชว์ห่วย-อาหารตามสั่ง’ ก็ใช้ข้อมูลให้เป็นขุมทรัพย์ได้

Small is Beautiful เมื่อ Data ไม่จำเป็นต้อง Big แม้แต่ ‘โชว์ห่วย-อาหารตามสั่ง’ ก็ใช้ข้อมูลให้เป็นขุมทรัพย์ได้

แชร์ :

เรื่องของ ข้อมูล หรือ Data เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำธุรกิจยุคปัจจุ​บันอย่างมาก จนถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน Asset สำคัญของทุกๆ ธุรกิจในนาทีนี้ไปแล้ว​​ ทำให้มักจะได้ยินคำกล่าวว่า​ “ใครมี Data อยู่ในมือมากที่สุด โอกาสที่จะกลายเป็นผู้ชนะบนสังเวียนธุรกิจก็ย่อมต้องมีมากกว่าเช่นเดียวกัน” 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ทว่าในทางกลับกัน เมื่อพูดถึง “ข้อมูล” หลายๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กๆ มักจะมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับ​ตัวเอง เพราะเรื่องแบบนี้น่าจะเป็นเรื่องขององค์กรขนาดใหญ่ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งอาจจะเข้าใจไปได้ว่า Data ที่ว่านี้ หมายถึง Big Data เท่านั้น

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะทำธุรกิจขนาดไหน จะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มี Market Cap เป็นหลักหมื่นล้าน แสนล้าน หรืออาจจะเป็นแค่ธุรกิจรายย่อย ร้านขายของชำเล็กๆ หรือแม้แต่ร้านอาหารตามสั่งทั่วๆ ไป ก็สามารถต่อยอดการใช้ประโยชน์จาก Data เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจให้ดีมากขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมาก เพื่อลงทุน​ AI ในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับจัดเก็บ วิเคราะห์ หรือประมวลผลข้อมูลต่างๆ เพราะเพียง​แค่มี​กระดาษกับปากกา ก็สามารถจัดเก็บข้อมูลในการทำธุรกิจ​ เพื่อนำไปพัฒนาระบบการทำงานต่างๆ และช่วยทำให้ยอดขายในร้านดีมากขึ้น รวมไปถึงการทำให้ความรู้สึกของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้านดีขึ้นด้วยเช่นกัน

พลังของ Small Data  

การจัดเก็บและบริหารข้อมูลขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ อาจจะเรียกว่า เป็นการบริหารจัดการ Big Data แต่สำหรับข้อมูลที่เกิดขึ้นในธุรกิจรายย่อยต่างๆ ก็มีข้อมูลในมิติที่เป็น Small Data และสามารถจัดเก็บง่ายๆ ด้วยการจดบันทึก ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่คนมาใช้บริการ ว่าช่วงไหนคนมาก ช่วงไหนน้อย เมนูหรือสินค้าอะไรที่ขายดี หรือถ้าร้านเรามีหลายๆ แพลตฟอร์ม ก็ลองเปรียบเทียบแต่ละช่องทางว่าช่องทางไหนขายดี สินค้าอะไรขายดีในช่องทางไหน หรือ สินค้าอะไรที่ลูกค้ามักซื้อคู่กัน เพื่อเป็นประโยชน์หรือต่อยอดในการทำโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขายในอนาคตได้ เป็นต้น

คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ พูดเรื่อง Big Data ในร้านอาหารตามสั่ง ในงานเสวนา E-Commerce Trend 2020 ​Credit : Twitter Bangkok Bank SME

คุณป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ CEO and Founder Tarad Dot Com Group ได้แชร์ประสบการณ์ภายในงานสัมมนา “E-commerce Trends 2020” ที่จัดขึ้นโดยธนาคารกรุงเทพ จากการที่เคยแนะนำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่ง รู้จักการใช้ประโยชน์จาก Small Data ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกิจในแต่ละวัน เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนเรื่องของ Operatiion หรือเพื่อให้การขายของในแต่ละวันทำได้ดีขึ้น มีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ใช้เวลาในการเตรียมอาหารแต่ละครั้งน้อยลง และจะช่วยให้ยอดขายในร้านเติบโตได้เพิ่มมากขึ้นในที่สุด

สำหรับปัญหาทั่วๆ ไปของร้านอาหารตามสั่งก็คือ คนมักจะเยอะในช่วงเวลาพักเที่ยง เพราะส่วนใหญ่มักจะมาทานอาหารในช่วงพัก และมาในเวลาพร้อมๆ กัน ทำให้ต้องรออาหารเป็นเวลานาน จนสร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าที่เร่งรีบหรือกำลังหิว รวมไปถึงที่นั่งที่มักจะเต็มแน่นไปทั้งร้าน ทำให้ต้องสูญเสียลูกค้าในช่วงเวลาสำคัญไปจำนวนหนึ่ง

และแม้ว่าจะเป็นเพียงร้านอาหารตามสั่ง ก็สามารถนำหลักการ Optimization มาใช้ใน Operation System หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การหาวิธีบริหารจัดการร้านในช่วงที่มีคนเข้าร้านมากๆ เพื่อให้ทุกอย่างหมุนเวียนได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยอาศัยการใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์และวางแผนข้อมูลในฟากของ Small Data มาใช้แก้ปัญหาหรือ Pain point ให้กับธุรกิจได้เช่นกัน

“ธุรกิจร้านอาหารในแต่ละวันเต็มไปด้วยข้อมูล เราสามารถจดบันทึกทุกสิ่ง​​​ แล้วรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปวางแผนการขายให้ไหลลื่นได้มากขึ้น เช่น การบันทึกข้อมูลตลอดทั้งสัปดาห์ เพื่อดูปริมาณการขายโดยรวม​ ดูว่าขายเมนูอะไรไปบ้าง เมนูที่ขายดี ลูกค้าเริ่มเข้าร้านเวลาไหน ใช้เวลาทำแต่ละจานนานเท่าไหร่ ขายกระเพราหมูสับกี่จานในแต่ละวัน ขายไข่ดาวกี่ใบ รวมทั้งเมนูอื่นๆ ที่เก็บข้อมูลเป็นกลุ่มๆ ​แยกไว้ และพิจารณาข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันตลอดทั้งสัปดาห์ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับใช้วางแผนการทำงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป” 

คุณป้อม แนะนำร้านตามสั่งทั่วๆ ไป ให้เตรียมเมนูที่ขายดีไว้ เช่น กระเพราะหมูสับ ไข่ดาว ที่สามารถเตรียมไว้ก่อนจะมีออเดอร์มา หรือช่วงที่คนในร้านจะเเน่นสักครึ่งชั่วโมง บางอย่างอาจจะทำการ Pre-cooked ไว้ก่อน​ เช่น นำหมูไปผัดรอไว้ แล้วจัดเตรียมสัดส่วนเครื่องปรุงที่ต้องใช้สำหรับการทำแต่ละเมนูในจานหนึ่งๆ เมื่อมีออเดอร์ลูกค้าเข้ามาก็นำส่วนประกอบทั้งหมดมาผัดรวมในกระทะอีกคร้ัง ส่วนจะต้องเตรียมไว้มากหรือน้อยเพียงใดนั้น จะประเมินได้จากจำนวนเมนูที่ออกไปในแต่ละวัน เนื่องจาก โลเกชั่นของร้านที่มักจะมีลูกค้าประจำ เช่น กลุ่มพนักงานที่ทำงานในบริเวณใกล้เคียง และส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมทานแบบเดิมๆ ทำให้เมนูยอดนิยมเหล่านี้จะมีจำนวนออเดอร์ไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละวัน

โดยผลลัพธ์ที่เกิดข้ึน จากการนำหมูที่ผ่านกระบวนการ Pre-cooked มาแล้ว จะช่วยลดเวลาในการทำอาหารแต่ละจานให้น้อยลง​ได้ เช่น จากที่เคยผัดจานละ 3 นาที อาจจะเหลือแค่นาทีหรือนาทีครึ่ง ทำให้เวลาในการทำอาหารลดลงไปได้กว่าครึ่ง ทำให้จากที่เคยใช้เวลาครึ่งชั่วโมงสำหรับทำออเดอร์ 10 จาน ก็อาจจะเหลืออยู่แค่สิบกว่านาที หรือไข่ดาวที่อาจจะใช้วิธีทอดเตรียมไว้ เมื่อลูกค้าสั่งก็สามารถหยิบใส่จานได้เลย โดยที่ไม่ต้องมาทอดใหม่ทุกๆ ครั้งก็จะช่วยให้ใช้เวลาลดลงได้เช่นกัน

เมื่อเวลาต่อจานลดลง ทำให้ลูกค้าได้รับอาหารเร็วขึ้น การใช้เวลาอยู่ในร้านก็ลดลง ทำให้รอบในการเข้ามาใช้บริการหรือ​ Turn Over ของร้านก็จะทำได้ดีขึ้น ซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้ ยอดขายเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน รวมทั้งความรู้สึกของลูกค้าก็ดีขึ้น เพราะไม่ต้องรอนาน หรือเข้ามาแล้วมีที่นั่ง เพราะปัญหาที่ผ่านมาๆ เมื่อลูกค้าอยากเข้ามาใช้บริการ แล้วมีคนนั่งอยู่แน่นเต็มร้าน ก็จะมีบางส่วนที่เลือกย้ายไปกินที่ร้านอื่น ทำให้เสียโอกาสยอดขายในส่วนนี้ไป

นี่จึงเป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างที่แม้แต่ธุรกิจเล็กๆ อย่างร้านอาหารตามสั่งก็สามารถนำ Data ไปใช้ ต่อยอดให้กับธุรกิจของตัวเองได้

ทุกธุรกิจ เต็มไปด้วย Data

“บางคนคิดว่า เราไม่ใช่ธุรกิจขนาดใหญ่ เราจึงไม่มี Data ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ล้วนแล้วแต่เป็น Data ไม่ว่าจะเป็นจำนวนคนที่เดินเข้ามาในร้าน ​การที่พนักงานยกหูโทรศัพท์เพื่อโทรไปหาลูกค้า 1ครั้ง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มา รายละเอียดต่างๆ ในการทำธุรกิจล้วนแล้วแต่มีความหมาย เราต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูล และถอด Movement ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ​ในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อต่อยอดมาเป็นข้อมูล ที่สามารถนำไปประกอบการวิเคราะห์ วางแผน ให้เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจได้” 

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไร ขนาดเล็กหรือใหญ่แค่ไหน ก็ล้วนแต่ใช้ข้อมูลมาพัฒนาให้ธุรกิจมีศักยภาพได้ดีมากขึ้นได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจที่ทำธุรกิจเอง และอยู่กับธุรกิจตลอดเวลา ยิ่งได้เปรียบเพราะอยู่ท่ามกลางข้อมูล ทำให้สามารถรู้ได้ว่าสินค้าอะไรที่ขายดี ของที่ลูกค้าชอบ ทั้งจากการสังเกตุจากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในแต่ละวัน จากการดูรีพอร์ตที่สรุปยอดขายในแต่ละวัน หรือแม้แต่การพูดคุยกับลูกค้า เพื่อทราบไปถึงอินไซต์ที่ลึกขึ้นว่าทำไมลูกค้าถึงซื้อสินค้าเหล่านี้ อะไรเป็นเหตุจูงใจให้ซื้อ หรือเวลาซื้อมักจะซื้อคู่กับอะไร ซึ่งจะต่อยอดไปสู่สเตปของการทำตลาดเพื่อช่วยกระตุ้นให้ได้ยอดขายที่ดีมากขึ้นได้ ไม่วาจะเป็นการทำโปรโมชั่นราคาพิเศษ หรือการจับคู่สินค้าแบบ Cross sell ที่จะช่วยให้สามารถขายสินค้าได้ง่ายขึ้น และช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าในหลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน​

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like